28 ต ค 2555   14.35 น. ระหว่างปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ

• เดิน ขั้นที่ 1 ภาคที่ 1, 2,3 ขั้นที่ 2, ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4, ปรับสมดุลย์ชีพจร เข้า 3 กลับออก 3  อากาศอย่างนี้ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝน เดี๋ยวชื้น เดี๋ยวแฉะ ร่างกายมันปรับไม่ค่อยได้ ระวังจะป่วยนะ ลูก คนรู้ตัวว่า ป่วย อย่ามาสุงสิงกับเพื่อนใกล้ชิด หาวิธีแยกตัวเองไปอยู่ไกลๆ คน หรือไม่ จำเป็นต้องอยู่ ก็หาผ้ามาปิดปากปิดจมูกซะ ไม่งั้น มันจะกลายเป็นพาหะนำโรคมาเผยแพร่ให้ชาวบ้านเค้า หลวงปู่เอง ก็คอยไปติดโรคเค้ามา อ้ายโรคไข้หวัดใหญ่ โรคอะไรเนี่ย ก็ยังหยุดบิณฑบาตรไปซะ 2-3 วัน ธรรมะรักษา อายุมั่นขวัญ เจริญธรรม ให้ได้ในสิ่งที่หวัง จำเริญธรรม เตรียมปฏิบัติธรรม ลูก เข้าที่ เตรียมปฏิบัติธรรม
(กราบ)
หลีกเลี่ยงสร้าง เครื่องสร้าง เครื่องยึด เครื่องหลอก เครื่องผูก เครื่องพันธนาการ ให้มันเป็นเครื่องหลอก เครื่องผูก เครื่องพันธนาการในส่วนที่เป็นกุศลให้มาก เมื่อใดที่เราปลดปล่อยมัน ไม่รู้จักผูกมัน ไม่รู้จักยึดมัน ไม่รู้จักพันธนาการมันด้วยกุศล มัน

ก็จะไปจมปลัก มั่วอยู่ในอกุศลเรื่อย เราก็จะหมุนวนเวียนอยู่ในปลักโคลน เหมือนกับควาย

ตก.. ตกโคลนตม แล้วก็ติดสกปรกเลอะเทอะ เปรอะเปื้อนไปเรื่อย แยกแยะไม่ได้

ระหว่างดีชั่ว ผิด บาป กุศล อกุศล บุญ คุณงามความดี สุดท้ายก็ หัวมงกุฏท้ายมังกร ไม่เข้า

ใจไม่รู้จบ แล้วก็เป็นการทำลายตัวเองไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ
คนเรามันชั่ว มันก็ต้องมีที่สิ้นสุด แม้น ดี ก็ต้องรู้จักจบ ชั่ว สิ้นสุด แล้วดีต้องดีให้จบ ถ้าดีไม่

จบ คือ ดีไม่รู้จักดี เรียกว่า ดีไม่ได้ดี เค้าเรียก ดีไม่จบ
งั้น ต้องหาวิธีเพื่อให้สิ้นสุด ดีให้มันจบสิ้น ด้วยการสร้างสติให้เยอะขึ้น สร้างสมาธิ สร้าง

ปัญญาให้มากขึ้น มีสติ สมาธิ แล้วก็ปัญญา แล้วไม่ต้องกลัวว่า ชั่วไม่จบ ดีไม่สิ้น เพราะมัน

จะรู้จักแยกแยะตัวมันเอง เราจะรู้ว่า เราจะเล่นบทนี้กี่วัน กี่คืน กี่ปี กี่นาที กี่ครั้ง กี่หน เราจะ

เลิกเล่นเมื่อไหร่ และเมื่อไรที่ควรเล่น เมื่อไรที่ไม่ควรเล่น เล่นแล้วสุขทุกข์ที่ปรากฏ เป็น

ของแท้ ของเทียม ของจริง ไม่จริง เรารู้ชัดว่า ทุกอย่างมันเกิดจากเหตุปัจจัยอะไร ความ

ทุกข์ความสุขที่เราแสวงหา หรือ เราขวนขวาย สั่งสมเอาไว้ มันทำร้ายทำลายเราแค่ไหน

เราจะรู้ด้วยตัวเราเอง
ก็บอกแล้วว่า วิถีแห่งการหลุดพ้น ไม่ใช่อยู่ที่วัด แต่มันอยู่ในชีวิต แล้วเราจะรู้ได้ ในชีวิตเรา

ก็ต่อเมื่อชีวิตเราต้องแข็งแรง มีกำลัง และสิ่งที่เป็นกำลังของชีวิต ก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา
งั้น สร้างให้เกิด สติ สมาธิ ปัญญา ให้มากๆ มากขึ้นเท่าไหร่ มันก็จะทำให้เราเป็นผู้ที่รู้ชัด

เข้าใจตามสภาพธรรมที่ปรากฏ
เอ้า เตรียมตัวปฏิบัติธรรม
(กราบ)
เดินขั้นที่ 1
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ
..............
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
...............
ขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
.............
ขยับขึ้นขั้นที่ 2
...............
ขยับขึ้นขั้นที่ 3
.............
ขยับขึ้นขั้นที่ 4
..............
หยุดอยู่กับที่
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ
หายใจออก เบา ยาว หมด ผ่อนคลาย
ลมเข้าไปใหม่ กว้าง ลึก เต็ม  ยกอกขึ้น
หายใจออก เบาๆ ยาวๆ ผ่อนคลาย
...............
อีกครั้งหนึ่ง ช้าๆ ให้ลมผ่านไปจุดที่ปวดเมื่อย ขมึงทึงตึงเครียด
แล้วค่อยๆ คลายลมออกมา กับของเสีย อย่างผ่อนคลาย แผ่วเบา สุภาพ
..............
ทิ้งลมหายใจ
จิตจับไว้ที่ชีพจรที่ซอกคอ
ชีพจรที่ซอกคอ ซ้าย ขวา
ไม่ต้องหลับตา
..............
ดูชีพจรตัวเอง
อย่าไปสน ลมหายใจ
..............
เอ้าทีนี้ จะสอนให้ปรับสมดุลย์ชีพจร
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
..............
หายใจออก เบา ยาว หมด อย่างผ่อนคลาย
..............
ทีนี้ สูดลมหายใจเป็นธรรมดา ปกติ
..............
ตามรู้ลม
เราหายใจออก ก็ตามดูลม
..............
ค่อยๆ ระบายของเสียออกมา จากลมที่พ่นออก ช้าๆ เบาๆ
..............
ระวังจะเคลิ้ม ยืนโงกง่วง โยกโคลนไปมา เดี๋ยวล้ม
...................
วิธีปรับสมดุลย์ในชีพจร ก็คือ กลั้นลมหายใจ
ทิ้งไว้ซักพักหนึ่ง
................
แล้วดูชีพจร ค่อยๆ ลมออกช้าๆ
...................
ยังอยู่ที่ชีพจรอยู่
แล้วสูดเข้าไปใหม่ แล้วกักลม ทิ้งไว้
.................
ดูที่ชีพจร
แล้วก็ผ่อนออกช้าๆ
.................
อีกครั้งหนึ่ง สูดลมหายใจเข้า กักลมทิ้งไว้
ยังดูที่ชีพจร
.................
แล้วผ่อนออก ช้าๆ
................
หายใจออก แล้วกักลมไว้ ไม่ต้องเข้า ดูที่ชีพจร
..................
แล้วจึงสูดลมเข้า ช้าๆ
อีกครั้งหนึ่ง
..................
เข้า 3, กลับออก 3 ให้เสมอกัน
..............
เมื่อทำครบแล้ว ทีนี้ ดูชีพจรซิว่า เต้นสม่ำเสมอขึ้นไม๊
หรือยังกระเพื่อม ไม่คงที่ ไม่เกิดสมดุลย์
ถ้ายังกระเพื่อม ไม่คงที่ ไม่เกิดสมดุลย์
ยังรู้สึกว่า ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ ก็ทำอย่างนี้อีก
กักเข้า 4, กักออก 4, ขยับขึ้นไปเรื่อยๆ
.................
ชีพจร เป็นสัญญาณของชีวิต
เป็นกระบวนการพัฒนาบริหารจัดการอวัยวะภายใน
คือ ชีวิตภายในกายเรา
เรารักษาสมดุลย์ได้ ก็เท่ากับเรารักษาชีพ ชีวิตของอวัยวะ
และกระบวนการทำงานภายในให้เกิดสมดุลย์ทุกสัดส่วน
ไม่ว่าจะเป็น ใจ ไต ตับ ปอด ม้าม กระบวนการย่อยอาหาร
และธาตุไฟ ลม ดิน น้ำ ก็จะเกิดสมดุลย์เหมาะสม
มันจะกระตุ้นทำให้ภูมิคุ้มกันเราสม่ำเสมอ แข็งแรง
เรียกว่า แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ
.....................
เวลามีอาการป่วยไข้ เป็นหวัด ภูมิแพ้ ใช้วิธีนี้
ลองฝึกทำดู
..............
กักเข้า 3 ดูชีพจรทุกครั้งที่กัก
กักออก 3 ดูชีพจรทุกครั้งที่กัก
...................
ถ้ายังไม่ดี ยังเต้นไม่สม่ำเสมอ ก็กักต่อไปอีก
3, 4, 5, 6 จนถึง 10, 12, 20
.................
จนกระทั่ง ชีพจรเราเต้นสม่ำเสมอ สมดุลย์ แผ่วเบา
เรียกว่า ไม่ทะโลด ภาษาแพทย์แผนไทย เค้าก็บอกว่า ไม่ทะลึ่ง ไม่ทะโลด หรือว่า สม่ำเสมอ
...............
ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฟุ้งซ่าน
.................
เอ้า ลองซิ ทุกคนปรับสมดุลย์ของชีพจรตัวเอง
ต่างคนต่างทำ
....................
ค่อยๆ ทรุดตัวลงนั่ง
...................
สูดลมหายใจเข้า กักลมทิ้งไว้ ดูชีพจร
.....................
ถ้าเราจะอั้น 3, ก็นับชีพจร 3
...............
ถ้าจะอั้น 2, ก็นับชีพจร 2
ถ้าจะอั้น 4, 5, 6 ก็นับชีพจรให้เต้นตามจังหวะ 1, 2, 3, 4, 5, 6

แล้วจึงจะคลายลม
เข้าใจไม๊
เรียกว่า คลายลม ตามอาการกัก
นับชีพจรตามอาการกักลม ตามจำนวนที่กักลม
....................
เข้า เสียก่อน แล้วจึงจะมากัก ออก
.................
เอาใหม่
เข้าไม่สุด แล้วกัก
ออกยังไม่ทันหมด แล้วก็กัก
ใช้ไม่ได้
ต้องเข้าให้สุด แล้วจึงจะกักลม
ออกให้หมด แล้วจึงจะกักลม
ไม่ใช่ออก ครึ่งๆ กลางๆ แล้วรีบ กัก
มันไม่มีประโยชน์ แถมเป็นโทษต่อชีพจรด้วย
จะเป็นแรงกดดันของชีพจรด้วย
.................
เราจะกำหนด กัก 3, ก็นับชีพจรเต้น 3 ครั้ง แล้วจึงคลายลม
.................
เข้า 3, ก็นับ 3, ชีพจรเต้น 3 ครั้ง
ออก 3, ก็นับชีพจรเต้น 3 ครั้ง
ขยับขึ้น 4 ก็ไล่ลำดับขึ้น
...................
วิธีนี้ จะช่วยกระตุ้นต่อมหมวกไตในร่างกายให้ทำงานอย่างสมดุลย์
แล้วทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
.................
เราจะไม่เป็นโรคเลือด ไม่เป็นโรคลม
ไม่เป็นโรคภูมิแพ้ แล้วธาตุก็จะไม่พิการ
..................
แถมยังได้ สติ อย่างยิ่ง
................
วิถีแห่งสติ กับ วิถีจิต ก็จะแข็งแรงด้วย
.................
เวลาหายใจเข้า อยู่กับลมหายใจ
กลั้นลม อยู่กับชีพจร
................
เวลาหายใจออก อยู่กับลมหายใจ
จึงจะรู้ว่า ลมออกหมด หรือ เข้าหมด
กลั้นลมแล้ว จึงจะอยู่กับชีพจร
................
จึงจะรู้ว่า นับชีพจร เต้นได้กี่ครั้ง
อย่าสับสน
ฝึกให้จิตคล่องแคล่ว
เรียกว่า ฝึกสัมปชัญญะให้จิต
.....................
จิตจะได้คุ้นเคยกับการงานที่หลากหลาย
อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง มั่นคง
...................
หายใจ อยู่กับลม
นับชีพจร ก็อยู่กับชีพจร
................
ไม่ต้องตามดูลมว่า มันลึกแค่ไหน
เพียงแค่รู้ว่า ลมมันเข้า และเข้าเต็มที่ เต็มแล้ว
จึงกลั้นลม แล้วนับชีพจร
.................
เมื่อลมออก ก็รู้ว่า ลมออกหมดแล้ว
จึงกักลม แล้วนับชีพจร
...............
ตั้งแต่ 1 ถึง 20 แล้วก็ไล่ลงมา เริ่ม 1 ใหม่
อย่าให้เกิน 20
.................
มันไป จะกระตุ้นปราณร้อน ที่เรียกว่า ปราณสุริยะ ในกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายร้อน
.................
ถ้าจะทำอย่างนี้ ก็ต้องเหมาะสำหรับคนที่มีธาตุเย็น เรียกว่า น้ำ
ธาตุน้ำ กับ ธาตุลม
ส่วนดิน กับ ไฟ ถือว่า จะเป็นโทษ
ถ้าเป็นคนธาตุดิน ก็จะทำให้น้ำแห้ง
ร่างกาย ก็จะทุรนทุราย
..............
ถ้าธาตุไฟ ก็จะทำให้ทรุดโทรม
เผาผลาญร่างกายให้ทรุดโทรมเร็ว
..................
งั้น เอาแค่ 20 พอ ตั้งแต่ 1 ถึง 20
แล้วก็เริ่มไล่ นับ 1 ใหม่
...............
สิ่งที่ควรจะต้องตั้งข้อสังเกตุ เมื่อครบ 20 แล้ว
ก็ลองสำรวจดูว่า เราเกิดสมดุลย์ในชีพจรไม๊
ลมหายใจ ละเอียดขึ้นไม๊ ชีพจรพลุ่งพล่านไม๊
ร่างกาย เผาผลาญพลังงานมากเกินไป หรือว่า น้อยเกินไป หรือเปล่า
ธาตุในร่างกาย มันพลุ่งพล่าน หรือสงบเรียบ ดีไม๊
เพราะสอนไป ก็ไม่ได้ให้เชื่อ แต่ให้ทดลอง
ให้พิสูจน์ว่า จริงอย่างคำสอนไม๊
แต่ต้องทำให้ได้
.................
คนไม่มีสติ จะทำขั้นนี้ไม่ได้
สติอ่อนแอ สัมปชัญญะอ่อนแอ
ทำขั้นนี้ ไม่สำเร็จประโยชน์
................
ไม่ได้เสียหาย ไม่ได้ผิด ลูก
แต่ต้องฝึกให้มากขึ้น
..................
อย่าพึงพอใจว่า เราทำได้แค่นี้ ก็วาสนาแล้ว ก็ดีมากแล้ว
.................
เหมือนดั่งคำถาม ที่ถามเมื่อครู่ว่า
เดินอยู่ แล้วเห็นโครงกระดูกของตัวเอง กำลังเดิน
ที่จริงน่ะ มันสุดยอดล่ะ
................
เพิ่มอีกหน่อย เพียงแค่รู้ว่า เมื่อเห็นโครงกระดูก
โครงกระดูกน่ะ มันเป็นเครื่องมือ หรือ กระบวนการเดินของปราณ
เหมือนดั่งสายไฟที่โดนปอกเปลือก
ก็จะเห็นว่า ไฟมันวิ่งไปตามสายทองแดง สายตะกั่ว หรือ สายบีเนียม ได้ชัดเจน
.................
เรียกว่า ถึงแก่นของวิชาปราณโอสถล่ะ
................
แต่ก็ไม่ได้บอกให้ ไม่ได้เชยชมให้กลายเป็นความประมาท
จนลืมไปว่า ความดี ยังต้องมีอยู่อีก
มันต้องทำต่อไป
จึงใช้คำว่า ไม่ผิด
....................
กำลังทำอะไรกัน อยู่
..................
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
..................
หายใจเข้า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
.....................
ยกมือไหว้พระกรรมฐาน
ลืมตา แล้วเข้าที่ ลูก
(กราบ)
................
28 ต ค 2555   16.00 น. หลังปฏิบัติธรรม โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ
(กราบ)
ฟังคำอธิบาย เคยหุงข้าวด้วยฟืนไม๊ หรือ เตาถ่านน่ะ
ที่ให้ทำอย่างนี้เนี่ย เปรียบเหมือนดั่งร่างกายเราเป็นเตา เตาฟืน
ลมหายใจ เหมือนฟืน
ทุกวันนี้ เราใช้วิธีกระบวนการรีบยัดๆๆๆๆๆ ฟืนใส่เข้าไป ให้ไฟมันลุก ที่จริงน่ะ ถ้ายัดฟืน

ใส่ให้มันลุก จนฟืนมันแน่นเตา ไฟมันจะลุกเยอะไม๊
มันไม่มีช่องว่างให้อากาศเข้า การเผาผลาญก็ไม่ดี ฟืนที่ใส่เข้าไปก็เสียเปล่า
ทีนี้ เข้าใจหรือยังว่า ทำไมให้หายใจ แล้วกั้นลม เพื่อทำให้เกิดช่องว่างในการเผาผลาญ

พลังงานที่เราเข้าไป มันจะทำให้เกิดสมดุลย์ สมดุลย์ของชีพจรและสมดุลย์ภายในธาตุ แต่

ไม่ใช่หายใจอย่างนี้เป็นปกติทุกครั้ง ด้วยเหตุผลว่า มนุษย์นี่ เคยชินกับการฟืดฟาดๆ ไม่มี

วิธีที่จะบริหารจัดการลมหายใจอย่างถูก
ที่สอนอย่างนี้ ได้มาจากคำสอนในอานาปานสติ ข้อว่า
มีสติ รู้ลมหายใจเข้า ระงับกายสังขาร แล้วจึงหายใจเข้า
หลวงปู่เทียบดูกับการระงับกายสังขาร
คำว่า ระงับกายสังขาร คือ ระยะเวลาที่เราไม่ปรุงแต่ง
มันใช้ช่วงจังหวะเวลาหนึ่ง แล้วจึงหายใจครั้งหนึ่ง
เพราะงั้น การระงับกายสังขาร 1 ครั้ง ก็เท่ากับว่า เราหายใจเข้า แล้วปล่อยเวลาให้ การ

เผาผลาญพลังงานมันทอดระยะ จนหมด แล้วจึงหายใจออก อย่างนี้เป็นต้น
หายใจเข้า, ระงับกายสังขาร แล้วจึงหายใจเข้า, ระงับกายสังขาร แล้วจึงหายใจออก
ไม่ปรุงแต่งกายสังขาร แล้วจึงหายใจเข้า
ไม่ปรุงแต่งกายสังขาร แล้วจึงหายใจออก
เห็นไม๊ว่า มันมีจังหวะช่อง ทิ้งช่วงในการที่จะระงับการปรุงแต่งทั้งปวง ซึ่งมันใช้เวลานาน

มากพอสมควร
แต่ทุกวันนี้ เราไม่ใช่อย่างนี้ไง
ที่จริง คำสอนชั้นนี้ มันเป็นชั้นสูงล่ะ
คำสอนระดับนี้ มันเป็นระดับที่สูงล่ะ
เพราะระดับแรกๆ เค้าจะสอนให้รู้ลมหายใจ รู้เข้า รู้ออก รู้สั้น รู้ยาว
รู้ว่า เข้าสั้น, รู้ว่า ออกยาว, รู้ว่า ออกยาว, รู้ว่า เข้าสั้น อย่างนี้เป็นต้น
มันเป็นขั้นที่ 4 ที่ 5 ล่ะ จึงจะระงับกายสังขาร
เพราะงั้น การหายใจเข้า แล้วปล่อยให้ลมมันได้เผาไหม้ เหมือนกับใส่ฟืนเข้าไป แล้วมี

อากาศอยู่ในเตาพอเหมาะ ฟืนมันก็จะลุก และเกิดไฟได้อย่างเต็มที่ เกิดพลังงานได้อย่าง

สมบูรณ์
แต่ทุกวันนี้ เราไม่ใช่ เรายัดใส่ๆ ๆๆ มีฟืนเท่าไหร่ ยัดใส่หมด เตามันก็แน่น อากาศก็ไม่เข้า

มันก็ลุกบ้าง ไม่ลุกบ้าง ดับๆ ติดๆ, ติดๆ ดับๆ แล้วจะให้ลุกที ก็เป่าปู้ดๆๆ เข้าไป อย่างนี้

เป็นต้น
เสียเวลา เสียฟืน เสียพลังงาน กว่าจะได้ความร้อนเท่าที่เราใส่ฟืนทีละน้อยๆ แล้วก็ปล่อยให้

มันเผาไหม้อย่างเหมาะสม ซึ่งมันต่างกันมาก
งั้น หลวงปู่จึงบอกว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย และรักษาชีพจรให้เกิดสม

ดุลย์ รักษามหาภูตรูปทั้ง 4 ให้เกิดสมดุลย์ มันไม่ทำให้ทุรนทุรายมากเกินไป
กลับไปฝึกซะให้ชำนาญ
เอาล่ะ แค่นี้ล่ะ
เตรียมถวายทาน ว่า นะโม 3 จบ
......................
(กราบ)
สังฆทานและสิ่งของทั้งหลายที่ลูกหลานถวาย หลวงปู่รับแล้วนะ ลูก ยกให้เป็นสมบัติของวัด

และมูลนิธิฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะสงเคราะห์ สาธารณะประโยชน์
ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนา ลูก
(สาธุ)
ผ้าไตรจีวร เดี๋ยวเค้าไว้ใช้สำหรับบวชพระ ถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 5 ธันวาฯ แจ้งไปด้วย ใครจะมาบวช เค้ารับสมัครบวช
วันมะรืนนี้ ใช่ไม๊ เป็นวันตักบาตรเทโว ใช่ไม๊
มะเรื่องนี้ จันทร์ อังคาร พุธ เออ ก็ตักบาตรเทโวเสร็จแล้ว ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมแล้ว เดี๋ยว

เย็นๆ บ่ายๆ ไปสวดมนต์ที่วิหารพระโพธิสัตว์ สวดให้พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ท่านได้ฟังบ้าง
กำลังให้เค้าเรียบเรียงคำบูชาสรรเสริญพระมาหโพธิสัตว์ ให้เค้ารจนาประกวดกัน ไปถึง

ไหนแล้วก็ไม่รู้ จะเอาไว้ใช้สำหรับสวดถวาย
ก็ วันพุธ ตักบาตรเทโว ก็ขอเป็นข้าวสารอาหารแห้งนะ ลูก เค้าจะได้เอามาใช้แจกมหาทาน

ในวันที่ 5 ธันวาฯ 3,000 กว่าครอบตรัว (สาธุ) แล้วก็เอาไว้ใช้ในงานวันเด็ก
วันเด็กปีนี้ หลวงปู่ว่าจะเลื่อนเวลามาเป็นตอนเย็น เพราะกลางวันมันร้อน ทรมานเด็ก

ทรมานคนทำงานด้วย แล้วก็เปลืองเต๊นท์ด้วย เกะกะ ก็เลื่อนมาเป็นตอนเย็น ประมาณซัก 2

โมงเย็น 4 โมงเย็น เลิกเอา 3 ทุ่ม ประมาณนั้นน่ะ ได้บรรยากาศหน่อย
ปีนี้ ก็น่าจะเป็นหมื่น เพราะปีที่แล้วก็ตั้ง 8,000 - 9,000 เออ ทั้งพ่อทั้งแม่มา

ด้วย ก็เตรียมๆ วางแผนก็แล้วกัน ใครจะช่วยเหลือ อนุเคราะห์เรื่องอาหารการกินอะไร

หลวงปู่ให้เค้าไปเตรียมติดไฟ จะให้เสร็จทันงานวันเด็ก
เออ ทำบุญ บริจาคทาน แล้วมันสบายใจ ตังค์ได้มา มึงให้กู กูก็ไปบริจาคหมดล่ะ
คั้งใจกรวดน้ำ
อิทัง โนยาตินัง โหนตุ
................
ตั้งใจรับพร ลูก
...................
(สาธุ)
จำเริญธรรม ลูก ธรรมะรักษาทุกคน
ให้รุ่งเรือง ร่ำรวย เดินทางโดยปลอดภัย ลูก
(สาธุ)
ใครที่เป็นโรคหืดหอบ ที่เมื่อกลางวันนี้ถาม
ไปฝึกคุมชีพจรแบบนี้ แล้วอาการจะดีขึ้น
โรคหืดหอบ โรคปอด โรคภูมิแพ้ โรคหวัดเรื้อรัง โพรงไซนัสอักเสบ
ไปฝึก ทำซะ
เอ้า กราบลาพระ
(กราบ)
................
อืม จำเริญธรรม ลูก
(กราบ)