24 ก พ 56   9.25 น. ธรรมะอาทิตย์ที่ 4 ก่อนวันมาฆบูชา แสดงธรรมโดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ

(กราบ)
วันนี้ บวชกันหรือยัง (บวชแล้วค่ะ) บวชแล้วก็ไม่ต้องรับศีล มีใครยังไม่บวช มีไม๊
อ้าว เดี๋ยวภาคบ่าย เสร็จจากตรงนี้แล้ว ขอสมาทานเนกขัมฯปฏิบัติ
การเจริญเนกขัมฯปฏิบัติ ถือเป็นเรื่องหนึ่งในทศบารมี เป็นวิธีการสั่งสมอบรม เจริญบารมีธรรมของตนๆ เนกขัมมะ นี่เค้าก็แบ่งกันเป็น 3 ชั้น 3 ลักษณะ หรือ 3 ขั้นตอนเนกขัมมะในชั้น สามัญบารมี, เนกขัมมะในชั้น อุปปะบารมี, เนกขัมมะในชั้น ปรมัตถบารมี เนกขัมมะในชั้น สามัญบารมี ก็อย่างที่พวกเราทำกันอยู่เนี่ย ได้บ้างเสียบ้าง เผลอๆ รักษาช่วงเช้ามาเที่ยง พอเลยเที่ยง ขอลานะจ๊ะ เพราะมันหิว อะไรประมาณนี้ นี่เค้าเรียกว่า เนกขัมมะในชั้นสามัญบารมี สั่งสมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็เต็มเองน่ะ ลูก ทีละหยดๆ เมื่อไหร่เต็ม ก็ไม่รู้ล่ะ แต่มันจะต้องเต็มเข้าซักวัน ถ้าขยันที่จะสั่งสม ถ้าตุ่มไม่รั่ว ถังไม่ผุ มันก็คงจะต้องเต็มให้ได้ซักวัน
เนกขัมมะในชั้น อุปปะบารมี คือ เนกขัมมะที่เราวิรัช เด็ดขาด เด็ดขาดชัดเจน เราจะไม่ข้องแวะในสิ่งที่ทำให้ผิดศีลทั้ง 8 อย่างเคร่งครัด แล้วก็พยายามประพฤติตนให้อยู่ในหลัก ร่องรอย ริ้วรอยของธรรมะ อะไรบ้าง ก็เริ่มต้นจาก เชื่อกรรม, มีสัมมาทิฏฐิ เห็น ทุกข์อริยสัจ เป็นหลัก, เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ เนกขัมมะระดับนี้ เค้าเรียกว่า เนกขัมมะระดับ อุปปะบารมี พวกเรานี่ เห็น ความหิวเป็นอารมณ์ ความเมื่อย ความเหนื่อย เป็นอารมณ์ ความหนาว ความร้อน เป็นอารมณ์ ความสุข ความทุกข์เป็นอารมณ์ ยังไม่เห็น อนิจจังเป็นอารมณ์ ทุกขังเป็นอารมณ์ อนัตตาเป็นอารมณ์
เมื่อไรที่เราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นอารมณ์ นั่นแหละ แสดงว่า เราขยับ เนกขัมมะ เข้ามาสู่ชั้นอุปะบารมีละ ถ้าเข้าไปสู่ชั้นปรมัตถบารมี นอกจากเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นอารมณ์แล้ว ต้องเห็นสิ่งเหล่านั้นสำคัญกว่าชีวิต แม้ตาย ก็จะไม่รู้สึกรู้สา จะไม่รู้สึกเสียดาย เพราะสิ่งที่เห็นเป็นความสำคัญกว่าชีวิต อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ชั้นปรมัตถบารมี เรียกว่า กล้า ยอมเสียสละชีวิตเพื่อรักษาธรรมะ ไม่ใช่ให้ไปท้าใคร มายิงกูอะไร, ไม่ใช่ไปท้าใคร ต่อยตี ก็ไม่ใช่แต่ถ้าในขณะที่ปฏิบัติธรรม มีคนเค้ามาบอกว่า กินข้าวเหอะ จะไปทนหิวทำไม ทรมานเปล่าๆ แสบลำไส้ เดี๋ยวก็เป็นโรคกระเพาะ แต่ถ้าเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นอารมณ์ เราจะไม่มีความรู้สึกว่า เราหิว เราทุรนทุราย อ๊ะ รำค๊าญ เสียไม่ได้ เอาข้าวมา ถ้าอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ ปรมัตถบารมี ตาย เป็นตาย เค้าเรียกว่า ต้องตายเป็นตาย มันจะป่วย มันจะตาย มันจะทุรนทุราย มันจะทุกข์ทรมาน มันจะกระเพาะทะลุ มันจะเลือดไหล
เหมือนที่สมัยหลวงปู่ไปเดินธุดงค์ มีบ่อยครั้งมากที่ถ่ายออกมาเป็นเลือด ก็ฉันบ้าง ไม่ได้ ฉันบ้าง บางที ก็เข้าไปในป่า ห่างไกลบ้านผู้คน จะไปบังสุกุลต้นไม้ก็ ต้นไม้หลายต้นก็กินไม่ได้ ที่กินได้ ก็ดันมีแต่ต้น ยอดมันไม่ออก ลูกมันไม่ออก เราก็จะไปบอกใครก็ไม่ได้ ก็ปฏิบัติเนกขัมฯปฏิบัติ ก็หิวเป็นหิว ก็ดื่มน้ำ ฉันน้ำ ไปตามเหตุตามปัจจัยบ่อยเข้าๆ กระเพาะมันก็โดนน้ำย่อยกัด ก็ถ่ายออกมาเป็นเลือด สมัยก่อนนั้น ฝึกใหม่ๆ ก็ต้องทำอย่างนี้ แต่ไม่ใช่พูดอย่างนี้ ก็ให้ทุกคนไปทำ ทรมาน เพราะแต่ละคน มันสั่งสมมาไม่เหมือนกัน  กำลังบารมีธรรมแต่ละคนๆ มันไม่เท่าเทียมกัน ขันติธรรม มันอยู่ในเนกขัมฯ ปฏิบัติได้ไม๊,ได้
ขันติบารมี จัดเป็นหนึ่งในทศบารมีไม๊, เป็นงั้น ขันติธรรมแต่ละคน มันไม่เท่ากัน อ้ายที่ทนได้ ตายเป็นตาย เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอารมณ์ ไม่ยอมที่จะเพลี้ยงพล้ำเสียหาย แสดงว่า ท่านผู้นั้น ก็ปฏิบัติในขันติบารมีด้วย
เห็นไม๊ แค่ปฏิบัติในเนกขัมฯ มันได้ขันติบารมี
ตื่นเช้า ตี 4 ออกมาปฏิบัติธรรม สวดมนต์ เจริญภาวนา มีวิริยะบารมีไม๊ (มี) เอ่อ มี

วิริยะบารมีด้วย มีวิริยะ คืออะไร มีความเพียรพยายาม
อ้ายคนที่นอนดิ้น เก๊งที่ 1 กระดิกตีน, เก๊งที่ 2 กระดกตูด, เก๊งที่ 3 หัวดูดหมอนติด

ไม่ไปไหน ครอกต่ออย่างนี้ อ้ายนี่ ไม่มีวิริยะบารมี ไม่มีความเพียร
อ้ายคนที่เค้ามีวิริยะบารมี พอเก๊งแรกนี่ เค้าลืมตา รีบลุกขึ้นมา เพื่อขวนขวาย ขวนขวายที่จะทำความดี ขวนขวายที่จะพัฒนา ปฏิบัติตน
อ้ายคนไม่มีวิริยะบารมี นี่ ตีให้ระฆังมันแตก มันก็นอนตูดโด่ง เหมือนกับวันนี้ หลวงปู่เดินไปปลุกพระ พระใหม่ นี่สั่งให้สึก วันนี้ต้องสึก อายุมากแล้ว ยังไม่รู้จัก บวชมาใหม่ๆ เอาแต่นอน สังเกตุมาเป็นเวลาแรมเดือนละ กินนอนๆ สงสัยจะติดยาด้วย
คนไม่มีความเพียรพยายาม คนที่บวชเข้ามา มันไม่ใช่ดีหมดทุกคนนะ ลูก เพราะ ถ้ามันขาดใจ ขาดจิตใจ ขาดศรัทธา ขาดขันติ ขาดวิริยะ ขาดปัญญา ขาดสัจจะ ขาดอธิษฐานธรรมไม่ใช่ดีหมดนะ ลูก อย่าเข้าใจผิดว่า คนบวชเข้ามาแล้ว ต้องดีหมด ไม่ใช่งั้น พวกเรามาบวชนี่ ก็ต้องมี นอกจากเนกขัมฯ ปฏิบัติแล้ว ขันติธรรมแล้ว วิริยะ ความเพียรแล้ว ต้องมีสัจจะ ความตั้งไว้ในใจ สัจจะ คือ ต้องซื่อตรง อธิษฐาน คือ สิ่งที่ตั้งไว้ในใจว่าเราจะมาบวชวันหนึ่งคืนหนึ่ง วันหนึ่งสองคืน หรือว่า สองวันหนึ่งคืน หรือ 1 วัน 1 คืน อะไรก็แล้วแต่เถอะ แต่ต้องเป็นการบวชที่เพรียบพร้อมไปด้วย สีลบารมี ทานบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี แล้วก็ อุเบกขาบารมี
ในบารมีธรรมทั้ง 10 ประการ มันเป็นบารมีธรรม ที่ทำให้ภาระกรรมของเรามันรุ่งเรืองเจริญ
เอ้า พูดถึงบารมีธรรม ก็ไปเอา บทสวด ทศบารมี มาแจกกันหน่อย ลูก
เอ่อ เดี๋ยวเราสวด บท ทศบารมี กันหน่อย เพื่อให้รู้ว่า บารมีธรรมแต่ละบารมี มีอะไรบ้าง
2-3 วันนี่ หลวงปู่ มันจะเฉื่อย มันจะช้าลง เพราะว่า มันเข้าสู่สภาวะเลือดไม่ไปเลี้ยงออกซิเจนไม่เลี้ยงสมองบ่อยมาก เมื่อวาน ก็วูบไป จิตสุดท้าย ดีว่า มีสติ ก็พยายามประคองตน พิงข้างฝาห้องส้วมไว้ อ้ายเรื่อง จิตสุดท้ายที่มีสติ กับ หมดสติ นี่สำคัญ ทำให้เห็นว่า คนตาย ที่มันจิตสุดท้าย เวลาขาดสติเนี่ยนะ มันน่ากลัวมาก อันตรายมาก ลูกเพราะว่า คนที่มีจิตสุดท้าย อันเป็นทุกข์ อันทรมาน หรือ หลงใหลอยู่ใน อุปาทาน ความยึดถือ มันจะไปตามนั้นเลย จะไปตามกระบวนการ อยู่กับผัว ก็ไปตามหาผัว, อยู่กับลูก ก็ไปตามดูลูก ลูกกูจะไปไหน แต่ลูกไม่รู้หรอกว่า กูไปดูอยู่, อยู่กับสมบัติ ก็ไปเป็นจิ้งจก ตุ๊กแก คอย จุ๊ๆ จุ๊ๆ อยู่อย่างนั้น
งั้น จิตสุดท้าย นี่ สำคัญ พักหลังนี่ รู้สึก จะมีสภาวะที่เลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจทำงานน้อยบ่อยมาก ก็เลยชาๆ เฉื่อยๆ ก็ได้อาศัยยาบำรุงสมอง คือ ถ้าไม่มีอาการ หลวงปู่เป็นคนสันดานเสีย รู้ว่า ยามันดี กินแล้วมันหาย มันใช้ได้ แต่ไม่มีอาการ ก็เสียดายยา เปลือง เก็บไว้ขายดีกว่า ได้ตังค์ กูกินแล้วไม่ได้ตังค์ เออ ผลิตเอง มันก็แพง ลูก อ้ายซันชิ (โสมซานชี)โลหนึ่ง เป็นหมื่นหยวน แพง ยาบำรุงสมองนี่ใช้ยา หยวนหนึ่งมัน 4 บาทกว่า ทำใช้ ครั้งหนึ่ง เป็นหมื่นหยวน แพง ยาซันชิ ได้หมดละ คนแก่ ใครยังไม่ได้ ลูก ได้หมดแล้ว ใช่ไม๊ เอ้า ได้หมดแล้ว ก็ลองสาธยายกันหน่อย
บารมี  30 ทัศ
ทานะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี ปัญญา อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา  กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน  ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
อิติปิโส ภะคะวา  ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ทานะ อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา  ปัญญา ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา         เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา          ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ทานะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปัน                   วิริยะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา       กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา        อิติปิโส ภะคะวา สีละ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี วิริยะ อุปะปาระมี สัม

ปันโน เมตตา กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุ

เปกขา อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา สีละ อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา                          

 วิริยะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา                 เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา            ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา สีละ ปะระมัตถะปาระมี สัมปัน                  โน ขันตี ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา          กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา            อิติปิโส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ขันตี อุปะปาระมี สัม

ปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา  ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
เนกขัมมะ อุปะปาระมี สัมปันโน   ขันตี ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา  เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา   ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน  สัจจะ ปาระมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา  กะรุณา

มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อิติปิโส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี  สัจจะ อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา
กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน  ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุ

เปกขา อิติปิโส ภะคะวา   ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
สัจจะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน  อุเปกขา อุปะปาระมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา  เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อธิษฐานะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา   อุเปกขา ปะระมัตถะปาระมี สัมปัน
ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา โน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา
อธิษฐานะ อุปะปาระมี สัมปันโน ทะสะ

ปาระมี สัมปันโน เมตตา เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ไมตรี

กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา ปาระมี

สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา อธิษฐานะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน                  ทะสะ อุปะปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา             เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา            ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา เมตตา ปาระมี สัมปันโน เมตตา                ทะสะ ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน  ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา                 เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา            ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา เมตตา อุปะปาระมี สัมปันโน  พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา โพธิสัตว์ธัง สะระณัง คัจฉามิ
เมตตา ปะระมัตถะปาระมี สัมปันโน  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา  สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ นะมามิหัง    
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา    อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน                            

****************
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา             
ปาระมี สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา        

รู้ไม๊ ความเป็นมา เป็นไปของการสวด เจริญ บท ทศบารมี เนี่ย ทำนองเรามาจากไหน
ทำนองเนี่ย เริ่มต้นวันตรุษจีน เคยพูดไว้ว่า จะหาบทสวดบูชาคุณของพระโพธิสัตว์ในตอน

กินเจ พอได้บทสวดมาแล้ว ก็ให้พระฉัตรชัย เค้าไปพิมพ์ พิมพ์มา เย็นๆ เค้าก็เอามาให้
ตกกลางคืน ก็ลองมานั่งสวด เอ๊ มันสวดยังไงวะ ไม่รู้ว่า จะไปยังไง จะสวดแบบชาวบ้านเค้า

สวด ทานะ ปาระมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี อื๊อ มันไม่เข้า มันไม่เข้า มันไม่โดนใจ
คืนนั้น ก็ฝัน ฝันว่า เข้าไปในวิหารพระโพธิสัตว์ เนี่ย ก็เห็นบรรดาพระโพธิสัตว์ ท่านก็นั่ง

รวมตัวกัน แล้วก็สาธยาย ทศบารมี อ้ายเราก็ โอ้โห ท่านสวดเพราะมาก
ก็สงสัย เป็นถึงพระมหาโพธิสัตว์ มานั่งสวด ทศบารมี ทำไมไม่บูชาพระพุทธเจ้า
คิดอยู่ในใจ
ผลปรากฏว่า พอท่านว่า
ทานะ ปาระมี สัมปันโน, ทาน เนี่ย มันกลายเป็นฐานพระพุทธเจ้า ฐานพระพุทธรูป ให้

ปรากฏเห็นชัด
พอถึง สีละ ก็เป็นดอกไม้ คือ เป็นดอกบัวให้พระพุทธเจ้านั่ง
ไปถึง เนกขัมฯปฏิบัติ ก็เป็นองค์พระพุทธเจ้า
ไล่เรื่อยไปจนครบอุเบกขาบารมี กลายเป็น พระพุทธเจ้าปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า
โอ้โฮ้ บท ที่พระโพธิสัตว์ท่านบูชา ไม่ใช่พระพุทธเจ้า แต่บทที่พระโพธิสัตว์บูชา ก็คือ บท

ทศบารมี คือ พระธรรมทั้ง 10 ประการ ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ทำการบูชา แล้วพระ

ธรรมทั้ง 10 ประการนี้ ก็กลายเป็นพระพุทธเจ้าให้ได้เห็น คือ แต่ละข้อๆ ก็ปรุงแต่ง

ตกแต่ง เป็นรูปร่างพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงาม มีรัศมีเรืองรอง ก็เลยสิ้น

สงสัย
เลยแอบจำเค้ามา จำ ไม่ใช่กูคิดเอง เอ่อ แอบจำคำสวดของพระโพธิสัตว์ท่านมา เป็นการบูชา

ทศบารมี เราอย่าไปมองว่า ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา

อุเบกขา ไม่มีตัวตนนะ ลูก
มีตัวมีตน เป็นพื้นฐาน เป็นพระวรกาย เป็นพระสติปัญญา เป็นหัวใจ เป็นชีวิตของพระ

พุทธเจ้า
ธรรมทั้ง 10 ประการ นี่คือ ชีวิตของพระพุทธเจ้า ชีวิตของผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้า
งั้น พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จึงทำการบูชาธรรมทั้ง 10 ประการนี้ ท่านสาธยายเช้าเย็นๆ
เราก็ไปแอบฟัง ไปนั่งสวดกับเค้าด้วย กลัวว่า เดี๋ยวจะจำทำนองไม่ได้
ปกติเค้ามีตี มีบักฮื๊อ มีตี เคาะป๊อกๆ
ใครมีสติปัญญา ให้เค้าไปทำดนตรีใส่ เอามาเป็นซีดีเดินเข้าจังหวะให้หน่อยเถอะวะ ใคร

รู้จักใส่ทำนองน่ะ ทำนองเดิน ป๊อกๆ เนี่ย กูก็จำป๊อกไม่ได้ ก็จำได้แต่จังหวะ จำได้แต่ทำนอง

ทำนองมันเป็นอย่างนี้น่ะ ใครพอจะรู้จักนักดนตรี ก็ให้ไปใส่ แล้วเดี๋ยวเอามาทำแจกลูกหลาน

เอาไว้ใช้เปิด บูชาเช้าเย็นๆ เป็นคุณสมบัติของพระโพธิสัตว์ เป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์ใช้บูชา
แล้วก็ กลับถึงเรื่องที่เราปฏิบัติเนกขัมฯ มันไม่ใช่มีเฉพาะแค่เนกขัมฯ มันมี ทาน ไม๊ (มี)

ก็มีทาน, ศีล มีไม๊ (มี) ศีลก็มี, ทานก็มี, เนกขัมฯก็มีอยู่แล้ว, ปัญญามีไม๊ (

มี) เอ่อ ปัญญาก็มี, วิริยะ มีหรือเปล่า (มี) ขันติ (มี) ทนไม๊ นี่ มึงทนเหรอเนี่ย,

กูไม่เชื่อเลยว่า มึงทน อ๋อนี่ มึงทนอยู่เหรอเนี่ย ไม่ใช่อยู่ทนหรอกเหรอ เออ ขันติ, สัจจะ

มีไม๊ ลูก (มี), อธิษฐาน (มี), เมตตา อุเบกขา (มี) มีครบเลย
เพราะฉะนั้น การบวชครั้งๆ หนึ่งเนี่ย ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย การได้ถือบวชครั้งๆ หนึ่งเนี่ย มัน

เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก สำหรับคนที่ปรารถนาจะบำเพ็ญ บำเพ็ญคุณงามความดี ที่เรียกว่า

ทศบารมีทั้ง 10 ประการให้ครบ
งั้น ผู้บวชเนี่ย เทวดาเค้าจึงเคารพไง เทวดาจึงเคารพ ยิ่งมีตบะ มีเดชมาก เป็นผู้เคร่งครัดใน

ศีลาจารวัตรมาก เทพยดา พรหม มาร ทั้งหลาย จะหวาดกลัว จะถึงคำว่า กลัวเลยล่ะ เกรง

กลัว เพราะเรา ก็คือ พระพุทธเจ้าน้อยๆ
พระพุทธเจ้าน้อยๆ ที่อย่างหลวงปู่เล่าให้ฟังว่า สงสัยเวลาเค้าสวดว่า เอ๊ พระโพธสัตว์มาสวด

มองไปข้างหน้า มีแต่อากาศธาตุ แล้วก็มี ทานบารมี ศีลบารมีสาธยาย ไม่เห็นมีพระพุทธรูป

แล้วท่านไหว้ใคร กราบใคร
ผลปรากฏว่า พอสวดบทถึง ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมฯบารมี ปัญญา สิ่งเหล่านั้น กลาย

เป็นเครื่องทรงประดับประดา ให้เห็นเป็นพระพุทธเจ้า เห็นเป็นรูปพระพุทธเจ้าปรากฏ

เฉพาะหน้า
โอ๊ ท่านพระโพธิสัตว์ ท่านไม่ได้ไหว้อากาศธาตุ ท่านไหว้ธรรม ที่ทำให้คน หรือทำให้สัตว์

เป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ได้ปรากฏ เมื่อนั้น บูชาครบ อุเบกขาบารมี ก็เห็น พระผู้มีพระภาค

เจ้า ประทับอยู่บนดอกบัว ปรากฏเฉพาะหน้า
งั้น อย่าไปมองว่า การสาธยายมนต์ในทศบารมี หรือ การเข้ามาบวชเนกขัมฯปฏิบัติ เป็น

เรื่องเล็กน้อย มันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ มันเป็นเรื่องสำคัญ ทำได้น้อยก็ดีกว่าไม่ทำ เอาซักครึ่งวัน

ถ้าใครยังไม่ได้ขอศีล เอาซักครึ่งวัน เช้าไปเที่ยง อ้าว นี่จะเที่ยงอีกแล้ว เอ้า งั้น เที่ยงไปบ่าย

แล้วกัน นี่ได้เต็มๆ เลย กูไม่หิวอะไร เพราะกูตุนไว้ตอนเที่ยงเยอะมาก ก็ไม่เป็นไร ก็ทำไป
เอ่อ เลย 6 โมงเย็น สวดมนต์อีกรอบหนึ่ง ก็ทำ ดีกว่าไม่ทำ เพราะ มันเป็นเลือด เป็นเนื้อ

เป็นจิตวิญญาณของพระพุทธะ
ทศบารมี เป็นเลือด เป็นเนื้อ เป็นจิตวิญญาณของพระพุทธะ ไม่ใช่ญาติพระพุทธะ แต่เป็น

เลือด เป็นเนื้อ เป็นจิตวิญญาณพระพุทธะ เป็นองค์พระพุทธะด้วยซ้ำ ถ้าเราจะทำให้มัน

กลายเป็นสันดาน เป็นชีวิตจิตวิญญาณ
แต่ถ้าเราทำแบบลูบๆ คลำๆ ผลุบๆ โผล่ๆ ทำแบบขอไปที คือ บวชก็บวช ได้สักแต่ว่าบวช,

รับศีล ก็สักแต่ว่ารับศีล, สวดมนต์ ก็สักแต่ว่า สวดมนต์, เค้าปฏิบัติธรรม ก็สักแต่ว่า

ปฏิบัติธรรม ถ้าอย่างนั้น มันก็จะได้พระพุทธะที่หน้าไม่สวย  จมูกแหว่ง รูปกายบิดเบี้ยว

กลายเป็นพระพุทธะพิการ
พระพุทธะพิการ ได้อะไร
ไม่ได้อะไร ไม่สำเร็จประโยชน์อะไร เวลาเค้าแสดงธรรม ก็ดันนั่งหลับเสียอย่างนี้ โงกๆ หลับ

อย่างนี้เค้าเรียกว่า ปัญญาไม่มี พระพุทธะไม่มีปัญญา ถ้าขาดปัญญาซะแล้ว จะเป็นพระ

พุทธะ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้อย่างไร
งั้น ต้องสั่งสมให้ครบ บวชเข้ามาแล้ว ไหนๆ เสียเวลา ก็ให้ได้กำไร ไม่ใช่เสียเวลา แล้วก็มา

กินทุน แล้วขาดทุน แล้วก็ไม่ได้สมทบทุนเก่าเพิ่มขึ้น กินแต่ทุนเก่าหมด แล้วทุนใหม่ก็ไม่

ทบขึ้นมาเลย ไม่เกิดขึ้นเลย อย่างนี้เสียเวลาเปล่า
นี่ ก็ให้เข้าใจตามนี้ เดี๋ยวเรามาปฏิบัติธรรม เคลียร์พื้นที่ ลูก เหลือเวลาอีกซัก ร่วมๆ ชั่วโมง

ปฏิบัติธรรมกัน แล้วเดี๋ยวตอนภาคบ่าย แล้วค่อยไหว้ครูพระกรรมฐาน
เก็บแผ่นสวดเสียก่อน บ่าย ค่อยแจก เย็น ค่อยแจกใหม่ ลูก อย่าไปเหยียบ ไปย่ำ ไปพับ

ใส่ส่งเดช

24    ก พ 2556   10.05 น. ระหว่างปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมฯ

ก่อนวันมาฆบูชา โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (ฝึกสติ เดินในขั้นที่ 1 ภาคที่ 1,2,3

ขั้นที่ 2)
เคลียร์พื้นที่ ใครจะไปเข้าห้องน้ำห้องท่า ไปซะ
(กราบ)
ควรกระทำ แม้ไม่บวช ก็ควรจะปฏิบัติธรรม ลูก
คนที่มาใหม่ๆ อย่ามองว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องน่าเบื่อ เพราะวันนี้ เป็นวันที่ พระ

พุทธเจ้าสอนให้เราทำ 3 สิ่ง คือ ไม่ทำชั่ว, ทำความฉลาด คือ ทำกุศล แล้วก็ ทำจิตให้

ผ่องแผ้ว ผ่องใส
ถ้าทำ 3 สิ่งนี้ได้ เราก็รวยละ เราก็เป็นมงคลละ เราก็รุ่งเรืองเจริญละ เราก็ทำตามคำ

สอนพระผู้มีพระภาคได้ละ  
งั้น ไม่จำเป็นว่า ต้องบวชแล้วทำ เดี๋ยวทำตามเค้า มีพี่เลี้ยงคอยอบรมสั่งสอนเพื่อชี้นำ เค้ามี

รุ่นพี่คอยบอก
เตรียมตัวปฏิบัติธรรม
พร้อม
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น ลูก เดี๋ยว รุ่นพี่เค้าช่วยชี้นำ บอกกล่าว ทำไม่ยาก
หูฟังเสียง ใจรับรู้ เท้าก้าวเดิน, หูฟังเสียง เท้าก้าวเดิน ใจรับรู้
การปฏิบัติธรรม นี่เป็นบุญใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าเวียนเทียนอีกนะ
เดินขั้นที่ 1 ภาคที่ 1
.................
ใครทำ ใครได้ แม้ทำไม่ตั้งใจ ก็ได้ไม่มากเท่ากับคนตั้งใจ
จดจ่อ จริงจัง ตั้งใจ จับจ้อง
...............
ขยับขึ้น ขั้นที่ 1 ภาคที่ 2
ดีดนิ้วตามจังหวะ พร้อมก้าวเดิน
...............
สำหรับผู้มาใหม่ อาจจะยังไม่เข้าใจว่า กำลังทำอะไรอยู่
สิ่งที่ทำ นี่คือ การฝึกสติ
สติ ก็คือ การสร้าง ตัวรู้สึกตัว แบบชนิดที่ปราศจากอารมณ์ รู้สึกตัวว่า กำลังทำอะไรอยู่

อย่างไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรก มีแต่ ตัวรู้ เฉยๆ
ถามว่า เพราะ อะไร
เพราะ สติ โดยธรรมชาติ ก็คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
ฝึกไป ทำไม
ก็คนมีสติ มันทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาด ชีวิตจะได้ไม่ผิดพลาด ไม่เพลี้ยงพล้ำ
สติ เมื่อมีมากๆ ก็กลายเป็น มหาสติ มันสามารถชนะทุกข์ได้ ลด ตัณหา อุปาทาน อวิชชา

และ เหตุปัจจัยของกองทุกข์ทั้งปวงได้
งั้น สิ่งที่ฝึก สิ่งที่ทำ ก็คือ สติ
แล้ว สติ คือ อะไร
คือ ความรู้สึกตัว รู้สึกตัวแบบไม่มีอารมณ์อื่นเข้าแทรก รู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ว่า กำลังทำ

อะไรอยู่ แล้วทำในสิ่งนั้นอย่าง จดจ่อ จริงจัง ตั้งใจ แล้วก็ จับจ้อง ไม่วอกแวก ไม่ลื่นไหล

ถลาไปในที่ใดๆ
ให้ฝึกแบบนี้
.................
ต่อไป ขยับขึ้นขั้นที่ 1 ภาคที่ 3
ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยแนะนำ
ยกมือ เพื่อเค้าจะได้ไปอธิบายว่า จะทำอย่างไร
การปฏิบัติธรรมของที่นี่ มีตั้ง 10 ขั้น แล้วแต่ละขั้น ก็มีจำแนก แจกแจงออกไปอีก เพื่อ

สร้างสติให้มากขึ้น
.................
ขยับขึ้นขั้นที่ 2 ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่ช่วยแนะนำ
...............
หยุดอยู่กับที่ หลับตา
ดูซิว่า เรายังอยู่ กับเนื้อ กับตัว อยู่ไม๊
ส่ง ความรู้สึกไปในกาย สำรวจดูโครงสร้างในกาย ตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า
พร้อม สูดลมหายใจเข้า แล้วตามดูลมว่า ไปสุดที่ไหน
เสร็จแล้วก็ หายใจออก อย่างผ่อนคลาย
...............
แล้ว หายใจเข้า ไปใหม่
................
หายใจเข้า แล้วก็ หายใจออก
...................
ตรงไหนที่ขมึงทึง ตึงเครียด ให้ลมมันผ่านในจุดนั้น
แล้วก็ พ่น ลมออก เบาๆ อย่างผ่อนคลาย
.................
สูดลมหายใจเข้า ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุข
...............
หายใจออก ภาวนาว่า สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
เข้าเสัตว์ทั้งปวง จงเป็นสุขข้
เวลาพ่น ลมออก ก็ สัตว์ทั้งปวง จงพ้นทุกข์
................
สูด ลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม
................
หายใจออก ผ่อนคลาย อยู่กับความผ่อนคลาย
กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ใบหน้าผ่อนคลาย แขนขา ทุกอย่างผ่อนคลาย สมองผ่อนคลาย
ทุกส่วนในร่างกาย รู้สึกผ่อนคลาย เบาๆ สบาย
ไม่มีภาระ ไม่มีกังวล ไม่มีวิตก วิจารณ์ ในเรื่องใดๆ
จิตใจผ่องแผ้ว ผ่องใส เหมือนดั่ง มีคำกล่าวของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
จิตตัง ทันตัง สุขังวะหัง  จิตที่รักษาดีแล้ว ย่อมยังความสุขมาให้
.............
จิตที่ผ่องแผ้ว จิตที่ผ่องใส เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นยอดแห่งการรักษา
รักษากาย รักษาทรัพย์ รักษาอวัยวะ รักษาชีวิต ก็ได้แต่ชาตินี้
แต่ถ้ารักษาใจ มันได้ข้ามภพข้ามชาติ
เพราะ ใจที่ผ่องแผ้ว ผ่องใส ไม่มีอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 ไม่มีอวิชชา ไม่มีตัณหา
มันเป็นใจที่ประภัสสร ใจที่อิสระ
เป็นใจ หรือ เป็นจิตของพระอริยเจ้า
.................
ยกมือ ไหว้พระกรรมฐาน ลืมตาแล้วเข้าที่ ลูก
................
11 โมงแล้ว ได้เวลาให้เหยื่ออีกแล้ว
หลับๆ ตื่นๆ
กราบลาพระ แล้วเดี๋ยวไปพัก ตอนบ่าย มาปฏิบัติธรรมต่อ
บ่ายโมงตรง พร้อมกัน ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
(กราบ)
อะระหัง สัมมา ลูก
..................
เคยสอน บ่อยครั้งมาก เวลาไหว้พระ กราบพระ บูชาพระ
ให้มันออกมาจากหัวใจ
อย่าให้ออกจากแค่ริมฝีปาก
ถ้าออกแค่ริมฝีปาก เค้าเรียกว่า ไหว้พระแต่ซาก
แต่ถ้าออกจากหัวใจ เค้าเรียกว่า ไหว้พระโดนจิตวิญญาณ
การไหว้พระด้วยจิตวิญญาณ พระจะรับรู้
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยเจ้า ก็จะสัมผัสได้
ก็ถือว่า เราได้สั่งสมบารมีธรรม
แต่ถ้าไหว้พระแต่ซากเนี่ย อย่าว่าแต่เทวดารับรู้เลย ผีก็ไม่รู้
ตัวเราก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง บางทีสวดถูก สวดผิด ผิดๆ ถูกๆ ได้บ้างเสียบ้าง
แล้วฝึกอย่างนี้ ไม่ใช่วันเดียว เป็นร้อยวัน เป็นพันวัน เป็นชาติหนึ่ง เป็น 2 ชาติ เป็น 3

ชาติ
พวกนี้ จึงกลายเป็นการสั่งสมอบรมนิสัยที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อไง
ทำอะไรไม่จริงจัง แล้วเวลามีชีวิต ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง
มนุษย์เนี่ย ฝึกอย่างไร ได้อย่างนั้น ลูก
ฝึกให้เป็นคนได้ประโยชน์ ก็จะได้แต่ประโยชน์
ฝึกให้เป็นคนเสียประโยชน์ เราก็จะเสียแต่ประโยชน์
ฝึกเป็นคนไม่เอาสาระ ไม่เอาขี้หมูขี้ไก่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น
เราก็จะไม่เอาอะไรทั้งนั้น
มีชีวิตให้อยู่ไปวันๆ ให้หายใจเข้า หายใจออกเฉยๆ
เพราะงั้น เรื่องเล็กน้อยนิดหน่อยในชีวิต อย่ามองข้าม
ไหว้พระ สวดมนต์ บูชาพระ อุปการะคุณต่อผู้มีคุณ กตัญญู กตเวทิตา
เหล่านี้ เป็นเครื่องฝึกจิต ฝึกสันดาน
เพราะงั้น ถ้าเราไม่ฝึก เราก็จะกลายเป็นสิ่งไร้ค่า เป็นมนุษย์ที่ไร้ค่า
ม้า ถ้าไม่ฝึก มันก็คือ ม้าป่า มีชีวิตอยู่แบบป่าๆ
ดิน ถ้าไม่ได้รับการร่อน มันก็เป็นดินที่ชาบ้านเค้าเหยียบ
แต่ถ้ามันเป็นดินที่ร่อนแล้ว นวดแล้ว เอามาปั้นเป็นแจกัน เป็นพระพุทธรูป ก็ให้คนบูชา
มันขึ้นอยู่กับว่า ดินนั้น จะยอมรับการปั้น การนวดหรือเปล่า
งั้น มนุษย์อย่าให้ได้ดี แค่มียี่ห้อเป็นมนุษย์ มนุษย์ต้องได้ดี เพราะมีคุณสมบัติของมนุษย์

จำไว้
เรามีแค่ยี่ห้อว่า เป็นมนุษย์ นั่นไม่ใช่มนุษย์ละ มันต้องมีคุณสมบัติ แล้วคุณสมบัติของมนุษย์

หนึ่งในหลายคุณสมบัติ ก็คือ ทำอะไร ต้องจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ แล้วก็ จับจ้อง ออกมาจาก

หัวใจ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น, ทำอย่างไร คิดเช่นนั้น, พูด ทำ คิด เรื่องเดียวกัน นั่นคือ

คุณสมบัติมนุษย์
แต่ถ้าคุณสมบัติของ เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือ ผี ก็หลอกไปเรื่อย เราชอบหลอก

ใคร สุดท้าย ใครๆ ก็ชอบหลอกเรา
แม้ไหว้พระ เราหลอกพระ สุดท้าย เราก็โดนคนอื่นหลอกเรา
งั้น อย่าหลอกกัน อย่าใส่หน้ากากเข้าหากัน ไหว้พระ ก็ไหว้จากใจ
ไหว้ใหม่ อะระหัง สัมมา ใหม่
อะระหัง สัมมา................
(กราบ)
อืม ไหว้พระอย่างนี้น่ะ พระเห็น ลูก
สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.......
(กราบ)
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า คนซื่อตรง
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต.....
(กราบ)
เนี่ย เค้าเรียกว่า มนุษย์ที่มีคุณสมบัติ มีคุณธรรม ลูก
ให้ธรรมะรักษาทุกคน เดี๋ยวไปพัก ทานข้าว แล้วตอนบ่าย ลงมาฟังธรรมต่อ
(กราบ)
.............
ากับ
..................คนตั้งใจรทำ ใครได้

24    ก พ 2556   11.10 น. หลังปฏิบัติธรรม บวชเนกขัมฯ ก่อนวันมาฆบูชา โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ 11 โมงแล้ว จะได้เวลาให้เหยื่ออีกแล้ว
หลับๆ ตื่นๆ
..............
กราบลาพระ แล้วเดี๋ยวไปพัก แล้วตอนบ่าย ลงมาปฏิบัติธรรมต่อ
บ่ายโมงตรง พร้อมกัน ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม
(กราบ)
อะระหัง สัมมา ลูก
..................
(กราบ)
เคยสอน บ่อยครั้งมาก เวลาไหว้พระ กราบพระ บูชาพระ
ให้มันออกมาจากหัวใจ
อย่าให้ออกจาก แค่ริมฝีปาก
ถ้าออกแค่ริมฝีปาก เค้าเรียกว่า ไหว้พระแต่ซาก
แต่ถ้าออกจากหัวใจ เค้าเรียกว่า ไหว้พระโดยจิตวิญญาณ
การไหว้พระโดยจิตวิญญาณ พระจะรับรู้ ลูก
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยเจ้า ก็จะรับสัมผัสได้
ก็ถือว่า เราได้สั่งสมบารมีธรรม
แต่ถ้าไหว้พระแต่ซากเนี่ย อย่าว่าแต่เทวดารับรู้เลย ผีก็ไม่รู้
ตัวเราก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง บางทีสวดถูก สวดผิด ผิดๆ ถูกๆ ได้บ้างเสียบ้าง
แล้วฝึกอย่างนี้ ไม่ใช่วันเดียว ลูก เป็นร้อยวัน เป็นพันวัน เป็นชาติหนึ่ง เป็น 2 ชาติ เป็น 3

ชาติ
พวกนี้ จึงกลายเป็นการสั่งสมอบรมนิสัยที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อไง
ทำอะไรไม่จริงจัง แล้วเวลามีชีวิต ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง
มนุษย์เนี่ย ฝึกอย่างไร ได้อย่างนั้น ลูก
ฝึกให้เป็นคนได้ประโยชน์ ก็จะได้แต่ประโยชน์
ฝึกให้เป็นคนเสียประโยชน์ เราก็จะเสียแต่ประโยชน์
ฝึกเป็นคนไม่เอาสาระ ไม่เอาขี้หมูขี้ไก่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น
เราก็จะไม่เอาอะไรทั้งนั้น
มีชีวิตให้อยู่ไปวันๆ ให้หายใจเข้า หายใจออกเฉยๆ
เพราะงั้น เรื่องเล็กน้อยนิดหน่อยในชีวิต อย่ามองข้าม
ไหว้พระ สวดมนต์ บูชาพระ อุปการะคุณต่อผู้มีคุณ กตัญญู กตเวทิตา
สิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องฝึกจิต ฝึกสันดาน
เพราะงั้น ถ้าเราไม่ฝึก เราก็จะกลายเป็นสิ่งไร้ค่า เป็นมนุษย์ที่ไร้ค่า
ม้า ถ้าไม่ฝึก มันก็คือ ม้าป่า มีชีวิตอยู่แบบป่าๆ
ดิน ถ้าไม่ได้รับการร่อน มันก็เป็นดินที่ชาบ้านเค้าเหยียบ
แต่ถ้ามันเป็นดินที่ร่อนแล้ว นวดแล้ว เอามาปั้นเป็นแจกัน เป็นพระพุทธรูป ก็ให้คนบูชา
มันขึ้นอยู่กับว่า ดินนั้น มันจะยอมรับการปั้น การนวด หรือเปล่า
งั้น มนุษย์อย่าให้ได้ดี แค่มียี่ห้อเป็นมนุษย์ มนุษย์ต้องได้ดี เพราะมีคุณสมบัติของมนุษย์

จำไว้
เรามีแค่ยี่ห้อว่า เป็นมนุษย์ นั่นไม่ใช่มนุษย์ละ มันต้องมีคุณสมบัติ แล้วคุณสมบัติของมนุษย์
หนึ่งในหลายคุณสมบัติ ก็คือ ทำอะไร ต้องจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ แล้วก็ จับจ้อง
ออกมาจากหัวใจ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น, ทำอย่างไร คิดเช่นนั้น, พูด ทำ คิด เรื่อง

เดียวกัน นั่นคือ คุณสมบัติมนุษย์
แต่ถ้าคุณสมบัติของ เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน หรือ ผี ก็หลอกไปเรื่อย เราชอบหลอก

ใคร สุดท้าย ใครๆ ก็ชอบหลอกเรา
แม้ไหว้พระ เราหลอกพระ สุดท้าย เราก็โดนคนอื่น หลอกเรา
งั้น อย่าหลอกกัน อย่าใส่หน้ากากเข้าหากัน ไหว้พระ ก็ไหว้จากใจ
ไหว้ใหม่ อะระหัง สัมมา ใหม่
อะระหัง สัมมา................
(กราบ)
อืม ไหว้พระอย่างนี้น่ะ พระเห็น ลูก
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม.......
(กราบ)
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า คนซื่อตรง
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต.....
(กราบ)
เนี่ย เค้าเรียกว่า มนุษย์ที่มีคุณสมบัติ คุณธรรม ลูก
ให้ธรรมะรักษาทุกคน เดี๋ยวไปพัก ทานข้าว แล้วตอนบ่าย ลงมาฟังธรรมต่อ
(กราบ)
.............
ากับ
..................คนตั้งใจรทำ ใครได้