9 ก ย 2556   วิธีระงับอธิกรณ์ โดย องค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (21.47 นาที)

เจริญธรรม เจริญสุข ท่านสาธุชน คนไอที ที่รักทุกท่าน
วันนี้ก็มาพบปะพูดคุยกันอีกวาระหนึ่ง อีกครั้งหนึ่ง ถ้า

ไม่ติดภาระกิจ ไม่ติดการงาน ไม่ติดที่จะต้องไปแสดง

ธรรม หรือ ทำสังฆกิจต่างๆ ก็จะพยายามแบ่งเวลามา

พูดคุยกับพวกท่าน ในประเด็นปัญหาของศาสนา ของ

สังคม ของบ้านเมือง ของสิ่งแวดล้อม และแม้ที่สุด ก็

ของอาวาสวัดอ้อน้อยเอง
ก็คงจะเป็นที่ทราบกันว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับอาวาส

วัดอ้อน้อย เวลานี้เราต้องยอมรับว่า มันเป็นเรื่องที่ลุ

ดลามบานปลายไปถึงกับเรื่องเกี่ยวกับการเมือง

เพราะมีการเมืองเข้ามาแทรก มีการเมืองเข้ามาเป็น

ตัวแปรสำคัญที่จะหนุนคนที่ไม่ใช่พระ และมาอาศัย

ศาสนาหากิน แล้วก็มาแสวงหาประโยชน์กับศาสนา
ก็พยายามจะส่งสัญญาณไปยังบรรดากลุ่มก้อนนักการ

เมืองเหล่านั้นว่า อย่าทำให้ศาสนาเสียหาย อย่าให้การ

เมืองมายุ่งกับศาสนา อย่าให้ศาสนาไปอิงอาศัยการ

เมือง เพราะมันจะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้สังคมศาสนา

แล้วก็สภาวะแวดล้อมในศาสนา มันจะกลายเป็นมล

ภาวะ ซึ่งมันไม่ยังให้เกิดศรัทธา ปสาทะกับผู้คนได้เลย
เพราะว่า เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า สถาบันการเมือง

หรือว่า นักการเมือง ถ้าสมัยก่อนก็ไม่แน่ใจ แต่ถ้า

สมัยนี้ ใครๆ เค้าก็มีข้อกังขากับกระบวนการของการ

เมืองว่า ถ้าไปยุ่งตรงไหน มันจะมักนำมาซึ่งผล

ประโยชน์เสียส่วนใหญ่ แล้วเมื่อเป็นอย่างนั้น มันก็

อาจจะอดคิดไม่ได้ว่า การเมืองที่เข้ามาวุ่นวายกับ

บุคคลากรในศาสนา ก็อาจจะเป็นผู้ที่มาร่วมแสวงหา

ผลประโยชน์หรือได้ผลประโยชน์
มันก็เลยเป็นที่มาของบุคคลากรที่อยู่ในศาสนา ที่ไม่

ได้ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่

เรียกว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ แต่ยืนหยัดอยู่ได้ด้วย

อาศัยอำนาจของการเมือง
งั้น ก็เลยอยากส่งสัญญาณนี้ ไปยังบรรดานักการเมือง

ทั้งหลาย แล้วก็ผู้ที่มีอำนาจในบ้านในเมือง อย่ามาอาศัย

อย่ามาใช้ศาสนา หรือว่าบุคคลากรในศาสนาเป็น

ฐานอำนาจ ฐานการเงิน ฐานคะแนนเสียง อะไรเลย

เพราะว่า มันจะทำให้ศาสนาตกต่ำเสียเปล่าๆ แล้วมัน

ก็ไม่ได้เป็นการช่วยศาสนาเสียด้วยซ้ำไป
งั้น วันนี้ก็ ที่จริงแล้ว อยากจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ

เรื่องราวของพระธรรมวินัย ซึ่งตามพระวินัย ท่าน

กำหนดเอาไว้ในปฐมสังคายนา ท่านมหากัสสปะ พระ

อนุรุทธะ แล้วก็พระอานนท์ ท่านได้ร้อยกรองเรียบ

เรียงพระธรรมวินัยไว้เป็น 3 หมวดหมู่ ก็คือ พระ

สุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก แล้วก็วินัยปิฎก ที่จริง

แล้ว มันจะต้องเริ่มต้นจาก วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก

แล้วก็ อภิธรรมปิฎก
ในวินัยปิฎก นี่ก็มีเรื่องราว ในพระธรรมก็มีเรื่องราว

ในสุตตันตปิฎกก็มีเรื่องราว และเรื่องราวเหล่านี้ ถ้า

มันเป็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดวิวาทะ หรือ ทะเลาะ

วิวาท หรือ ถกเถียงกัน ท่านก็จัดเป็นหมวดหมู่ไว้ จะ

ถกเถียงกันด้วยเรื่องอะไรๆ บ้างในยุตสมัยนั้นนะ
สมัยนี้ ก็คงไม่ได้แตกต่างกัน ว่า จะต้องเถียงกันด้วย

เรื่องอะไร
ทีนี้ วันนี้ ที่จริงมันก็มีเรื่องอยู่ 4 เรื่องในพระธรรม

วินัย ซึ่งในพระวินัยท่านกำหนดเอาไว้ ว่า มีวิวาทา

ธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แล้วก็ กิจจา

ธิกรณ์
ทีนี้ ถ้าพูดลอยๆ เดี๋ยวก็จะหาว่า หลวงปู่พูดขึ้นเองโดย

ไม่มีพยานหลักฐานยืนยัน
ก็จะต้องอาศัยตำราหน่อย ตำราเพื่อให้มั่นใจว่า ไม่ได้

พูดขึ้นมาเอง
เรียก อธิกรณสมถะ
อธิกรณสมถะ ที่เรียกว่า อธิกรณ์ มีอยู่ 4 อย่าง ศัพท์ว่า

อธิกรณ์ เป็นชื่อแห่งเรื่องที่เกิดขึ้น แล้วจะต้องจัดทำ

ให้ลุล่วงหรือสำเร็จเรียบร้อย ก็คือ
1.    วิวาทาธิกรณ์ คือ วิวาทกันได้แก่การถก

เถียง ปรารภ เรื่องพระธรรมและวินัย จะต้องได้รับ

การชี้ขาดว่า ถูกผิดอย่างไร นี่เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์
2.    ต่อมา ก็คือ อนุวาทาธิกรณ์ ก็คือ การ

โจทย์กล่าวหากันด้วยอาบัติ นี่จะต้องได้รับวินิจฉัยว่า

จริงหรือไม่จริง อย่างไร เช่น ที่หลวงปู่กล่าวโจทย์

นายน้ำฝนว่า เป็นผู้มีศีลวิบัติ  ทิฏฐิวิบัติ แล้วก็ อาจาร

วิบัติ
เมื่อกล่าวโจทย์ไปด้วยวาจาก็ตาม ด้วยอักษรหนังสือก็

ตาม ผู้ปกครองในชั้นสงฆ์แต่ละรลำดับชั้น ต้องเรียก

ประชุมสงฆ์ แล้วก็นำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการพินิจ

พิจารณา แต่ก็ดูเหมือนว่า ผู้ปกครองคณะสงฆ์แต่ละ

รลำดับชั้น เพิกเฉยต่อการเกิดอธิกรณ์ในพระพุทธ

ศาสนา ก็เลยไม่สนใจใยดีที่จะมีการสอบสวนทวน

ความในคำกล่าวโทษโจทย์เหล่านั้น ก็ถือว่า ท่านก็ได้

รับอาบัติไปทุกวันๆ ก็คือ ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย

เป็นอาบัติปาจิตตีย์
อนุวาทาธิกรณ์ ก็คือ การโจทย์กล่าวหากันด้วยอาบัติ

นี้จะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างจริงจังว่า สิ่งที่โจทย์นั้น

จริงหรือไม่
3.    อาปัตตาธิกรณ์ ก็คือ กิริยาที่ต้องอาบัติ

หรือถูกปรับอาบัติ เมื่อพิจารณาแล้วว่า ผู้โจทย์มีหลัก

ฐานพยานยืนยันแน่ชัด ผู้ถูกโจทย์ได้รับการพิสูจน์

แล้วว่า สิ่งที่โจทย์นั้นถูกต้อง ไม่ผิดพลาด งั้น ผู้ถูก

โจทย์ก็ค้องโดนปรับอาบัติ หรือ ต้องอาบัติทันที
ที่จริง อาบัติมันเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ทำ ทำละ แต่มันยัง

ไม่มีการลงโทษ หรือ ทำความผิดให้ปรากฏ มันก็ต้อง

มีการสอบสวนทวนความ
งั้น การสอบสวนทวนความ ก็คือ การลงโทษ อาปัตตา

ธิกรณ์ ก็คือ การลงโทษบุคคลผู้ต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้

เหล่านี้ เรียกว่า เป็นกระบวนการที่พระวินัยธรณ์ หรือ

เจ้าคณะผู้ปกครองต้องกระทำ
4.    ต่อมาก็คือ กิจจาธิกรณ์ คือ กิจธุระที่สงฆ์

จะพึงทำ เช่น อุปสมบท หรือ ทำสังฆกรรม รับกฐิน

สวดปาติโมกข์ สวดนาค หรือไม่ก็ อุปสมบทพระภิกษุ

สามเณร อย่างนี้ก็ถือว่า เป็นกิจจาธิกรณ์ แม้ที่สุด ก็

เป็นเรื่องเป็นราว สมมุติสีมา นี่ก็ถือว่า เป็นกิจจาธิกรณ์
ถามว่า รับสังฆทาน นี่เป็นกิจจาธิกรณ์ไม๊
ก็ไม่ถือว่า จัดเข้าอยู่ในกระบวนการของกิจจาธิกรณ์

ถ้าการรับสังฆทานนั้นไม่ผิดเพี้ยน หรือ ไม่บิดเบี้ยว

ในหลักธรรมวินัย
ทั้งหมดนี่เรียกว่า อธิกรณ์ มี 4 อย่าง คือ เรื่องราวที่

เกิดขึ้นในสังฆมณฑล ในพระธรรมวินัย มันไม่น่าจะ

เกินกว่านี้ ยุค 2,000 กว่าปีก่อนเป็นอย่างไร

2,000 กว่าปีให้หลัง ก็เป็นประมาณนี้
วิวาทาธิกรณ์ ก็คือ โจทย์กันด้วย ถกเถียงกันด้วยพระ

ธรรมวินัยว่า ใครถูกใครผิด
อนุวาทาธิกรณ์ ก็คือ กล่าวโจทย์กันด้วยอาบัติ ซึ่งจะ

ต้องได้รับการวินิจฉัย
อาปัตตาธิกรณ์ ก็คือ กิริยาที่จะต้องปรับกับบุคคล หรือ

ลงโทษกับบุคคลผู้ต้องอาบัติ หรือ ผู้ทำความผิดพระ

ธรรมวินัย
กิจจาธิกรณ์ คือ กิจที่สงฆ์จะพึงกระทำได้ตามหลัก

ธรรมวินัยที่อนุญาต และห้าม
ต่อมา เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงกำหนดว่า

วิธีการที่จะระงับเรื่องเหล่านั้น เรียกว่า อธิกรณสมถะ

7 อย่าง แฃ้วหลวงปู่ชอบพูดอยู่เนืองๆ พูดอยู่เสมอ ก็

คือว่า
1.    ข้อแรกเลยใช้ สัมมุขาวินัย ใช้ระงับเรื่อง

4 เรื่อง ได้หมดเลย เรื่อง 4 เรื่องดังกล่าวมา ก็คือ วิ

วาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และ กิจจา

ธิกรณ์ ก็สามารถใช้หลัก สัมมุขาวินัย
สัมมุขาวินัย มันหมายถึงอะไร
หมายถึง ระเบียบอันจะทำในที่พร้อมหน้า 4 อย่าง

ได้แก่
1.1    พร้อมหน้าสงฆ์ คือ ภิกษุเข้าประชุม

ครบองค์กำหนด เป็นองค์สงฆ์
1.2    พร้อมหน้าบุคคล คือ บุคคลที่เกี่ยวข้อง

ที่อยู่พร้อมหน้ากัน แต่เหมือนกับมติอัปยศที่ผ่านมา

ไม่มีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้เข้าประชุมอยู่พร้อม

หน้ากัน ก็ลงมติไปแล้ว แล้วก็ตอนหลังมา ก็เห็นแรง

กดดัน ทนแรงกดดันไม่ได้ ก็มาเปลี่ยนมติใหม่ ซึ่งก็

ไม่ได้เป็นที่พร้อมหน้าของบุคคลผู้อยู่ร่วมอีกเหมือน

กันว่า พึงพอใจแค่ไหน คือ บุคคลที่อยู่ร่วมใน

เหตุการณ์ไม่ได้รับรู้ได้เลย ก็คือ ประชุมอยู่ฝ่ายเดียว

ข้างเดียว อย่างนี้เป็นต้น
1.3    พร้อมหน้าวัตถุ คือ ยกเรื่องที่เกิดขึ้น

มาวินิจฉัย
1.4    พร้อมหน้าธรรมวินัย ก็คือ วินิจฉัยให้

ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระธรรมและวินัย
ทั้งหมดนี้ เรียกว่า สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ที่เกิด

ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิวาททะเลาะกันเรื่องธรรมวินัย

วิวาททะเลาะกันด้วยโจทย์ด้วยอาบัติ แล้วก็กิริยาที่ต้อง

อาบัติ และกิจที่พระสงฆ์จะพึงกระทำ ก็ใช้หลักสัมมุขา

วินัย ซึ่งมีขบวนการ 4 ขบวนการ คือ ในที่พร้อม

หน้าสงฆ์ พร้อมหน้าบุคคล พร้อมหน้าวัตถุพยาน

แล้วก็พร้อมหน้าธรรมวินัย
ใช้หลักธรรมวินัยเป็นตัวกำหนด ต้องประชุม ต้อง

ปรึกษาหารือ ต้องระงับให้มันแจ่มแจ้ง
และที่ผ่านมา เกิดเรื่องในคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ ก็ไม่ค่อย

ได้ใช้หลักธรรมและวินัย มักจะไปอิงอาศัย กฏหมาย

บ้านเมือง แล้วก็กฏกู ซึ่งไม่ใช่กฏของพระศาสนาและ

พระธรรมวินัย
2.    สติวินัย อันนี้ ท่านให้ใช้สำหรับบุคคลที่

เป็นบ้า ประกาศ เช่น มีพระภิกษุเดินแก้ผ้าอยู่กลาง

ถนน อย่างนี้เป็นต้น ก็ยกอาบัติให้เธอซะ ก็คือ เธอ

เป็นผู้ไม่ต้องอาบัติ เพราะว่า แม้แต่วิถีโลก เค้าก็ถือ

กันว่า การที่ภิกษุ หรือบุคคลที่วิปลาส เป็นบ้าใบ้ เป็นบ้า

เป็นโรคจิตประสาท จิตหลอน อะไรเนี่ย ทำโทษใดๆ

หรือ ทำผิดอะไร ก็จะไม่ได้รับโทษทัณฑ์ แต่ต้องได้

รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเท่านั้นเอง เช่น คนบ้าไปเดิน

ถือไม้ขีดไปจุดไฟเผาบ้านชาวบ้าน แล้วเผอิญมันไหม้

ไป อย่างนี้ จะไปเอาคนบ้ามาติดคุก ก็คงจะไม่ได้

เพราะว่า กฏหมายเค้าเว้นเอาไว้
แต่ต้องเป็นคนบ้าที่ไม่ใช่แกล้งบ้านะ บ้าแบบประมาณ

ว่า แพทย์วินิจฉัยแล้วว่า เค้าบ้าจริงๆ ก็คงจะต้องได้รับ

การดูแลอย่างใกล้ชิด จะเอาไปติดคุกติดตะราง ชดใช้

ตามหลักกบิลบ้านเมือง ก็คงไม่ได้
เพราะงั้น สติวินัย ท่านก็กำหนดไว้ให้แก่ บุคคลที่มีสติ

อย่างสมบูรณ์ ไม่เป็นบ้าใบ้ แล้วก็บุคคลที่เป็นบ้าใบ้ ก็

ไม่สามารถที่จะได้รับการลงทัณฑ์ได้
สำหรับบุคคลที่มีสติอย่างสมบูรณ์ ก็คือ ท่านกำหนด

เอาไว้ว่า ต้องเป็นพระอรหันตเจ้าเท่านั้น เรีบกว่า

เป็นผู้มีสติอันสมบูรณ์ พระอริยเจ้าระดับโสดา สกทาคา

อนาคา ก็ยังไม่ถือ ไม่จัดว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ ต้อง

เป็นพระอรหันตเจ้า จึงจัดว่าเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ ข้อนี้

จึงเรียกว่า สติวินัย แปลว่า ระเบียบ เอาสติขึ้นเป็นหลัก

ตัวอย่างเช่น พระสารีบุตร เป็นต้น
เมื่อกี้ ยกตัวอย่างคนบ้าแล้ว ก็มายกตัวอย่างคนที่ไม่บ้า

แล้วก็มีสติสมบูรณ์ อย่างเช่น พระสารีบุตร ท่านมี

ปกติที่ท่านชอบกระโดดโลดเต้น คือ โดดข้ามท้องร่อง

เห็นมีน้ำขวางอยู่ ท่านก็กระโดดข้าม ซึ่งพระทั้งหลาย

พวกเดรถีย์ทั้งหลาย ก็มาโจทย์ว่า เป็นถึงอัครสาวก

เบื้องขวา แล้วทำไมไม่สำรวม เป็นพระผู้นำของชุมชน

ของบุคคลทั้งหลายแล้ว ทำไมถึงไม่สำรวม เป็นผู้เลิศ

ทางวินัย เป็นพระอริยเจ้า ทำไมไม่สำรวม ยังมากระ

โดดข้ามท้องร่อง แหย้วๆ เป็นลิงค่างบ่างชะนี อย่างนี้

เป็นต้น
พระศาสดาก็ทรงให้ประกาศว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้ที่มีปกติ

วิสัยแบบนี้มาเนิ่นนานละ เพราะพระสารีบุตร นี่เกิด

เป็นลิงตั้ง 500 ชาติ ก่อนที่จะมาเป็นพระอรหันต์ งั้น

อ้ายวิสัยแบบนี้ ก็อาจจะติดมาบ้าง ก็เป็นธรรมดา แล้ว

ก็ท่านก็สวดยกให้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติอันเลิศแล้ว

ไม่พึงจะต้องอาบัติใดๆ ได้แล้ว อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า

สติวินัย
3.    อมูฬหวินัย  ระเบียบที่ให้แก่ผู้ที่หาย

เป็นบ้าแล้ว กรณีแรกที่ยกให้เมื่อครู่นี้ คือ บุคคลที่

เป็นบ้า ถ้าเพิจารณาได้ว่า เธอมีสติกลับคืนมาเป็น

ปกติแล้ว แล้วจะมาแกล้งบ้าไม่ได้ คือ ถ้าภิกษุเข้ามา

บวชในพุทธศาสนา ไม่ใช่มาบวชแล้วเป็นบ้า แต่ว่า

ก่อนบวชไม่เป็นบ้า แล้วมาบวชแล้ว สติวิปลาส

ฟั่นเฟือน ท่านก็ใช้วิธีสวดว่า บุคคลผู้นี้ เป็นผู้เปล่า

อาบัติ หรือ ปลอดอาบัติ จนกระทั่งเห็นว่า ภิกษุผู้นี้พ้น

จากความเป็นบ้าแล้ว ก็มีการประชุมสงฆ์ สวดว่า คือ

ประกาศว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้พ้นจากความเป็นผู้ปลอด

อาบัติแล้ว จะต้องได้รับอาบัติต่อๆ ไป อย่างนี้เรียกว่า

อมูฬหวินัย ก็พอจะเข้าใจได้
4.    ปฏิญญาติกรณะ แปลว่า ทำตามรับ คือ

ซักถาม เอาโจทย์ จำเลยมานั่งอยู่คู่กัน พระวินัยธรณ์

ธรรมธรณ์ รวมกัน ประชุมกัน แล้วก็ซักถามว่า เออ

เธอทำอย่างนี้ๆ มาจริงไม๊ เธอทำอย่างนี้ๆ มาจริงไม๊

ถ้าทำจริง ก็ปรับอาบัติตามที่เธอรับ อย่างนี้เป็นต้น
เพราะว่า ผู้สอบไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ไม่รู้ว่า ผู้โดน

สอบแต่ละคนนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร แต่เค้าก็เชื่อ คือ

ให้สัจจะ คือเชื่อกันว่า ผู้ที่มาให้ปากคำแต่ละผู้นั้น เป็น

ผู้มีศีลมีธรรมในระดับหนึ่ง มีหิริ ความละอายชั่ว มีโอ

ตัปปะ ความเกรงกลัวบาป ก็ใช้เป็นการสอบถาม

ตรวจทาน แล้วเธอรับอย่างไร ก็ให้ปรับอาบัติอย่างนั้น

เรียกว่า ปฏิญญาติกรณะ
5.    เยภุยเยสิกา  แปลว่า ตัดสินตามคำของ

คนมากเป็นประมาณ อันนี้ต้องเป็นเรื่องที่ลุกลามบาน

ปลายใหญ่โตละ แล้วก็ใช้แค่คน 2 คน หรือว่า คน 3

กลุ่ม คือ โจทย์ จำเลย แล้วก็พระวินัยธรณ์ ไม่ได้ ก็

ต้องประชุมสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล เพื่อขอมติ วินิจฉัยว่า

ฝ่ายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด เหตุผลของใครดีกว่าใคร

เรียกว่าใช้หลัก เยภุยเสิกา ใช้เสียงข้างมากเป็น

ประมาณ คล้ายๆ กับประชาธิปไตยไทยปัจจุบันนั่น

แหละ
6.    ตัสสปาปิยสิกา   แปลว่า กิริยาที่ลงโทษ

แก่ผู้มีความผิด คือ โทษ ถ้าเป็นผู้มีความผิดซ้ำซากอยู่

ตลอดเวลา ก็เพิ่มโทษเป็น 2 เท่า แต่ถ้าเพิ่งจะผิด

ครั้งแรก ก็อาจจะลงโทษสถานเบา เช่น ให้เธอไปทำ

กรรม เช่น นั่งกรรมฐาน 7 วัน สวดมนต์ 108 จบ

อะไรอย่างนี้ เค้าเรียกว่า ตัสสปาปิยสิกา
7.    ติณวัตถารกะวินัย แปลว่า ระเบียบอัน

กลบไปด้วยหญ้า ถ้ามันมีเรื่องจนกระทั่งทำให้สังฆ

มณฑลต้องแตกร้าวกัน คือ แยกกันเป็นนิกาย เป็น

กลุ่มเป็นก้อน ถ้าอย่างนั้น ก็ทำเฉยซะ เพราะว่า ถ้าขืน

ไปวุ่นวาย มันก็จะทำให้ ขืนไปสอบหาเหตุ เรียกว่า

ฟื้นฝอยหาตะเข็บ อะไรอย่างนี้ มันก็จะทำให้สังฆ

มณฑลแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ได้
อย่างนั้น ผู้ปกครองสูงสุดของสังฆมณฑล ก็ต้องสั่งลูก

น้องและบริวารว่า อย่างนั้นก็ให้เงียบๆ ให้ทุกอย่างมัน

สงบไปด้วยกาลเวลา เค้าเรียกว่า กาลเวลากลืนกิน

สรรพสิ่ง และกัดกินชีวิตสัตว์ อย่างนี้ ท่านเรียกว่า  

ติณวัตถารกะวินัย ก็คือ เพื่อความสงบเรียบร้อยของ

คณะสงฆ์ และการปกครอง ก็ทำเงียบๆ ซะ ถ้ามันจะ

เป็นเรื่องแตกร้าว
นั่นต้องหมายถึงว่า เป็นวิวาทะสำหรับคนกลุ่มใหญ่

เลยนะ ไม่ใช่ว่า ปล่อยให้มันเงียบๆ ไปเสพเมถุน ไป

พาสินค้าหนีภาษี ไปลักของเขา ฆ่าสัตว์ ประพฤติผิด

ในกาม อวดอุตริมนุสสธรรม แล้วก็ทำเงียบๆ เฉยๆ

เพราะเห็นว่า ท่านเป็นผู้มีบริษัทบริวารเยอะ อันนั้น

ไม่เกี่ยวนะ
เค้าไม่ใช้หลักการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับบุคคลภาย

นอกสังฆมณฑล มาเป็นเครื่องพินิจพิจารณาว่า ควร

จะให้ใช้หลักการ ติณวัตถารกะวินัยหรือไม่ แต่เค้าใช้

หลักการของเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เช่น ท่านผู้นี้เป็นเจ้าคณะ

เรียกว่า เป็นผู้มีบริษัทบริวาร มีภิกษุ ภิกษุณีมาก ก็คือ

เป็นผู้ที่อยู่ในสังฆมณฑล ครึ่งหนึ่งเป็นฝ่ายท่าน อีก

ครึ่งหนึ่งก็เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น ถ้าอย่างนี้ ก็

ใช้หลักติณวัตถารกะวินัย
แต่ไม่ใช่บอกว่า เป็นเกจิอาจารย์ แล้วมีลูกศิษย์ลูกหา

เยอะแยะมากมาย หรือว่าเป็นพระ หรือว่า เป็นนักบวช

แล้วมีลูกศิษย์ลูกหาเยอะแยะมากมาย แล้วถ้าจะไปเอา

ผิดกับท่าน กลัวว่า จะทำให้สงฆ์ สังฆมณฑลแตกกัน

อันนั้นไม่ใช่ ไม่เกี่ยว
คำว่า สงฆ์ สังฆมณฑล ต้องเข้าใจความหมายว่า นั่น

หมายถึง เจ้าหมู่ เจ้าคณะที่เป็นผู้มีลูกศิษย์ลูกหาเยอะๆ

ซึ่งเป็นฝ่ายพระ แล้วก็ถือหางข้างอาจารย์ตน อีกฝ่าย

หนึ่งก็ถือหางข้างอาจารย์ของตน  สองฝ่ายถ้าทะเลาะกัน

ผู้ปกครองคณะสงฆ์ ก็ต้องพิจารณาโดยเหตุผล
ถ้าพิจารณาแล้ว ชี้ถูกชี้ผิดแล้ว มันจะทำให้สงฆ์ต้อง

แตกแยก ถ้าอย่างนั้น ก็ทำเฉยๆ เสีย ไม่ได้เกี่ยวกับ

ฆราวาสวิสัยอะไร
ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวงเนี่ย เรียกว่า อธิกรณสมถะ 7

สำหรับระงับอธิกรณ์ 4 อย่าง หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น

ในสังฆมณฑล
ก็เล่าให้ท่านที่รักทั้งหลายได้รับรู้ว่า เรื่องที่มันเกิดขึ้น

ในสังฆมณฑล มันต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ บริหาร

จัดการ และชำระล้างให้มันจบสิ้น ด้วยกรรมวิธีทั้ง 7

ประการนี้
แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้ใช้กัน ใช้หลักกูเป็นประมาณ
อีกทั้ง เรื่องสัมมุขาวินัย ก็ใช้กันไม่ค่อยเป็น เพราะ

เหตุอะไร
เพราะ เราไม่ค่อยมีพระวินัยธรณ์ ที่เป็นมืออาชีพ
เราไม่ค่อยมีพระวินัยธรณ์ ที่เป็นมือปราบ
เราไม่ค่อยมีพระวินัยธรณ์ ผู้ซื่อตรง
เราไม่มีพระวินัยธรณ์ ผู้เอื้อเฟื้อพระธรรมวินัย
เราไม่ค่อยมีพระวินัยธรณ์ ผู้เจนจบพระวินัย ที่เป็นผู้

ที่รู้จริง แล้วก็ปฏิบัติได้จริง
เราก็จะมีพระวินัยธรณ์ หรือว่า ไม่มีเอาเสียเลย เอา

เป็นว่า ประมาณว่า มีพระวินัยธรณ์ที่ประมาณว่า พวก

ใคร แล้วก็จะตัดสินความให้กับพวกของตน ถูกต้อง
อันนี้มันมีอยู่จริงในสังฆมณฑล ถ้าท่านทั้งหลายได้

ศึกษาไ ด้สังเกต ได้เล่าเรียน ได้ทบทวน ได้ระลึกรู้ ก็

จะรู้ว่า สิ่งที่พูดนี้ มันเป็นจริงตลอด เพราะตลอดระยะ

เวลาของการบวชเข้ามาในพุทธศาสนา 30 จะ 36-

37 ปีแล้ว มันทำให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่มันเกิดขึ้น มัน

บิดเบี้ยว มันจำเป็นจะต้องได้รับการคุ้มครองรักษา

แล้วก็ปกป้อง ให้ดำรงไว้ซึ่งความซื่อตรง สุจริตและ

ยุติธรรม
สำหรับวันนี้ ก็เห็นจะพอสมควรแก่เวลา
ขอให้ทุกท่าน จงรุ่งเรือง เจริญ สุขภาพแข็งแรง และมี

จิตใจแจ่มใส อย่าปล่อยให้อะไรมาครอบงำใจให้เศร้า

หมองขุ่นมัว
เจริญธรรม