lp001

วันมหาสัมมาทิฐิ (วันเปิดโลกทั้ง 3) วัดอ้อน้อย โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ

(สำหรับผู้ที่จะเตรียมสอบกรรมฐานกับองค์หลวงปู่ โดยเฉพาะผู้ที่ขาดเรียนในขั้นที่ 10 ค่ะ หลวงปู่ให้ท่านที่พร้อมจะสอบๆ ได้ทุกวันอาทิตย์ที่ 1, 2 และ 4 ค่ะ)

เดินในจังหวะที่ 1 เอาจิตตั้งไว้ภายในกายตน ให้ย่างก้าวที่เต็มเปี่ยมไปด้วยการงาน คือ กรรมฐานในใจ ไม่ใช่ล่องลอย ผู้เฒ่าเดินไม่ไหวก็เจริญสติ อย่าล่องลอย

 

กรรมฐาน คืองานของจิต สิ่งสำคัญจิตต้องรู้ว่า กำลังทำอะไร เมื่อใดที่จิตไม่รู้ในงานที่ทำ แสดงว่าเราเคลื่อนจากกรรมฐาน ดันไปรู้เรื่องอื่น สัดส่ายวอกเวก ฟุ้งซ่าน

นั่นแสดงว่า จิตเรากำลังก้าวลงนรกแล้ว

 

ประคองจิตให้อยู่กับงานที่กำลังทำ จึงเรียกว่า จิตเจริญกรรมฐาน เมื่อใดที่มันไม่อยู่กะงานที่ทำ แสดงว่า กรรมฐานไม่เกิดกับจิด จิตเคลื่อนจากกรรมฐาน เมื่อจิตหลุดจากกรรมฐาน กรรมฐานไม่อยู่กับจิต มันก็จะมีอกุศล ราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แล้วสุดท้ายมันจะจบลงตรงคำว่า ทุกข์คติภพ นรกเป็นที่ไป ทุกย่างก้าวลงนรก

 

ต้องประคองจิตให้อยู่กับงานตลอด อย่าให้แว๊บออกไป เรียกว่าให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ลุ่มๆดอนๆ ขึ้นๆ ลงๆ

แม้จะเป็นงานยาก แต่ผลที่ได้รับมันจะผ่อนคลาย สบาย

ถ้าทนไม่ได้ ทำไม่ได้ ไม่เพียรพยายาม ความทุกข์เดือดร้อนและทุกข์ยากก็จะมากขึ้นพันทวี พวกญาติของเรากำลังเฝ้ารอด้วยความคิดว่า มันไม่ยากเกินไปกว่าที่ญาาติเค้าจะทำ

 

เดินในจังหวะที่ 2 ผ่อนคลายซักครู่ ใครที่ยังไม่พร้อม เตรียมช้ขั้นตอนนี้ในการเตรียมตัวเองให้พร้อม

 

เตรียมเดินในจังหวะที่ 1 จิตตั้งมั่นอยู่ในกาย จิตพร้อมที่จะปฏิบัติกรรมที่เรียกว่า กรรมฐาน   เริ่ม   ประคองจิตให้มั่นคง... ก้าวหนึ่งก็ต้องสวรรค์ ก้าวที่ 2 ก็ไปสวรรค์

 

เดินในจังหวะที่ 3 ใครไม่เคย ยกมือขึ้น รุ่นพี่เข้าไปแนะนำ บางที่เดินประจำ

จำเจ ซ้ำซาก จิตก็คุ้นเคย สันดานจิตั้สัดส่ายก็จะเกิดขึ้น ความเกียจคร้านที่มาจากความคุ้นเคย ความประมาท มันก็เลยทำให้ไม่จริงจัง ไม่อยากทำ หรือทำแบบขอไปที

ประคองจิตให้อยู่กับกรรมฐาน กับงานที่ทำ อย่าให้หลุดออกไปเลย

 

ปรุงจิตให้เชื่อ ให้ศรัทธา ให้รื่นเริงกับกรรมที่ทำ แล้วจิตมันจะจดจ่อ

เหมือนกับสิ่งที่เราชอบแล้วเราก็จะจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราชอบ จงเชื่อ ศรัทธาในกรรมฐาน

ที่ทำว่า มันสามารถนำพาเราและญาติของเราไปสู่สุขคติภพ โลกสวรรค์ได้ จะพาเราได้อย่างไร ก็ต่อเมื่อเค้าเห็นเรามีแต่รุ่งเรือง เจริญก็พลอยยินดี ร่วมอนุโมทนา เมื่อเราเชื่อเราศรัทธาอย่างนี้ จิตก็จะประคองอยู่กับงานอย่างมั่นคง ไม่เหลาะแหละ ไม่รวนเร ไม่เหลวไหล ไม่เลื่อนถลา ไม่ฟุ้งซ่าน ม่ระแวงสงสัย ทุกย่างก้าวทุกจังหวะที่เว้น เราจะรู้ชัดเจน ไม่ผิวเผิน เชื่อและศรัทธาในผลกรรมที่ทำดี ผลกรรมฐานที่รุ่งเรือง แล้วมันจะทำให้จิตนี้ละเมียดละมัย ผุดผ่อง จดจ่อ จับจ้อง จริงจัง แล้วก็ตั้งใจ

 

ขั้นนี้ (ขั้นที่ 3) เอาจิตไว้ที่ไหน จิตต้องอยู่ที่ฝ่าเท้าและท่อนขา ทุกครั้งที่ก้าวและเหยียบลงไป เราจะรู้สึกเหมือนแรงสะท้อน เหมือนกับเหยียบลงไปในปุยนุ่นหรือฟองน้ำ กล้ามเนื้อทุกส่วนตั้งแต่ฝ่าเท้าจนถึงน่อง จะรู้สึกได้ว่า มันยืดหยุ่นและมันสะท้อนพลังทั้งก้าวลง ทั้งเหยียบแล้วก็ยกขึ้น จะต้องเห็นชัดให้ได้อย่างนี้ จึงจะสำเร็จประโยชน์ของขั้นที่ 3 เพราะงั้น จิตต้องตั้งอยู่ที่ฝ่าเท้าและน่อง และกล้ามเนื้อขา ฝ่าเท้า น่อง กล้ามเนื้อขา ในขณะที่ก้าวเหยียบลงไป พลังมันจะสะท้อนเหมือนเราเหยียบที่ปุยนุ่นหรือฟูกแล้วมันเด็งกลับ เราจะรู้สึกอย่างนั้น ยืดหยุ่น ลองดูใหม่

 

เวลาเดินขั้นที่ 3 รู้สึกถึงแรงสะท้อนและการยืดหยุ่นของกล้ามเนื่อน่อง ฝ่าเท้า และหน้าขาไม๊ ไม่ค่อยรู้ ยังหนาอยู่ แสดงว่าจิตยังไม่ชำแรกเข้าไปในกาย

กายานุสติปัฏฐาน มันมีทั้งกายนอกและกายใน มีกายในกาย กับกายภายนอกการที่รู้ไปถึงอาการ การเป็นไปของกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด เรียกว่า รู้กายในกาย รู้ส่วนประกอบของสิ่งที่เป็นกายภายนอก ก็จัดเป็นมหาสติปัฏฐาน ในขณะที่จิตเรารู้ชัด อกุศลไม่เกิด

อวิชชาไม่เกิด ราคะไม่เกิด โทสะไม่เกิด ไมหะไม่เกิด โลภะไม่เกิด ตัณหาไม่เกิด แล้วสุดท้ายทุกคติภพก็ไม่เกิด เมื่อทุกคติภพไม่เกิด มันก็จะเกิดแต่สุขคติภพ เกิดแต่วิชชา

เกิดแต่กุศล เกิดแต่บุญ เกิดแต่บารมี เกิดแต่ส่วนที่เป็นคุณงามความดี เกิดแต่สติ สมาธิ แล้วก็ปัญญา ส่วนเป็นปัญญาระดับไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราชำแรกกายในกายเราได้ละเอียดแค่ไหน ละเอียดปานใด ก็คือ กล้ามเนื้อเมื่อฝ่าเท้ากระทบพื้น ถ่ายน้ำหนักลงไป แรงสะท้อนจากพื้นย้อนกลับมาสู่ฝ่าเท้า กล้ามเนื้อยืดหยุ่นสะท้อนให้เห็นชัดจนกระทั่งกล้ามเนื้อฝ่าเท้า กล้ามเนื่อน่อง เกิดอาการเคลื่อนไหวทะหมึงทึง ตึงเครียด เกร็ง แล้วก็เมื่อถ่ายน้ำหนักลดลง ยกเท้าขึ้น กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ต้องเห็นชัดอย่างนี้ เค้าเรียกว่า

ผู้มีปัญญารู้ชัด สำคัญก็คือ ต้องเอาจิตจับอยู่ในกายให้ชัดแจ้ง แต่ที่เดินกันอยู่นี่ มันจับบ้าง ไม่จับบ้าง ลุ่มๆ ดอนๆ ขึ้นๆ ลงๆ ไง มันก็เลยไม่ได้เสียที ถึงเวลาเดี๋ยวก็สอบไม่ได้ สอบไม่ผ่าน เรียกว่า ทำจิตลุ่มๆ ดอนๆ ไม่สม่ำเสมอ ไม่รักษาสมดุลย์ของจิต ถ้าจะรักษาสมดุลย์ ก็เป็นสมดุลย์ของผู้ไม่รู้อยู่เนืองๆ รักษาไว้จังเลย ความไม่รู้เนี่ย

 

ขั้นที่ 3 – ขั้นที่ 4

ขั้นที่ 4   จิตเอาไว้ที่ไหน จิตหนึ่งรู้ลม จิตหนึ่งรู้จังหวะ จิตหนึ่งรู้เท้าที่ก้าว ขั้นนี้มันเป็นขั้นที่พัฒนาขึ้นแล้ว เป็นขั้นที่ต้องใช้ความไวของจิต ละจิตต้องมีสติทุกขณะจิตทุกดวงต้องมีตัวรู้ทุกขณะ แล้วตัวรู้นั้นต้องชัดแจ้ง จิตหนึ่งรู้ลม จิตหนึ่งรู้จังหวะ จิตหนึ่งรู้ก้าว จิตหนึ่งรู้เว้นจังหวะ จิตหน่งรู้ก้าว จิตหนึ่งรู้ลม มันต้องสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันอย่างนี้เป็นวัฏจักร และจิตทุกดวงต้องไม่ว่างเว้น ถ้าเมื่อใดที่จิตว่างเว้น หรือแว๊บออกไป มันจะทำให้ทุกดวงเสีย จิตดวงอื่นๆ ก็จะเสียตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น ก้าวผิดจังหวะ มันก็จะทำให้ลมหายใจเสียไปด้วย เมื่อลมหายใจเสีย เว้นจังหวะก็จะผิดไปด้วย เมื่อเว้นจังหวะผิด ก้าวก็จะผิดไปอีก มันก็จะผิดกันต่อเนื่อง เพราะงั้นขั้นนี้ ถ้าผิด ต้องหยุดแล้วเริ่มใหม่ จิตหนึ่งรู้ลม จิตหนึ่งรู้จังหวะ จิตหนึ่งรู้ก้าว เมื่อเริ่มก้าว ก็ต้องเริ่มหายใจ หยุดก้าวก็คือหยุดหายใจ พร้อม เริ่ม

 

ขั้นที่ 4 ในขั้นนี้ ใหม่ๆ ไม่ต้องตามไปดูที่สุดแห่งลม เพราะไม่งั้นจะทำให้ก้าวไม่ทัน และเยิ้นเย้อสับสน แค่รู้ว่าลมกำลังเข้าอยู่ ก้าวซ้าย รู้ว่าลมกำลังออกอยู่ ก้าวขวารู้แค่นั้นพอ ถ้าตามไปดูที่สุดของลม เดี๋ยวจะเผลอจังหวะ เดี๋ยวจะพลาดจังหวะ พลาดจังหวะก็จะพลาดการก้าว พลาดการก้าวก็จะคร่อมลมหายใจ มันก็จะพากันรวนและผิดไปหมดทั้งกระบวนจิต ต้องใช้ปัญญาจัดสรรพฤติกรรมและกรรมฐานของตน เรียกขั้นนี้ว่า

ขั้น วิจายะสัมโพชฌงค์ วิจัย วิจารณ์ธรรมที่เหมาะสมสำหรับตน

ลมหายใจ จังหวะ และก้าว มันจะไหลเวียนสอดคล้องกลมกลืนผสมผสานจนจิตเกิดดับเห็นชัด จังหวะ ลมหายใจ เข้าออกเห็นชัด การก้าวเห็นชัด

 

ขั้นที่ 10 เดินขั้นที่ 1 จิตตั้งไว้ที่หน้าอก อย่าให้จิตวอกแวก จิตตั้งไว้ที่หน้าอก แล้วก้าวเดินตามจังหวะที่ 1

 

หยุด ฟังคำอธิบาย

จิตเราเหมือนลูกแก้ว ไม่ใช่มองดืทิศทางใดทิศทางหนึ่ง แต่มันมองแล้ว รู้ จำ คิด รับ

ได้รอบตัว การท่สอนให้ในขั้นที่ 10 จิตตั้งที่หน้าอก ไม่ใช่หมายถึงว่า เราจะไม่รู้จังหวะ ไม่รู้การก้าว มันเปรียบประดุจดั่งลูกแก้ว ลูกแก้วที่มันมองได้รอบตัว แต่ที่ให้ตั้งไว้ที่หน้าอก ส่วนหนึ่งเราต้องปฏิเสธความรับรู้ไม่ได้เลยก็คือ ความอุ่นที่หน้าอก ทุกครั้งที่จิตเราตั้งอยู่ตรงไหน ต้องรู้ให้ได้ว่า อะไรเกิดขึ้นในที่ตั้งแห่งจิต เพราะงั้นขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญในการที่จะทำให้ปราณเดินได้ทะลุทะลวงได้ทุกจุด แล้วเป็นขั้นตอนที่จะทพให้ปราณมีพลังอำนาจที่จะช่วยป้องกันรักษาภัยพิบัติและโรคร้ายได้ เพราะงั้นตั้งใจที่จะทำ จิตตั้งไว้ที่ หน้าอก หน้าอกต้องอุ่น ประคองจิตให้อยู่ที่หน้าอก ไม่ใช่ว่าเมื่ออยู่ที่หน้าอกแล้ว ไม่รู้จังหวะก้าว ไม่รู้ว่าก้าวอย่างไร ไม่รู้ว่าจังหวะไหนควรก้าว ก้าวแบบไหนก็ไม่ใช่ เพราะจิตส่วนใหญ่รวมอยู่ที่หน้าอก จิตส่วนน้อยก็จะไปรับรู้จังหวะ รู้การก้าว ถ้าเราเชื่อเรื่องจิตเกิดทุกขณะ ก็ต้องเชื่อว่า จิต 100 ดวง ตั้งอยู่ที่หน้าอก 99 ดวง

อีก 1 ดวง ไปรู้จังหวะ รู้การก้าว พร้อม

 

หลังปฏิบัติ   สังเกตไม๊ เวลาเราทำถึงขั้นที่ 10 แล้ว การเดินก้าวจังหวะจะง่ายขึ้น เบาขึ้น สังเกตไม๊ ได้เห็นอานุภาพของจิตไม๊ว่า จิตที่ตั้งไว้ดีแล้วในที่ต่างๆ ย่อมเกิดอานุภาพ เวลาจิตอยู่ที่ฝ่ามือ ฝ่ามือร้อนไม๊ อยู่ที่หน้าอก ร้อนไม๊ อยู่ที่ต้นคอด้านหลังล่ะ แต่ร้อนน้อยหน่อย ถามว่าทำไมถึงร้อนน้อยหน่อย เพราะความไม่คุ้นเคย

ขั้นที่ 10 เป็นเรื่องของการใช้จิตตานุภาพ เรียกว่า อานุภาพของจิตในการจิตในการที่จะขับปราณ ใช้ปราณ เป็นขั้นที่ต้องใช้ปราณ เราฝึกปราณมาถึง 8 ขั้น 9 ขั้น ในขั้นที่ 10 เป็นขั้นที่ต้องนำปราณมาใช้ เพราะงั้น 1-9 ต้องฝึกให้คล่องแคล้ว ต้องให้ช่ำชอง ต้องให้ชำนาญ ไม่งั้นจะทำขั้นที่ 10 ยาก วันนี้ตั้งใจจะเลิกซัก 4 โมง เห็นสรรพสัตว์น่าสงสาร เลยปาเข้าไปเสีย 4 โมงกว่า จะ 5 โมง

 

เมื่อกี้ ข้าวสารใคร กูไม่รู้ล่ะ วางอยู่ตรงนี้ ลูก เค้ายังไม่ได้ถวายกู คนอนาถาเค้าอุ้มลูกมาไหว้ เลยหยิบยกให้เค้า อนุโมทนาด้วย   สาธุ เดี๋ยวจะหาว่ากูไปหยิบขโมยของใครก็ไม่รู้ แบ่งบุญให้ลูกหลานก็แล้วกัน