วันนี้วันพระ เรามาศึกษาพระธรรมขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้แจ่มชัด แล้วเวลาบ่ายโมงตรง เราไปร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรต่อล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราชกันนะจ๊ะ
--------------------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
รูปฌาน ๔

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคือปฐมฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้เท่านั้น

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป แต่ยังมีมีปีติและสุขเกิดอันเกิดแต่สมาธิอยู่

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคือทุติยฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้เท่านั้น

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคือตติยฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้เท่านั้น

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสได้เสียแล้ว มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคือจตุตถฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้เท่านั้น

อรูปฌาน ๔

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)

โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญา (ความจำได้หมายรู้) โดยประการทั้งปวงอยู่

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในอัตภาพนี้เท่านั้น

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง

แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในอัตภาพนี้เท่านั้น

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง

แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในอัตภาพนี้เท่านั้น

ดูกรจุนทะ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง

แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

ภิกษุนั้นจะพึงคิดว่า นี่คือธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส

ดูกรจุนทะ เราไม่กล่าวว่า ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส

เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่อันสงบระงับในอัตภาพนี้เท่านั้น
--------------------------------------------

มาดูเล่ห์เพทุบาย (ทำเล่ห์กล, ทำอุบาย) หาเงินของลัทธิอลัชชีธรรมกาย

ยกเอาพระพุทธโอวาทที่ทรงประทานแก่พระจุนทะในเรื่องรูปฌานและอรูปฌานทั้ง ๘ มาให้ท่านทั้งหลายได้วิเคราะห์โดยละเอียดกันอีกที

ประเด็นอยู่ที่

องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืนยันชัดเจนว่า

รูปฌานทั้ง ๔ และอรูปฌานทั้ง ๔

เป็นธรรมเพียงแค่ทำให้สุขสงบตามอัตภาพเท่านั้น

ไม่สามารถขัดเกลากิเลสได้

ซึ่งจะแตกต่างจากคำสอนของลัทธิอลัชชีธรรมกาย

ที่สอนให้เพ่งลูกแก้ว จิตรวมศูนย์ เข้าสู่องค์ปฐมฌาน

อันมีอารมณ์ ๕ อย่าง ได้แก่ วิตก (ความตรึก) วิจารณ์ (ตรอง) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) และเอกัคคตารมณ์ (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)

นี่คืออารมณ์ของสมาธิในระดับต้น จัดเป็นแค่องค์ฌานที่ ๑ เท่านั้น

หรือแม้แต่จะเพ่งลูกแก้วจนจิตตกศูนย์ สูงสุดก็ได้แค่อรูปฌาน

มีอารมณ์สงบระงับเท่านั้น หาได้ขัดเกลากิเลสได้จริงไม่

ประเด็นต่อมา

เพราะลัทธิธรรมกายสอนได้แค่องค์ฌานหรืออารมณ์สมาธิ

ซึ่งมีสุข สงบ เป็นอารมณ์

บรรดาสาวกทั้งหลายเมื่อฝึกได้อารมณ์สุข สงบ ก็มโนเอาเองว่านี่คือการหลุดพ้น

ยิ่งเจ้าลัทธิผู้สอนพยายามพูดหลอกล่อชี้นำให้เชื่อว่านั่นคือสภาวะนิพพาน เป็นสภาวะหมดกิเลส สามารถเข้าถึงภพภูมิที่เจ้าลัทธิสร้างขึ้นมาเอง คืออายตนะนิพพาน

ยิ่งทำให้สาวกเคลิบเคลิ้ม หลงเชื่อ ตกเป็นทาสโดยไม่รู้ตัว

ธรรมดาของคนที่มีความทุกข์ เผชิญทุกข์มาชั่วชีวิต

พอมาเจออารมณ์ปีติ สุข สงบ จากผลของสมาธิ จึงหลงติด เสพติดในอารมณ์

เมื่อคิดว่าตนเองมีความสุขเห็นปานนี้ สมบัติใดๆ ในโลกนี้กูไม่ต้องการ อีกทั้งเจ้าลัทธิและบริวารก็สร้างเรื่องราว เชิญชวนให้บริจาค ให้ปิดบัญชีบริจาค

คนที่อารมณ์มีปีติสุข สงบอยู่ จึงยอมยกสมบัติ ทรัพย์สินเงินทองของตนให้จนหมดตัวโดยไม่รู้สึกเสียดาย

ด้วยเพราะความเชื่อและมุ่งหวังว่า การให้การบริจาค เป็นการต่อยอดความสุขสงบ จะได้มาซึ่งสุขสงบที่เพิ่มพูนมากขึ้น

ทั้งเจ้าลัทธิและบริวารก็พยายามโน้มน้าวชักชวนให้เคลิบเคลิ้ม หลงเชื่อในผลแห่งการให้ว่าสามารถจะได้ในสิ่งที่ปรารถนาอย่างแน่นอน

คนเราก็จะเชื่อในสิ่งที่ตนสัมผัสได้

ด้วยธรรมชาติแห่งความจริงข้อนี้

เจ้าลัทธิและบริวารจึงนำเอามาเป็นเครื่องมือดูดทรัพย์ได้อย่างมโหฬาร

รวมความว่าเจ้าลัทธิอลัชชีธรรมกาย ใช้สิ่งที่มีอยู่จริงในองค์ฌาน หรือผลของอารมณ์สมาธิแค่พื้นมาเป็นเครื่องมือครอบงำ แหกตา หากิน จากความเชื่อความศรัทธา ความปรารถนา ของผู้คนที่ไม่มีสติปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง จึงหลงผิดคิดว่าสิ่งที่ลัทธิธรรมกายสอนสามารถทำให้พวกเขาพ้นทุกข์ได้จริง

ช่างน่าสงสารยิ่งนัก

ไอ้คนที่หลอกลวงครอบงำ นำเอาพระธรรมคำสอนบางส่วนขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้ามาเป็นเครื่องมือหากิน

คนพวกนี้มันช่างใจไม้ไส้ระกำ โหด เลว ชั่ว ยิ่งนัก ที่ทำลายประโยชน์ทั้งภพนี้และภพหน้าของผู้คน

คนพวกนี้มันต้องได้รับผลกรรมอันหนัก ตกนรกหมกไหม้กันหลายกัปหลายกัลป์

แม้ยังไม่ตาย ก็มีชีวิตอยู่เหมือนตาย หาความสุขสงบไม่ได้

เพราะนำความสุขสงบมาหลอกชาวบ้านหากิน

ฝากบอกบรรดาสาวกลัทธิธรรมกายทั้งหลายว่า ยังไม่สายเกินไปหรอกที่จะถอนตัว เดินออกมาจากการครอบงำของอลัชชี

ไม่เช่นนั้นท่านจะต้องได้รับผลกรรมอันหนักดังเช่นเจ้าลัทธิอลัชชีกำลังได้รับอยู่

และหากต้องการขัดเกลากิเลส พ้นทุกข์อย่างแท้จริง ท่านต้องเจริญปัญญา

ศึกษา สั่งสม อบรม ปัญญาให้เจริญ

เหตุเพราะมีปัญญา จึงเห็นทุกข์

เพราะมีปัญญา จึงรู้เหตุเกิดทุกข์

เพราะมีปัญญา ถึงได้รู้ข้อปฏิบัติให้ทุกข์นั้นดับได้

ถ้าท่านทั้งหลายคิดว่าท่านยังเคารพศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ก็ต้องยอมรับต่อพระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุพระธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา

การปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างซื่อตรง จึงจะสามารถขัดเกลาอาสวะกิเลส นำพาให้พ้นทุกข์ได้จริง

พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ สูงสุดก็คือปัญญา

ไม่ใช่สัญญา คือความจำ และมโนเอาเองอย่างที่ปรากฏในอารมณ์สมาธิที่ท่านคุ้นเคยและทำอยู่

เขียนอธิบายมาเสียยืดยาว ไม่รู้ว่าจะเข้าใจไหม รู้เรื่องหรือเปล่า

แต่ฉันมีความจริงใจ มุ่งหวังว่าจะสามารถชี้ทางสว่างให้แก่ผู้มืดบอด พลั้งพลาดหลงไปกับมายาคติจากลัทธิธรรมกาย ได้บ้างไม่มากก็น้อย


พุทธะอิสระ

[ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต]

ที่มา: https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/10154164557738446:0