วันนี้เสนอคำว่า

ธมฺมํ จเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร ( ธัมมัง จะเร สุจริตัง นะ ตัง ทุจจะริตัง จะเร )

พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต

คำว่า ประพฤติธรรมนั้น หมายถึง ธรรมที่เป็นส่วนโลกียธรรมคือ ธรรมในวิถีโลก

และโลกุตรธรรม อันได้แก่ ธรรมที่ทำให้พ้นโลก (โลกแห่งวัฏฏะ)

คำว่า สุจริต หมายถึง การประพฤติชอบ ทั้งกาย วาจา ใจ ให้สอดคล้องตามธรรมนองคลองธรรม อย่างซื่อตรง

คำว่า โลกียธรรม หรือ ธรรมในวิถีโลก ได้แก่ ธรรมที่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ ธรรมที่เกี่ยวกับการครองตน ธรรมที่เกี่ยวกับการครองเรือน และธรรมที่เกี่ยวกับการครองแผ่นดิน เหล่านี้เรียกว่า โลกียธรรมหรือธรรมในวิถีโลกทั้งนั้น

ซึ่งหลักคิดในการประพฤติปฏิบัติธรรมตามวิถีโลกเหล่านี้ คือ ต้องปฏิบัติด้วยความถูกต้องชัดเจน ชอบด้วยธรรมอย่างซื่อตรง ทั้งทางกาย วาจา ใจ

ส่วนโลกุตรธรรมคือธรรมที่ยังผู้ปฏิบัติให้พันจากโลกแห่งวัฏสงสาร อันได้แก่ การเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย และการกลับมาเกิดอีก

ผู้ประพฤติปฏิบัติตามแนวแห่งโลกุตระด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อย่างซื่อตรง ถูกต้อง ชอบธรรมย่อมได้รับผลคือ การหลุดพ้นจากโลกแห่งวัฏสงสารในที่สุด

สรุปปัญหาที่มันเกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ ล้วนเกิดขึ้นมาจากเหตุแห่งการทำหน้าที่ไม่สุจริตทั้งนั้น

พุทธะอิสระ