จิต ๘๙ ดวง (ไม่ได้พิมพ์รวมไว้ในเล่ม)
วิถีจิต วิถีปัญญา
ชื่อเรื่อง จิต ๘๙ ดวง
แสดงธรรมวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดย หลวงปู่พุทธะอิสระ
สาระสังเขป
อธิบายวิถีจิต ๘๙ ทั้งฝ่ายกุศล อกุศล
เนื้อหา
(กราบ)
ต่อไป จะเป็นการสาธยาย วิถีจิต ๘๙ ดวง เพื่อให้ทำความเข้าใจอย่างแจ่มชัดตามสภาพธรรมที่ปรากฏกับจิตในความเป็นจริง
ในวิถีจิตทั้ง ๘๙ ดวงนี้ เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาโปรดพระพุทธมารดาในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา ณ. ดาวดึงสเทวโลก
วันนี้ พวกเราอัญเชิญพระอภิธรรมจิตทั้ง ๘๙ดวง มาสาธยาย เพื่อทำการฝึกหัด ดัดจิตของตนให้เป็นผู้ซื่อตรง ดำรงไว้ซึ่งสติปัญญา และความหมดจด สะอาด
เริ่มสาธยาย โดยองค์หลวงปู่นำ ตั้งแต่หน้า ๑-๙
..............
ต่อด้วย
หลวงปู่นำ แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล
สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนศึ่งกันและกันเลย
สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย จงมีแต่
ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจาก
ทุกข์ภัย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ
ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่คุณบิดาและมารดา คุณครูบาอาจารย์ ปู่ย่าตายาย ญาติสนิทมิตรสหาย และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย รวมทั้งท่านผู้มีพระคุณ ที่ได้ให้อาหารและปัจจัยสี่แก่ข้าพเจ้า
ขอท่านผู้มีคุณทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีความเจริญในธรรมของพระพุทธเจ้า คิดและหวังสิ่งใด ขอสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จงสมความปรารถนาทุกประการเทอญ
ข้าพเจ้า ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพญายมราช ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔, พระธรณี, พระคงคา, พระเพลิง, พระพาย, เจ้าที่-เจ้าทาง, เจ้าทุ่ง-เจ้าท่า-เจ้าถ้ำ, เจ้าป่า-เจ้าเขา, เปรต, อสุรกาย, ผีสางนางไม้, สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวัฏสงสาร และ ณ. สถานที่แห่งนี้ ขอจงมารับกุศลผลบุญอันนี้ อันพวกข้าพเจ้าทั้งหลายได้กระทำแล้วด้วยดี ในครั้งนี้ด้วยเทอญ
ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกๆ พระองค์ ขอจงทรงพระเกษมสำราญ ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ส่งผลให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งธรรมอันเลิศ สติอันเลิศ สมาธิอันเลิศ ทรัพย์อันเลิศ สุขภาพอันเลิศ อายุอันเลิศ ปัญญาอันประเสริฐ จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าในชาติปัจจุบันนี้เทอญ
คุกเข่า กราบพระ
อะระหัง สัมมา......
(กราบ)
มองไม่เห็นนาฬิกา ใครไปหานาฬิกามาวางไว้นี่อันหนึ่ง เวลากูสวดมนต์ แล้วตาข้างหลังของกูไม่มี มองไม่เห็นนาฬิกา ไม่รู้กี่โมงกี่ยาม หน้าพระไม่มีนาฬิกา
สาธยายวิถีจิต ๘๙ แล้วพอจะเข้าใจมั้ย
ไม่มีรู้เรื่องเลย อันนี้กูเข้าใจ มันเป็น เอกัตทัคคะของพวกมึง
ฮึ อธิบายไม่ถูกเลย
เปิดไปหน้า ๑, หน้า ๒, หน้า ๓ ไม่เกี่ยวกับบทสวดมนต์นะ จนถึงหน้า ๓
โลภะมูลจิต ๘
จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา คือความสบายใจ ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดไม่มี
การชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : ก็คือไม่มีอะไรมาจูงเราออกไป คือ ไม่มีตาเห็น ไม่มีหูฟัง ไม่มีจมูกได้ ไม่มีกายสัมผัส ไม่มีอะไรมาจูงเราออกไป เรียกว่า ไม่มีการชักนำ
จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา คือความสบายใจ ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : ก็คือ ชักนำ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แล้วก็ ทางใจ
ทีนี้ สิ่งที่สอนไป ก็คือ รับ- จำ- คิด- รู้
ถ้าเราทำ ๔ ตัวนี้ไม่แจ่มชัด อาการจิตทั้ง ๘๙ ดวงนี้ เราจะรับรู้มันไม่ได้
ที่จริง บางช่วงบางขณะ
เปิดไปดูโสภณจิต เรียกว่า กุศลจิต หรือว่า โสภณจิต (หน้า ๔ )
กุศลวิบากอเหตุกจิต ๘ คือ จิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตด้วยเหตุ
๑.จักษุวิญญาณจิต คือ จิตที่รู้อารมณ์ทางตาที่เห็น แล้วเกิดอุเบกขา คือ การวางเฉย
๒.โสตวิญญาณจิต คือ จิตที่รู้อารมณ์ทางหูที่ได้ยิน ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขา คือ การวางเฉย
หลวงปู่อธิบาย : เรื่องนี้ เราเคยฝึกมามั้ย (เคย) เคยมั้ย (เคย)
ก็ถึงได้บอกไงว่า กูถามมึง มึงเข้าใจมั้ย มึงมึนไง มึงมึน เพราะเหตุผลว่า มึงมันโง่น่ะ ง่ายๆ
๓. ฆานวิญญาณจิต คือ จิตที่รู้อารมณ์ทางจมูกที่ได้กลิ่น ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา คือการวางเฉย
๔. ชิวหาวิญญาณจิต คือ จิตที่รู้อารมณ์ทางลิ้นที่รู้รส ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา คือการวางเฉย
หลวงปู่ : สรุปแล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, เราเห็นแล้ว ก็สักแต่ว่าเห็น, เคยสอนใช่มั้ย (ใช่) แล้วก็วางเฉย ใช่มั้ย (ใช่) เรียกว่า อุเบกขารมณ์ใช่มั้ย (ใช่) อืม
ทีนี้ มาดูข้อที่ ๗
๗. สันตีรณจิต คือ จิตที่พิจารณา ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา คือความสบายใจ
๘. สันตีรณจิต คือ จิตที่พิจารณา ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา คือการวางเฉย
หลวงปู่อธิบาย : เราเคยใช้จิตพิจารณา แล้วเบาสบายมั้ย (เคย) ที่เรียกว่า ลหุตา
เปิดต่อไป
มาดู อเหตุกกิริยาจิต ๓ ( Sheet ๑ หน้า ๕)
อเหตุกจิต ๓ คือ จิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตด้วยเหตุ
หลวงปู่อธิบาย : คำว่า สัมปยุต คือ ประกอบด้วยเหตุ ประกอบ หรือ มีองค์ประกอบใดๆปรากฏ, คือไม่มี
๑. ปัญจทวาราวัชชนจิต คือ จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง ๕
หลวงปู่อธิบาย : ทวารทั้ง ๕ คือ ตา- หู- จมูก- ลิ้น แล้วก็ กาย, ไม่เกี่ยวกับใจนะ เรียกว่า ทวารทั้ง ๕ แล้วเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา คือ การวางเฉย
เราเคยทำมั้ย (เคย) ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส แล้ว วางเฉย เคยสอนใช่มั้ย (เคย) เคยทำมั้ย (เคย) เขาเรียกว่า อเหตุกกิริยาจิต ๓
๒. มโนทวาราวัชชนจิต คือ จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา คือการวางเฉย
หลวงปู่อธิบาย : อารมณ์ที่ปรากฏกับใจ เราเคยทำมั้ย (เคย) แล้ว วางเฉย เคยมั้ย (เคย)
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สอนไปแล้วใช่มั้ย (ใช่) สิ่งที่เกิดกับใจแล้วพิจารณา ยัง ต่อไป..อันนี้เป็นอเหตุกจิต เดี๋ยวไปดูกิริยาจิต เขาให้พิจารณา รวมแล้วสอนมาแล้วทั้งนั้น
๓. หสิตุปปาทจิต คือ จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์ ก็คือ พระอรหันต์ยิ้มได้ รวมเรียกว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวง คือ จิตที่ไม่มีสัมปยุตตด้วยเหตุ
หลวงปู่อธิบาย : คือ ไม่ประกอบไปด้วย สำคัญตรงนี้
ในขณะที่เราพิจารณานั้น ให้เราดูว่า เรา มีโลภะมั้ย มีโทสะมั้ย มีโมหะมั้ย หรือไม่มี, เป็นอโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็พิจารณาสภาวะที่ปรากฏกับจิต ว่าอารมณ์โลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่หรือไม่ในขณะนั้น
ทีนี้มาดู มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๘ ( Sheet ๑หน้า ๕ )
มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๘ คือ จิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปใน
กามภูมิ มีสัมปยุตตด้วยเหตุ
หลวงปู่อธิบาย : กามภูมิ ก็คือ มนุษย์ สวรรค์ พรหม เหล่านี้เขาเรียก กามภูมิ หรือ กามภพ
๑.จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือความสบายใจ ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : โสมนัส คือ ความสบายใจ แล้วมีปัญญา
เราเคยลุถึงจิตขั้นนี้มั้ย สบายใจแล้วมีปัญญา เคยมั้ย ..เอาให้ชัด เอาให้ชัด... สบายใจแล้วมีปัญญาน่ะ เคยมั้ย (เคย)
ที่มึงมาฝึกกับเขาตั้งหลายวัน นี่มึงไม่มีความสบายใจอะไรกับเขาบ้างเลยเหรอ มึงโง่เป็นควายเลยเหรอ หา..มึงไม่สบายใจอะไรกับเขาเลย มึงโง่เป็นควายเลยเหรอ มึงไม่รู้เรื่องอะไรเลยเหรอ
มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต รับ -จำ -คิด -รู้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เราสบายใจแล้วมีปัญญามั้ย (มี)
๒. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ประกอบไปด้วยปัญญา มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : คำว่า มีการชักนำ คือ มีเรื่องให้คิด มีเรื่องให้วิเคราะห์ เช่น อารมณ์สุขเกิดขึ้น วิเคราะห์ในอารมณ์สุขว่า มันสุข แล้วมีเหตุปัจจัยแห่งความสุข อย่างนี้ เรียกว่า มีการชักนำ ใช่มั้ย (ใช่)
ฝึกมาแล้วใช่มั้ย (ใช่)
สรุปแล้ว มึงนี่ ถึงขั้นมหากุศลจิตแล้วนะ อีควาย
ที่กูสอน ๆ ไปเนี่ย มึงถึงขั้นมหากุศลจิตแล้ว
นี่มันเป็นอาการของจิตที่พระพุทธเจ้าทรงเรียบเรียงให้เห็น แต่มันเป็นขณะหนึ่ง ๆ เท่านั้น
ทำยังไงจะให้มันดำรงอยู่ได้
ต่อไป
๓. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา แล้วก็ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : คือ เฉย ๆ ไม่หือไม่อือ ที่หลวงปู่บอกว่า เสพอารมณ์นั่นแหละ สบายใจ เสพอารมณ์ ใช่มั้ย สอนไปมั้ย (สอน) แล้วก็ไม่มีการคิดอะไรเลย กูเสพของกูอย่างนั้น นั่งนิ่งของกูแบบนั้น นั่นก็จัดว่า เป็นมหากุศลจิตอย่างหนึ่ง แต่มันไม่พัฒนาไง มันยังไม่ก้าวหน้าไง ต้องให้ขยับต่อไป
๔. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : คำว่า ไม่ประกอบไปด้วยปัญญา คือ ไม่คิด แต่มีความสบายใจ แต่ในขณะเดียวกัน มีการชักนำ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พอมันไม่มีปัญญา เราพร้อมที่จะตกเป็นทาสของมันตลอด เมื่อมันไม่มีปัญญาวิเคราะห์ ตาเห็นรูปสวย เราสบายใจแล้ว “เอาวะ รูปสวยมาจากไหน” ตามมันไป ตกเป็นทาสของรูปสวย เรียกว่า มีการชักนำ เพราะไม่มีปัญญา
๕. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา คือ ความวางเฉย ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : คือ ตาเห็นรูปเหมือนกัน แล้วพิจารณาในรูป แล้วเห็นความเกิดดับของรูป อย่างนี้ก็ถือว่า เป็นมหากุศลจิตที่จะพัฒนาเข้าไปสู่โสภณจิตต่อไป
มหากกุศลนี่ จิตเดียวเดี่ยวๆ ยังไม่ถือว่า รวมเรียกเป็นโสภณจิตได้ จนกว่ามันจะถึงที่สุดแห่งการพิจารณาในวิปัสสนา หรือ ปัญญา
ดูต่อไป ยังฟังแล้วงง กูรู้ มึงงง
๖. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา คือ ความวางเฉย ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
๗. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา คือ ความวางเฉย ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : คือไม่มีอะไรมาล่อเราให้ออกไป
๘. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา คือ ความวางเฉย ไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : อันนี้ จิตดวงนี้อันตราย น่าห่วง จากจิตมหากุศล อาจจะตกลงไปเป็นอกุศลก็ได้ เพราะมันมีการชักนำแล้วไม่มีปัญญาด้วย นั่งเสพอารมณ์อยู่เฉย ๆ
มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 คือ จิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตด้วยเหตุ
หลวงปู่อธิบาย : จิตอันนี้จะส่งผลไปให้เกิดในภพภูมิของกามาวจร
๑. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ประกอบไปด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่ : คือสบายใจและมีปัญญา แล้วก็ไม่มีอะไรมาชักนำแล้ว กูก็เสพอารมณ์ความสบายใจ ความมีปัญญาอยู่อย่างนั้น
๒. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ประกอบไปด้วยปัญญา มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : ชักนำไปในทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับปัญญานั้น จะวิเคราะห์ วิจารณ์ พินิจพิจารณา
๓. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา และไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : อันนี้คือ จิตที่เสพอารมณ์อยู่เฉย ๆ อย่างนั้น
๔. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา แต่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : อันนี้น่ากลัว เพราะว่า เมื่อไม่มีปัญญา แล้วถูกชักนำ และเสพอารมณ์ อาจจะไปเสพอารมณ์กามโลกีย์ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสได้
๕. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา คือ ความวางเฉย ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
๖. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : สรุปรวมแล้ว มหากุศลจิตนี้ มหาวิปากจิตทั้ง 8 ดวงนี้ เป็นสิ่งที่มันสลับกันเกิดก็ได้มีปัญญา - เดี๋ยวไม่มีปัญญา แต่สิ่งที่จะเห็น ก็คือ การวางเฉย ประกอบไปด้วยอุเบกขาบ้าง ด้วยโสมนัส คือ ความสบายใจบ้าง แล้วก็วางเฉย
เราจะเห็นว่า สภาพจิต พอมันได้เสพอารมณ์ใดที่มันเหมาะสมของมันแล้ว มันจะไม่ขยับเขยื้อน มันจะนิ่งของมันอยู่อย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ความนิ่งอย่างนั้น ไม่ใช่เป็นผลดีกับวิปัสสนา
ต้องทำให้ไม่นิ่ง โดยการพิจารณาในทุกสภาวะ มันจึงจะพัฒนาเข้าไปสู่โลกุตตระจิตได้
คำว่า วางเฉยก็ดี, คำว่า สุขเวทนาก็ดี, โสมนัสเวทนาก็ดี, หรือทุกขเวทนาก็ดีไม่เป็นที่หมายปองของโลกุตตระจิต
ถ้าเราเปิดไป จะเห็นว่า ในโลกุตตระจิต ไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
เอ้า ลองเปิดดูสิ โลกุตตรจิต มีมั้ย โลกุตตระจิต ๔ ( Sheet ๑ หน้า ๘ )
โลกุตตรกุศลจิต ๔ คือ กุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก
๑. จิตที่ประกอบด้วย โสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ
๒. จิตที่ประกอบด้วย สกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
หลวงปู่อธิบาย : จะเห็นว่า ไม่มีอารมณ์เลย ใช่มั้ย ไม่มีสุขเลย ใช่มั้ย, ไม่มีทุกข์เลย ใช่มั้ย, ไม่มีเวทนาเลย ใช่มั้ย, ไม่มีโสมนัสเลย ใช่มั้ย
เพราะฉะนั้น จึงบอกว่า อย่าไปเสพมันไง ถ้าอยากจะไปถึงโลกุตตรจิตในระดับนี้ ต้องไม่เสพอารมณ์ใด ๆ เลย
ตามไปดู โลกุตตรวิบากจิต ๔ คือ ผลล่ะ, วิบาก นี่คือ ผล, คือ วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ หรือ จิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล (Sheet ๑ หน้า ๙)
๑.จิตที่ประกอบด้วย โสตาปัตติผลญาณ
หลวงปู่อธิบาย : ไม่มีอารมณ์ใดปรากฏเลย ข้ามพ้นอารมณ์ทั้งปวงแล้วทั้งนั้น
พอจะเริ่มเข้าใจมั้ย
เริ่มแล้ว ใช่มั้ย
มึงเริ่ม กูก็เลิกแล้ว เพราะนี่มัน ๑๑ โมงแล้ว
ทีนี้ วิธีฝึก เรารู้เรื่อง รับ-จำ-คิด-รู้ แล้ว แล้วก็ทำ จิต จนข้ามพ้นจากโลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต แล้วใช่มั้ย ข้ามมาแล้ว ใช่มั้ย (ใช่)
ข้ามมาแล้ว ก็ยังไม่รู้ เพราะยังโง่อยู่
ก็ต้องย้อนกลับไปใหม่ กลับไปใหม่ ทำอย่างไร
เปิดดู อกุศลจิต ๑๒ก็คือ หน้า ๓
เริ่ม โลภะมูลจิต
ดูว่า จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ
หลวงปู่อธิบาย : คำว่า มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดนะ เห็นผิด แล้วสบายใจ
เช่น สมเด็จ... ได้รถหรูมาแล้วนั่งดูมาตลอด ๔ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ จนถึง ๒๕๕๖ พุทธะอิสระไปฟ้องกับดีเอสไป ....เป็นคนรับเรื่องจนถึงวันนี้ สมเด็จ... ที่ผ่านมา ๕-๖ ปีที่สมเด็จ...นั่งดูแล้วสบายใจมั้ย (สบายใจ)
สบายใจ มิจฉาทิฏฐิไง ดูรถหรูแล้วสบายใจ แล้วผลออกมายังไง (ผิด)
กูไม่ได้ถามว่า ผิดหรือถูก, ถามเรื่องจิต มึงจะแถไปไหน
สมเด็จช่วง เป็นแค่ตัวละครมาประกอบให้เห็น ยกประโยชน์ให้รู้ว่า การรักษาระวังจิตที่มีมิจฉาทิฏฐิมัน
จะเป็นผลให้เสียหายอย่างนี้ แม้มันมีความสุข แต่ก็เป็นสุขที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
พระพุทธเจ้าจึงเรียกว่า อกุศลจิต ไง คือ จิตที่เป็นอกุศลโดยมีอะไรเป็นมูล.. โลภะมูลจิต ใช่มั้ย (ใช่)ได้รถหรูมา อยากมั้ย (อยาก) สะสมเอาไว้ เก็บครอบงำเอาไว้ โลภมั้ย (โลภ) เอ้อ โลภ อยาก เป็นโลภะมั้ย (เป็น) เป็นมิจฉาทิฏฐิแม้มีความสุข
เหมือนกับคนไปปล้นเงินเขา แย่งเงินเขามา ได้เงินมา มีความสุข เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภ ถือว่า เป็นโลภมูลจิต
เอ้า ดูเรา ทีนี้ ดูโลภมูลจิตแล้ว ทีตอนนี้ มาดูที่เรา เรามีมั้ย
มีมั้ย (มี) เวลานี้มีอยู่ในตัวมั้ย อยู่ในใจมั้ย
เดี๋ยวกูเดินออกไป กูจะดูว่า มึงจะให้กูเท่าไหร่ หรือ ยี่สิบ
มีโลภมูลจิตมั้ย เวลานี้ ดูจิตสิ
คำว่า โลภะมูลจิต ไม่ใช่ดูสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ดูเงินที่อยู่ในกระเป๋า ไม่ใช่ดูสมบัติที่พกเอาไว้ สะสมเอาไว้ แต่ดู จิตที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ มีมั้ย
มีโลภะมูลจิต มีความสบายใจกับความโลภที่ตัวเองมีมั้ย พูดง่ายๆ (ไม่มี) ไม่มีใช่มั้ย เอ้า ไม่มี ก็ขีด
แต่อย่าไปขีดในนี้ กว่ากูจะได้แผ่นนี้มา กูนั่งทั้งวันทั้งคืนกว่าจะเขียนมาได้
เวลาจะฝึก ก็ใช้วิธีทำตารางมา แล้วเขียนว่า โลภมูลจิต เรามีมั้ย
๑.จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา คือ ความสบายใจในมิจฉาทิฏฐิโดยไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : คือ สบายใจแล้วไม่มีการชักชวน ยังไง ก็คือ ตาไม่เห็น หูไม่ฟัง จมูกไม่ได้ ลิ้นไม่รับ กายไม่สัมผัส แต่กูได้มาแล้วนี่ กูนั่งมองรถหรูกู ไม่มีใครมาชวนกูต่อไปแล้ว ไม่อยากอีกแล้วไง ไม่โลภมากกว่านั้นอีกแล้ว เพราะกูได้สิ่งที่กูพึงพอใจมาตั้งวางอยู่ตรงหน้าแล้ว วันทั้งวัน กูก็นั่งดูแล้วกูสบายใจ เป็นมิจฉาทิฏฐิมั้ย (เป็น), เป็นโสมนัสมั้ย (เป็น) เป็นโสมนัสเวทนา
เห็นผิดมั้ย (เห็นผิด) ไม่มีอะไรมาชวนต่อไปแล้ว
ถ้าแกยังไม่หยุด แกยังไปหาคันที่3 ที่4 ที่5 มาเพิ่มเติมขึ้นอีกเรื่อย ๆ อย่างนี้ชักชวนมั้ย (ชักชวน)
ความโลภ มันเข้ามาทางใจ ทางหู ทางตา ทางจมูก โอ..ไอ้นั่นก็สวย ไอ้นี้ก็รวย ไอ้นั่นก็หล่อ อย่างนี้ชวนมั้ย (ชวน) รสอร่อย กลิ่นหอม สัมผัสดี นุ่ม ชวนมั้ย (ชวน)
ถ้าเฉยๆ เรียกว่า อุเบกขา เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีโลภะอยู่ ก็คือ เสพอารมณ์ภายในของตนเหมือนกับไฟสุมขอน เหมือนกับสนิมขุมที่เกิดกับท่อนเหล็ก ไม่โฉ่งฉ่าง ไม่โวยวาย กินจนกระทั่งไส้ในกลวงไปอย่างนั้น เหมือนอย่างกรณีสมเด็จช่วง นี่แหละ เข้าเป๊ะ พอดีเลย
อันนี้กูไม่ได้แต่งขึ้นเองนะ เพราะมันเข้า ไง
เอ้า ดูต่อไป
๒. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : ตอนนี้เราอยากอะไรหรือเปล่าล่ะ คำว่า ชักนำ มันหมายถึง อยากทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยากมั้ย
ชา เมื่อเช้าดื่มหรือยัง (ดื่มแล้ว) ดื่มแล้ว เอาอีกสักแก้วมั้ย (ไม่) ไม่แล้วนะ เอ้อ ไม่ ก็ไม่มีการชักนำ
๓. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด ไม่มีการชักนำ
๔. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา คือ ความสบายใจ ไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : ทั้ง ๘ ดวง. ๘ เรื่อง, ๘ ข้อนี้ เอามาเทียบกับจิตตัวเองในขณะนี้ เรียกว่า สำรอกจิต
สำรอกแล้ว, ๘ ดวงไม่เข้า, ไม่มีโลภะ, จิตนี้ กูไม่มีโลภะ
ขยับไป โทสมูลจิต ล่ะ มีมั้ย (Sheet ๑ หน้า ๓)
หลวงปู่อธิบาย : เราเคยหงุดหงิดบ่อย ๆ มั้ย เอ๊อ หงุดหงิดบ่อย ๆ ทุกวันนี้ ปัจจุบัน ยังหงุดหงิดอยู่มั้ย คือจิตที่มีโทสะเป็นมูล หรือเรียกว่า ปฏิฆสัมปยุตตจิต ( สัมปยุต คือ ประกอบ, ปฏิฆะ คือ หงุดหงิด) ปฏิฆสัมปยุตตจิต คือ จิตที่หงุดหงิด, ความหงุดหงิดประกอบในจิต, จิตที่มีโทสะเป็นมูลก็ได้
๑. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โทมนัสสเวทนา คือความเสียใจ, ความทุกข์ใจ ประกอบด้วย ปฏิฆะ คือ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ) ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : นั่งอยู่เฉยๆ ไม่มีใครมายุ่งอะไรกับเราเลย แต่อารมณ์มันบ่จอยอ่ะใช่มั้ย มีมั้ย มีบ่อยมั้ย (มี) เออ..ระวังจะโดนหลังแหวน คนใกล้ๆ จะหมั่นไส้เอา เข้าใจมั้ย เอ้อ สำรวจดู
ถ้าใช่ จับมันยัดใส่อะไร ใส่กระดาษ
เวลาจะฝึกก็ต้อง วันนี้เราจะฝึกอะไร- ฝึกโลภมูลจิต, วันนี้เราจะฝึกโทสมูลจิต
เอามา แล้วก็เทียบดูกับจิต
นี่คือ แผนผัง แผนที่ สำหรับเปรียบดูว่า จิตเราเป็นโรคเหล่านี้มั้ย - โลภะ โทสะ โมหะ
โมหะล่ะ มาดู โมหมูลจิต คือ จิตมีโมหะเป็นมูล
๑. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา
หลวงปู่ : พวกโมหะ คือ ความหลง เราจะเห็นว่า โทสะ นี่ไม่มีอุเบกขา ใช่มั้ย ใช่มั้ย
ใน โทสะมูลจิต ๒ นี่มีอุเบกขามั้ย ไม่มี ใช่มั้ย
เอ้า ดูสิ โทสะมูลจิต ๒ หรือที่เรียกว่า ปฏิฆะ
๑. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัส คือ ความเสียใจ ความทุกข์ใจ ประกอบด้วยปฏิฆะ คือ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ ไม่มีการชักนำ
หลวงปู่อธิบาย : มีการวางเฉยมั้ย (ไม่มี) ไม่มี, โทสะ จะไม่เฉย, พวกมากไปด้วยโทสะ จะไม่เฉย
๒. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา คือ ความเสียใจ ความทุกข์ใจ ประกอบด้วยปฏิฆะ คือ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ มีการชักนำ
หลวงปู่ : รวมแล้ว มีคำว่า วางเฉย อุเบกขามั้ย (ไม่มี)
แต่ทีนี้ มาดู โมหะล่ะ
โมหมูลจิต คือ จิตที่มี โมหะเป็นมูล
๑.จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยอุเบกขาเลย วางเฉยเลย
หลวงปู่ อธิบาย : งั้น พวกโมหะ นี่ขี้เกียจ คือพวกหลง แล้วมันจะ กิน ซึม เหมือนกับไฟสุมขอน อยู่อย่างนั้นล่ะ หลงหน้ามืด ตามัว หูหนวก ตาบอด ใครว่าไง กูไม่สนใจ กูพอใจของกูอย่างนี้ แล้วกูก็จะยึดถือของกูอย่างนี้เป็นเกณฑ์
นี่คือ สันดานของพวกโมหะจริตไง พวกโมหะจริต จะเป็นอะไรที่สอนยากมาก
จริตทั้ง ๖ มีโมหะจริต จริตเดียวที่พระพุทธเจ้าออกพระโอษฐ์ว่า สอนยากที่สุด เป็นบุคคลที่ว่ายากสอนยาก ตัวอย่างเช่น ใคร.. ใครในเวลานี้
เฮีย...ไง เฮียสารไง ใช่มั้ย เฮีย... อะไรนั่นน่ะ
เพราะขนาด ดีเอสไอ มาบอกว่า ผิด, เฮีย....บอก ยังไม่เชื่อ อย่างนี้เป็นต้น หลงมั้ย (หลง)
แล้วก็บอกว่า หลวงพ่อบริสุทธิ์ หลวงพ่อเป็นผู้ทรงศีลจารวัตรงดงาม อย่างนี้หลงมั้ย (หลง)
เอ๊อ มีโมหจริต พวกที่มีโมหจริต ว่ายากสอนยาก
๑.จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขา คือ ความวางเฉย ประกอบด้วย วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ตลอด
หลวงปู่อธิบาย : ลังเล ไม่แน่ใจ ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ชักเข้า -ชักออก ยึกยัก จะไปก็ไม่ไป จะมาก็ไม่มา เดี๋ยวจะนัดชุมนุมอีก ๗ วัน นี่ผ่านมา ๗ วันแล้วจะออกมา โบ๊งๆๆๆ จะออกแหล่ไม่ออกแหล่ ไปดีมั้ยวะ
คุก พอเจอคำว่า คุก คุก คุก ถอยหลังไปหน่อย
พอเขาเงียบ โผล่หน้ามาอีกแล้ว จะออกอีกแล้ว ไอ้อย่างนี้ เข้าเลยมั้ย (เข้า) เอ๊อ เนี่ย สันดานโมหะ
พอเจอหน้า นี่ไม่ต้องเรียก เจ้าคุณเมธีนะ เรียกไอ้ตัวโมหะ เอ๊อ ชัดเลย เข้า
๒. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา
หลวงปู่อธิบาย : เห็นมั้ย อุเบกขาอีกแล้ว วางเฉย ประกอบด้วย อุทธัจจะ คือ ความฟุ้ง
หลวงปู่อธิบาย : วันทั้งวัน มันไม่ได้คิดเรื่องอะไร เอาสังฆราชกูมา ๆ อยู่อย่างนั้นแหละ สังฆราชมันเป็นปาราชิก แล้วมันก็ยังทวงอยู่นั่นแหละ ฟุ้งมั้ย (ฟุ้ง) ไม่มีที่มาที่ไป
ว่าแล้ว เขาตีระฆังให้เลิก จบแค่นี้ พอ กูรวมเป็นอกุศลจิต ๑๒ เข้าใจมั้ย
นี่แหละ เป็นวิถีจิตที่เราต้องศึกษา เดี๋ยวภาคบ่าย เราลงมาเรียนกันด้วยวิธีปฏิบัติ
เดี๋ยวตอนบ่าย ใครไปทำ Sheet มาใหม่ เอา โลภะ โทสะ โมหะ ตั้งไว้เลย
แล้วก็ โลภะ ข้อไหน เขียนไป ..โทสะ โมหะ ข้อไหน
เสร็จแล้ว เดี๋ยวภาคบ่าย เราจะมาสำรอกจิต ว่า ขณะนี้ จิตเรา มีโลภะข้อไหน มีโทสะข้อไหน มีโมหะข้อไหน
สำรอก จนกระทั่งมันใสปิ๊งแหละ เอาให้ใสปิ๊ง เข้าใจมั้ย เอ้อ ใครไปเขียนมา
เดี๋ยว บ่ายสองโมง เจอกัน เพราะพระเขาจะลงด้วยมั๊ง
เอ้า พอ กราบลาพระ
อะระหัง สัมมา... (กราบ)
แหล่งข้อมูล
เอกสารประกอบการเรียนวิถีจิตเรื่องจิต ๘๙ ดวง แสดงธรรมวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙
หลวงปู่พุทธะอิสระ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ วิถีจิตวันที่ ๑ เช้าตอน ๑, สืบค้นวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๘ จาก
https://www.youtube.com/watch?v=OkVoqooRi2c