วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ต.ห้วยขวาง อ. กำแพงเสน จ.นครปฐม

เอกสารประกอบการเรียนวิถีจิตเรื่องจิต 89 ดวง (ไม่ได้พิมพ์รวมไว้ในเล่ม)

วิถีจิต วิถีปัญญา

เรื่อง 

เอกสารประกอบการเรียนวิถีจิตเรื่องจิต 89 ดวง แสดงธรรมวันที่ 23 กรกฎาคม 2559

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นพระอรหันต์

ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง สวากขาโต เยนะ ภะคะวาตา ธัมโม พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดตรัสไว้ดีแล้ว สุปะฎิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดปฏิบัติดีแล้ว ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง, อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ, ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์

ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้ อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น

ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา, ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย อันเป็นชนรุ่นหลัง อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฎิคคัณหาตุ, ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการ ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ, เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

• อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ, ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ) • สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว ธัมมัง นะมัสสามิ, ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ) • สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว สังฆัง นะมามิ, ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแต่พระสงฆ์ (กราบ)

(ผู้นำ) (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะ การัง กะโรมะ เสฯ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น อะระหะโต ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

(ว่า 3 ครั้ง)

วิถีจิต ๘๙ ดวง ที่ต้องทำความเข้าใจให้แจ่มชัด

ก. โดยชาติประเภท 1. อกุศลจิต 12 - โลภมูลจิต 8 - โทสมูลจิต 2 - โมหมูลจิต 2 2. กุศลจิต 21

- มหากุศลจิต 8 - รูปาวจรกุศลจิต 5 - อรูปาวจรกุศลจิต 4 - โลกุตตรกุศลจิต 4 3. วิปากจิต 36 - อกุศลวิบากจิต 7 - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 - มหาวิบากจิต 8 - รูปาวจรวิบากจิต 5 - อรูปาวจรวิบากจิต 4 - โลกุตตรวิบากจิต 4 4. กิริยาจิต 20 - อเหตุกกิริยาจิต 3 - มหากิริยาจิต 8 - รูปาวจรกิริยาจิต 5 - อรูปาวจรกิริยาจิต 4

รวมเป็นจิต ๘๙ ดวง

ข. โดยภูมิประเภท 1. กามาวจรจิต 54 1) อกุศลจิต 12 - โลภมูลจิต 8 - โทสมูลจิต 2 - โมหมูลจิต 2 2) อเหตุกจิต 18 - อกุศลวิบากจิต 7 - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 - อเหตุกกิริยาจิต 3 3) กามาวจรโสภณจิต 24 - มหากุศลจิต 8 - มหาวิบากจิต 8 - มหากิริยาจิต 8 2. รูปาวจรจิต 15 1) รูปาวจรกุศลจิต 5 2) รูปาวจรวิบากจิต 5 3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 3. อรูปาวจรจิต 12 1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 2) อรูปาวจรวิบากจิต 4 3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4 4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40) 1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20) 2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)

หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึง

สังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)

ต่อไปจะแสดง จิต 89 ตามแบบภูมิประเภท (แบบชาติประเภทพึงกำหนดเอาจากแบบภูมิประเภทนี้ ตามหัวข้อที่แสดงไว้แล้ว) โลภมูลจิต 8 (คือจิตมีโลภะเป็นมูล)

1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด)ไม่มีการชักนำ 2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) มีการชักนำ 3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) ไม่มีการชักนำ 4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) มีการชักนำ 5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) ไม่มีการชักนำ 6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) มีการชักนำ 7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) ไม่มีการชักนำ 8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วย มิจฉาทิฏฐิ(คือความเห็นผิด) มีการชักนำ โทสมูลจิต 2 (คือจิตมีโทสะเป็นมูล) หรือเรียก ปฏิฆสัมปยุตตจิต (จิตมีโทสะเป็นมูล) ก็ได้. 1. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โทมนัสสเวทนา(คือความเสียใจ, ความทุกข์ใจ) ประกอบด้วย ปฏิฆะ(คือความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ) ไม่มีการชักนำ 2. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โทมนัสสเวทนา(คือความเสียใจ, ความทุกข์ใจ) ประกอบด้วย ปฏิฆะ(คือความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ) มีการชักนำ โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต 2 (คือจิตมีโมหะเป็นมูล) 1. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย)

ประกอบด้วย วิจิกิจฉา(คือความลังเลสงสัย) 2. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วย อุทธัจจะ(คือความฟุ้งซ่าน) รวมเป็นอกุศลจิต 12 (คือจิตอันเป็นอกุศล)

อกุศลวิบากจิต 7 (คือจิตที่เป็นผลของอกุศล)

1. จักขุวิญญาณจิต คือการรู้อารมณ์ทางตาที่ได้เห็น ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 2. โสตวิญญาณจิต คือการรู้อารมณ์ทางหูที่ได้ยิน ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 3. ฆานวิญญาณจิต คือการรู้อารมณ์ทางจมูกที่ได้กลิ่น ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 4. ชิวหาวิญญาณจิต คือการรู้อารมณ์ทางลิ้นที่รับรส ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 5. กายวิญญาณจิต คือการรู้อารมณ์ทางกายที่ได้สัมผัส ที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา (คือความทนได้ยาก) 6. สัมปฏิจฉันนจิต คือการรู้อารมณ์ทางใจ รู้เรื่องที่ปรากฏในใจ ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 7. สันตีรณจิต จิตพิจารณา ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย)

กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 (คือจิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตด้วยเหตุ)

1. จักขุวิญญาณจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ทางตาที่เห็น ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 2. โสตวิญญาณจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ทางหูที่ได้ยิน ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 3. ฆานวิญญาณจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ทางจมูกที่ได้กลิ่น ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย)

4. ชิวหาวิญญาณจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ทางลิ้นที่รู้รส ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 5. กายวิญญาณจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ทางกายได้สัมผัส ที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา (คืออารมณ์สุข) 6. สัมปฏิจฉันนจิต คือจิตที่รู้อารมณ์ทางใจ รู้ในใจ ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 7. สันตีรณจิต คือจิตที่พิจารณา ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา (คือความสบายใจ) 8. สันตีรณจิต คือจิตที่พิจารณา ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย)

อเหตุกกริยาจิต 3 (คือจิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตด้วยเหตุ)

1. ปัญจทวาราวัชชนจิต (คือจิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5) ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 2. มโนทวาราวัชชนจิต (คือจิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร) ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา (คือการวางเฉย) 3. หสิตุปปาทจิต (คือจิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์) ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา (คือความสบายใจ)

รวมเรียกว่า อเหตุกจิต 18 ดวง คือ จิตที่ไม่มีสัมปยุตตด้วยเหตุ คือไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ประการ อันได้แก่จิตที่ไม่ประกอบด้วย โลภะ โทสะ โมหะ หรือจิตที่ไม่ประกอบด้วย อโลภะ อโทสะ อโมหะ

มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต 8 (คือจิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตด้วยเหตุ) 1. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 2. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 3. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 4. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

5. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 6. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 7. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 8. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 (คือจิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตด้วยเหตุ)

1. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 2. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 3. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 4. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 5. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 6. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 7. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 8. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

มหากิริยาจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกริยาจิต 8 (คือจิตอันเป็นกริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบากคือผล ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตด้วยเหตุ)

1. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 2. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 3. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 4. จิตที่เกิดพร้อมด้วย โสมนัสสเวทนา(คือความสบายใจ) ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 5. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 6. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ 7. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ 8. จิตที่เกิดพร้อมด้วย อุเบกขาเวทนา(คือความวางเฉย) ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

รวมเรียกว่ากามาวจรโสภณจิต 24 (คือจิตดีงามที่เป็นไปในกามภูมิ) โดยมีลักษณะให้สังเกตได้ 3 ลักษณะคือ

1. จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

2. จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมากระทบสัมผัสกับใจ

3. จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์ทั้งหลาย

1) รูปาวจรกุศลจิต 5 (คือกุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ได้แก่จิตของผู้เข้าถึงรูปฌาน)

1. ปฐมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 2. ทุติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 3. ตติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา 4. จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา 5. ปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

รวมเรียกว่า รูปาวจรกุศลจิต 5 (จิตอันเป็นไปในภูมิ) ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป

2) รูปาวจรวิบากจิต 5 (คือวิบากจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป คือ จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศล)

1. ปฐมฌานวิบากจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 2. ทุติยฌานวิบากจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 3. ตติยฌานวิบากจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา 4. จตุตถฌานวิบากจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา 5. ปัญจมฌานวิบากจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

รวมเรียกว่ารูปาวจรวิบากจิต 5

3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 (คือกิริยาจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป คือ จิตของพระอรหันต์ผู้กระทำรูปาวจรกุศล) 1. ปฐมฌานกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 2. ทุติยฌานกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 3. ตติยฌานกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา 4. จตุตถฌานกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา 5. ปัญจมฌานกิริยาจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

3. อรูปาวจรจิต 12 (จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ)

1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 (คือกุศลจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป ได้แก่ จิตของผู้เข้าถึงอรูปฌาน)

1. กุศลจิตประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน (คือการกำหนดความว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) 2. กุศลจิตประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน (คือการกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) 3. กุศลจิตประกอบด้วย อากิญจัญญายตนฌาน (คือการกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) 4. กุศลจิตประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (คือการภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

2) อรูปาวจรวิบากจิต (คือวิบากจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศล) 1. วิบากจิตประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน (คือการกำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) 2. วิบากจิตประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน (คือการกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) 3. วิบากจิตประกอบด้วย อากิญจัญญายตนฌาน (คือการกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) 4. วิบากจิตประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (คือการกำหนดภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

3) อรูปาวจรกิริยาจิต (คือกิริยาจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ ผู้กระทำอรูปาวจรกุศล) 1. กิริยาจิตประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌาน (คือการกำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) 2. กิริยาจิตประกอบด้วย วิญญาณัญจายตนฌาน (คือการกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์) 3. กิริยาจิตประกอบด้วย อากิญจัญญายตนฌาน (คือการกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์) 4. กิริยาจิตประกอบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน (คือการกำหนดภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

รวมเรียกว่าอรูปาวจรจิต 12

1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (คือกุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก) 1. จิตที่ประกอบด้วย โสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ 2. จิตที่ประกอบด้วย สกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี 3. จิตที่ประกอบด้วย อนาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอนาคามี 4. จิตที่ประกอบด้วย อรหัตตมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอรหันต์

2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (คือวิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ หรือจิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล)

1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติผลญาณ 2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิผลญาณ 3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิผลญาณ 4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตผลญาณ

รวมเรียกโลกุตตรจิต 8

จบวิถีจิตทั้ง 89 ดวง ที่ต้องกำหนดเข้าใจให้แจ่มชัดตามที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานไว้ในคัมภีร์พระอภิธรรม ดังนี้

 

163 | 1 กุมภาพันธ์ 2025, 19:23
บทความอื่นๆ