Print
Hits: 3671

 

 

ที่จริงแล้ว หลวงปู่เป็นคนที่สอนใครยาก เมื่อสอนพระไปแล้วก็จะไม่ลำเอียง ที่จะสอนลูกหลาน วิชาใดที่หลวงปู่ไม่สอนพระ หลวงปู่ก็จะไม่สอนชาวบ้านทั่วไป แต่เมื่อคืนสอนพระไปแล้ว วันนี้ก็ถือโอกาสมาถ่ายทอดกับลูกหลานว่า...

"นานมาแล้วที่หลวงปู่ได้ค้นพบว่า เมื่อใดที่ "จิต" นี้ มันเสวยอารมณ์ เมื่อนั้นแหละ สุข ทุกข์ ก็ปรากฏ และเมื่อใดที่สุข ทุกข์ ปรากฏ ชาติ ชรา มรณะ ภพ มันเกิดขึ้น คือ ภพ ชาติ มันเกิดขึ้น นั่นก็แสดงว่า

ถ้าจิตนี้ไม่มีอารมณ์ มันก็ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์

เมื่อไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ก็ไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีชรา ไม่มีมรณะ ไม่มีพยาธิ
และ จิตที่ไม่มีอารมณ์ คือ จิตที่รู้แจ้ง เรียกว่า "จิตพระพุทธะ"
ทีนี้เรามาดูกันว่า อารมณ์นี้มันมาทางไหนบ้าง และมันมีกี่อย่าง มีอะไรบ้าง ก็เหมือนกับที่หลวงปู่เคยสอนให้ลูกหลานได้รู้ถึงสภาพจิต ให้ลูกหลานได้รู้อยู่เป็นประจำว่า อารมณ์แบ่งเป็น หมวดใหญ่ๆ คือ

-กุศล
-อกุศล
-อัพยากฤต คือ เฉยๆ

เฉยๆ นี่มันมีทั้งกุศล อกุศล เข้ามาแฝงอยู่ด้วย อย่างเช่น ขี้เกียจแล้วอยากอยู่เฉยๆ อย่างนี้ เบื่อแล้วอยากอยู่เฉยๆ นี่เค้าจัดอยู่ในส่วน "อัพยากฤตจิต" ฉะนั้นอย่าคิดว่า อัพยากฤต เป็นคนเฉยๆ เป็นพรหม ไม่ใช่บางทีเฉยๆ เป็นพวกขี้เกียจสันหลังยาว ก็ไม่ถูกต้อง เป็นส่วนของอกุศล

ทีนี้เมื่อใดที่อารมณ์นี้มันปรากฏกับจิต ไม่ว่าจะเป็นกุศล เมื่อกุศลมันเกิด ก็ทำให้บุญปรากฏ กุศลเกิดทำให้เราผ่องใส ทีนี้เราก็แช่มชื่น เบิกบานผ่องใส เป็น "โสมนัสจิต" แต่เมื่อใดที่อกุศลมันเกิดกับจิต จิตนี้ มันก็เศร้าหมอง
จิตนี้มันก็ขุ่นมัว กระสับกระส่าย กระเสือกกระสน สุข ทุกข์ อะไรก็ตามที นั่นแหละมันเกิดภพแล้วล่ะลูก มันเกิดชาติแล้ว มันเกิดชรา มันเกิดมรณะ มันเกิดพยาธิ เราไม่ต้องรอให้ตายก่อนแล้วจึงจะเจอภพ ชาติ เราไม่ต้องรอให้ตายก่อนแล้วจึงจะเจอสวรรค์ จึงจะเจอนรก

เมื่อใดที่อารมณ์โกรธมันเกิด นรกมันเกิดแล้วลูก เมื่อใดที่อารมณ์แจ่มใสเบิกบานแช่มชื่นเกิดนั่นแหละ
สวรรค์มันเกิดขึ้นกับเราแล้วล่ะลูก แล้วเมื่อใดที่เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ รู้แจ้งเห็นจริงแล้ววางเฉย นั่นก็เรียกว่า "เอกคัตตาจิต" จัดอยู่ในประเภทพวก จิตวางเฉยได้เหมือนกัน ในส่วนที่เป็นกุศล

เพราะฉะนั้นหน้าที่ของลูกหลานก็คือว่า ทำอย่างไรให้จิตเราไม่ไปตกอยู่ในอำนาจของอกุศล หรือไม่ต้องเป็นพวกของ
นรก ไม่ต้องให้นรกมันเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องให้ชาติภพแห่งความทุกคติมันเกิดขึ้น มีแต่ชาติภพแห่งสุขคติภูมิตลอดเวลาที่มีลมหายใจ มีชีวิต อันนี้ก็ต้องมาพูด มาคุย มาดูกัน

กัน

หลวงปู่สอนไปแล้วว่าสาเหตุที่จะทำอย่างไรไม่ให้จิตนี้มันเสวยอารมณ์ในทางที่เป็นอกุศล ก็คือมีสติเฝ้าระวัง มีปัญญารู้แจ้งชัด มีสมาธิตั้งมั่น ถ้าเราไม่ได้ระดับนั้นก็ต้องฝึก เล็กๆ น้อยๆ ไปก่อนลูก ที่เราฝึกไหว้ ฝึกกราบ ฝึกเคารพผู้ใหญ่ ฝึกมีสัมมาคารวะ ฝึกมีระเบียบวินัย ฝึกมีน้ำใจ ฝึกให้อภัย ฝึกไม่เห็นแก่ตัว เค้าเรียกว่า จัดระเบียบแห่งจิต จนปรากฏเป็นระบบของความคิด และอารมณ์ของตน

เราก็ถือว่าเราจัดระบบจิตนี้ให้มันเข้าระเบียบ สายทางแห่งกุศล ค่อยๆ ตอดเล็ก ตอดน้อย สะสมเล็ก สะสมน้อย
จนกระทั่งเค้าเรียกว่า "บารมีธรรม" หรือ "อินทรีย์" ของเรามันแก่กล้า เมื่อถึงขั้นนั้นเราก็จะมี "สติตั้งมั่น" ไม่ว่าจะสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม เราก็มองอย่างรู้แจ้งตลอด ทีนี้มันก็จะกำจัดทั้งส่วนที่เป็นกุศล อกุศล แม้แต่กุศลก็เป็นข้าศึกของนิพพาน แปลว่า "ดับและเย็น" เพราะว่าในนิพพาน หรือ สภาวะนิพพาน มันไม่มีกุศล ไม่มีอกุศล มันเป็นแค่ความดับเย็น สนิท เฉยรู้แจ้งอย่างผ่อนคลาย

สภาพของคนเจริญจิตภาวนาด้วยคำว่า "ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข ขอสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์" นั้น ท่านที่รัก ลูกหลาน
ทั้งหลายรู้ไหมว่า มันมีอารมณ์ใกล้เคียง ก้ำกึ่ง คล้ายคลึงกับสภาวะ "นิพพานแห่งจิต" เพราะว่ามันจะสงบและเย็น มันเป็นความเย็นที่แช่มชื่นเบิกบาน เค้าเรียก "โสมนัสจิต" แล้วเมื่อจิตที่แช่มชื่นเบิกบานปรากฏ เราจะเลือกสวรรค์ชั้นใดอยู่ก็ได้ เลือกพรหมชั้นใดอยู่ก็ได้ อำนาจเรามีที่จะต่อรองเลือกชั้นนั้น ชั้นนี้ได้ นี่หลวงปู่พูดถึงเรื่องจิต ไม่ได้พูดถึงเรื่องมดเท็จโกหก

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่หลวงปู่อยากให้ลูกหลานได้รับรู้ว่าสิ่งที่สอนไปทั้งหมดนี้ มันเป็น "ธรรมะสมังคี" ลูก มันสืบต่อ สืบทอด ใครที่มาใหม่ๆ ฟังอาจจะยังงง ไม่รู้เรื่อง แต่ว่าที่ผ่านมาหลายเดือน ก่อนที่หลวงปู่จะไปอยู่ภาคใต้นี้ หลวงปู่ได้สอนเรื่องการพัฒนาจิต วิธีกำหนดรู้จิต วิธีบริหารจัดการจิต จัดระเบียบของจิตให้มันเป็นหมวดเป็นหมู่ไปแล้ว ทีนี้ก็มาต่อยอดว่า ถ้าเรา
ไม่อยากให้ชาติ ภพ ชรา มรณะ มันเกิด ก็เฝ้าระวังอารมณ์ไม่ให้มันเกิดกับจิต

อารมณ์ที่เป็นอกุศลอย่างเดียวก่อน ถ้าเราเชื่อเรื่องคำสอน หัวใจสำคัญของพระพุทธเจ้า 3 อย่างที่พระพุทธเจ้า
ทรงสอนว่า

"สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง" การไม่ทำบาปทั้งปวง ไม่ให้อกุศลมันเกิดกับจิต
"กุสะละสูปสัมปะทา" การทำกุศลให้ถึงพร้อม
"สะจิตตะปะริโยทะปะนัง" การทำจิตของตน หรือใจของตนให้ผ่องแผ้ว ผ่องใส

ผ่องแผ้ว ผ่องใสได้เมื่อเรามีความเพียร มีปัญญา มีความสามารถที่จะระวังอารมณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา ตาเห็นรูป
หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา... หลวงปู่ได้เขียนเรื่องนี้เอาไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เรื่อง "นครกาย" เรื่อง "อิริยาบถสะอาด" ...

อยากบอกลูกหลานว่า เป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้วที่หลวงปู่ได้ค้นพบว่า


"เมื่อใดที่อารมณ์เกิดขึ้นกับจิต เมื่อนั้น
ชาติภพ ก็ปรากฏ สุข ทุกข์ ก็เกิด ชรา มรณะ พยาธิ ก็ทีตามมา

แต่ถ้าเมื่อใดที่จิตนี้ไม่มีอารมณ์ใดๆ ว่างสงบนิ่งชาติภพไม่เกิด ชรามรณะ พยาธิ ก็ไม่อุบัติ ทุกอย่างก้เป็นเสรีภาพ เป็นไท ผ่อนคลาย โปร่งเบาสบาย เป็นสุข."