สมถะบริหารกายกับบริหารจิต
วันที่9มีนาคม2551 (ภาคเช้า)
เรื่องปราณโอสถ

แผนภูมิปราณโอสถนั้นต้องใช้ ฐานความรู้ของมหาภูตรูป4 มหาภูตรูป4คือธาตุ 4 หรือในภาษากัมมัฏฐานเรียกว่าจตุธาตุวัฏฐาน 4ก็คือพิจารณาในร่างกายนี้ที่มีองค์ประกอบ ดิน น้ำ ลม และไฟ ว่าส่วนไหนที่เป็นดิน ส่วนไหนที่เป็นน้ำ ส่วนไหนที่เป็นลม และส่วนไหนที่เป็นไฟ แผนภูมิที่นำมาให้ดูคือแผนภูมิเบื้องต้นที่กำหนดให้รู้ จุดที่ตั้งของปถวี อาโป วาโย และเตโชธาตุ คือดิน น้ำ ลม ไฟ คนส่วนใหญ่ถ้าจะป่วยเจ็บไข้ ไม่สบาย หมอภูมิปัญญาตะวันออก ตั้งแต่ทวีปเอเซียตะวันออก ตะวันตก เอเชียกลาง เอเชียใต้ จัดว่าอยู่ในประเภทพวกตะวันออก ก็จะมีความรู้ใกล้เคียงกัน คือจะเข้าใจว่าร่างกายเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยต้องมีข้อบกพร่องอยู่ 4 อย่าง คือดินบกพร่อง น้ำบกพร่อง ลมบกพร่อง หรือไฟบกพร่อง แผนภูมเหล่านี้ก็เป็นแผนภูมิที่ใช้บำบัดรักษาความบกพร่อง ในการรักษาก็มี 4วิธีด้วยกัน
วิธีที่1 คือกดจุด
วิธีที่2 คือการลมยา
วิธีที่3 คือฝังเข็มและ
วิธีที่4 คือการเดินปราณ
ในการเดินปราณถือว่าเป็นวิธีสูงสุด ซึ่งมีกระบวนการในการฝึกการพิจารณาต้องให้เดินได้ทุกเส้นของเส้นเลือด ทุกข้อของกระดูก จึงจะเรียกว่าใช้ได้ การฝึกอย่างนี้เป็นการฝึกในเรื่องของสมาถะหรือสมาธิ ซึ่งทำให้จิตสงบระงับ ซึ่งมีองค์ฌานประกอบ แผนภูมิเหล่านี้ก็เป็นแผนภูมิของการบริหาร2สิ่งคือการบริหารกายกับบริหารจิต ให้มีความสุข ให้สมบูรณ์ ให้มีพลังของกายอันเหมาะสม เพื่อการบรรเทาทุกข์ หรือลดทุกข์ ผ่อนคลายความทุกข์ที่เป็นสมบัติของเราให้ลดน้อยลงจึงต้องมีหลากหลายกระบวนการ หลากหลายวิธีการ ไม่ใช่เรื่องนอกรีต ไม่ใช่เรื่องนอกตำรา ไม่ใช่เป็นเรื่องไม่มีที่มาที่ไป แผนภูมิเหล่านี้พวกหมอแพทย์โบราณ ในยุคสุโขทัย อยุธยา หรือลพบุรี ละโว้เขาจะมีอยู่ แต่ว่ามันสูญไป สลายไป ไม่ได้รับการถ่ายทอดอย่างเหมาะสม และไม่รู้วิธีใช้อย่างชัดแจ้ง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาจิตตานุภาพ สร้างพลังจิตให้เราช่วยตัวเองได้และยังสามารถช่วยคนอื่นได้ เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ ก็สามารถจะใช้วิธีการเหล่านี้ได้ ฉะนั้นคนที่ป่วยไข้ไม่สบายนี่ต้องรู้ว่าป่วยตรงไหน อยู่จุดไหนเป็นอะไรป่วย เหตุก็คือดินป่วย น้ำป่วย ลมป่วย หรือว่าไฟป่วย ต้องศึกษาในแผนภูมิเหล่านี้ และพยายามหากรรมวิธีที่จะดูแลรักษา หลวงปู่ได้แบ่งเอาไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ หมวดดิน หมวดน้ำ หมวดลม หมวดไฟ แต่ภาษาที่ใช้เป็นภาษาเก่าเพราะแผนภูมิเหล่านี้ปรากฏอยู่ในผนังถ้ำพระโพธิสัตว์
ก่อนที่จะไปสู่กระบวนการเข้าสู่แผนภูมิก็ต้องสร้างพลัง การจะสร้างพลังก็ต้องสร้างตัวรู้ กัมมัฏฐานวันไหว้ครูหลวงปู่ได้ให้ไว้ว่า เรียนรู้ชีวิต ลุถึงวิชา เข้าถึงปัญญา นำพาชีวิต วิชามีอยู่เกลื่อนกล่นไปหมด รอบตัวเรา ข้างตัวเรา บนหัวเรา ใต้ฝ่าเท้าเรา ข้างหน้า ข้างหลัง ซ้ายและขวา แม้ที่สุดภายในตัวเรา ปัญหาก็คือว่าใครคือผู้ไปรู้วิชา ความอยากบางทีนำพาเราไป ความอยากนำหน้า ตัวรู้ก็หายไป วิชามีก็ไม่รู้ว่าเอาใครไปรู้ ไม่เข้าใจในวิชานั้นเพราะท่านผู้รู้ตายไปก็มี ตัวรู้ในที่นี้คือ สติกับสัมปชัญญะ คนที่นั่งโงกง่วง แสดงว่าตัวรู้กำลังป่วยกำลังจะตาย ถ้าตัวรู้ไม่ตาย ไม่ป่วย นั่งอยู่ตรงนี้สามารถควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ มีตัวอันตื่นและเบิกบานอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เขาเรียกว่าตัวรู้ไม่ตาย ตัวรู้ไม่ป่วยฉะนั้นถ้าตัวรู้มันตาย วิชามากมายขนาดไหนมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ก็จะไม่ได้อะไร ความซึมซับของเราก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นหน้าที่ก็คือต้องสร้างตัวรู้ให้เกิดขึ้นก่อน ขบวนการสร้างตัวรู้นั้นมีอยู่หลากหลาย เมื่อมีตัวรู้แล้วก็จะกำหนดช่องทางแห่งการเกิดพลัง ดั่งเช่นเรามีน้ำอยู่เต็มตุ่มจะใช้น้ำอย่างใดก็ได้ ตอนนี้เราหาน้ำใส่ตุ่มก่อน แล้วก็หาตุ่มเตรียมใส่น้ำด้วย
คำสั่ง ลุกขึ้นยืนในท่าเตรียมพร้อมปรับตัวเองให้ได้สมดุลด้วยการยืนด้วยปลายเท้าดูว่าเซหรือไม่ กระบวนการต่อไปนี้เป็นกระบวนการสร้างตัวรู้เป็นหนึ่งในกระบวนการอันหลากหลาย

 

คำสั่งที่1 หายใจเข้า แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น ยืนด้วยปลายเท้า นับ1-10
หายใจออก ลดเท้าลง
ทำซ้ำกันในท่านี้ 10 ครั้ง

คำสั่งที่2 หายใจเข้า กางปีกเหนือศีรษะหลังมือชนกัน แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้นยืนด้วยปลายเท้า
หายใจออก ลดลง
ทำซ้ำกันในท่านี้10ครั้ง หลังมือชนกันแขนชิดหูเพื่อทำให้ปอด
ขยายหน้าอกจะได้ยกขึ้น หนังท้องจะตึงขึ้น เหล่านี้เป็นประโยชน์

คำสั่งที่3 หายใจเข้า ยกปีกขึ้นหลังมือชนกันเหนือศีรษะ
หายใจออก แขม่วท้องดึงไส้ขึ้นบิดลำตัวไปทางขวา
หายใจเข้า กลับมาตรง
หายใจออก แขม่วท้องดึงไส้ขึ้นบิดลำตัวไปทางซ้าย
หายใจเข้า กลับมาตรง
ทำซ้ำกัน 3คู่ช้าๆอย่าเร็ว เป็นการกระตุ้นภูมิแห่งปถวีธาตุ อวัยวะภายใน
ส่วนใหญ่เป็นปถวีธาตุ ถ้าเราไม่ทำ ไม่กระตุ้น ไม่รักษามัน ปถวีธาตุก็จะเสื่อมลง เสื่อมลง

คำสั่งที่4 หายใจเข้า ยกแขนเหนือศีรษะหลังมือชนกันตั้งแต่ข้อมือ
หายใจออก แขม่วท้องดึงไส้ขึ้น เอียงตัวไปทางขวา
หายใจเข้า กลับมาตรง
หายใจออก แขม่วท้องดึงไส้ขึ้น เอียงตัวไปทางซ้าย
หายใจเข้า กลับมาตรง
ทำซ้ำกัน 3 คู่ ซ้ายที ขวาที

คำสั่งที่5 หายใจเข้า แขนยังอยู่เหนือศีรษะ
หายใจออก แอ่นตัวทิ้งคอไปด้านหลังอ้าปากออกเสียงอ้า.... หายใจเข้า กลับมาตรง

คำสั่งที่6 หายใจออก ก้มตัวลง พลิกฝ่าเท้า ฝ่ามือแนบพื้น เข่าตึง
หายใจเข้า กลับมาตรง มือยกขึ้นเหนือศีรษะหลังมือชนกัน หายใจออก พลิกฝ่าเท้าขวาเอียงตัวทิ้งน้ำหนักไปทางขวา
หายใจเข้า กลับมาตรง
หายใจออก พลิกฝ่าเท้าซ้ายเอียงตัวทิ้งน้ำหนักไปทางซ้าย
หายใจเข้า กลับมาตรง

คำสั่งที่7 ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า แขนยังยกเหนือศีรษะ หายใจเข้า....
หายใจออก แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้นก้มตัวลงฝ่ามือแนบพื้นที่ปลายเท้า เข่าตึง ให้เข่าตึงจนร้อน ถึงสะโพกด้านหลังจึง จะใช้ได้
หายใจเข้า กลับมาตรง พร้อมชักเท้าขวากลับ
ก้าวเท้าซ้ายออกไปข้างหน้า แขนเหนือศีรษะ หายใจเข้า
หายใจออก ก้มตัวลง แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้นฝ่ามือแนบพื้นที่ปลาย เท้า เข่าตึง ให้ร้อนสันหลังจึงใช้ได้
หายใจเข้า กลับมาตรง เท้ายังอยู่ด้านหน้า

คำสั่งที่8 หายใจออก พลิกฝ่าเท้าหน้า แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น ก้มตัวลงฝ่ามือแนบพื้น เข่าตึง
หายใจเข้า กลับมาตรง แขนยังแนบหู
สลับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า
หายใจออก พลิกฝ่าเท้า แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น ก้มตัวลงฝ่ามือแนบพื้น เข่าตึง
ตรงนี้จะช่วยกระตุ้นวาโยธาตุ ปถวีธาตุ รวมทั้งไฟธาตุ ก้มลงให้ร้อนถึงไขสันหลัง
หายใจเข้า กลับมาตรงช้าๆ พร้อมชักเท้ากลับ

คำสั่งที่9 หายใจเข้า แขนเหนือศีรษะหลังมือชนกัน
หายใจออก แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น หมุนลำตัวไปทางขวา
หายใจเข้า กลับมาตรง
หายใจออก แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น หมุนลำตัวไปทางซ้าย
หายใจเข้า กลับมาตรง
หายใจออก แอ่นตัวทิ้งคอไปข้างหลังอ้าปากออกเสียงอ้า...
หายใจเข้า กลับมาตรง เลื่อนมือลงมาเท้าสะโพกด้านหลัง
หายใจออก แอ่นตัวไปด้านหลัง แบะหัวไหล่ไปข้างหลัง แอ่นอกขึ้น ออกเสียงอ้า....
หายใจเข้า กลับมาตรง
หายใจออก วาดมือกลับมาด้านหน้าให้หลังมือชนกันแขนตึง ห่อไหล่ก้มคอคางชิดอก
หายใจเข้า กลับมาตรง

คำสั่งที่10 นั่งลงเหยียดเท้าไปข้างหน้าตั้งปลายเท้าขึ้นเท้าชิดกัน มือท้าวไว้ด้านหลัง หายใจเข้า
หายใจออก ยกสะโพกขึ้นให้สูง กดฝ่าเท้าลงแนบพื้น ทิ้งคอลงข้างหลัง นับ 1-10 (หนึ่งมะพร้าวห้าวแห้งถึงสิบมะพร้าวห้าวแห้ง)
หายใจเข้า ลดก้นลง
หายใจออก แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น โน้มตัวไปข้างหน้า ใจกลางฝ่ามือจับที่ปลายเท้า ก้มตัวลงระหว่างแขนให้หน้าแนบเข่า แขนตึง เข่าตึง ให้หลังร้อนเป็นการกระตุ้นไฟธาตุในร่างกายแล้วเดินลมในขณะที่ก้มตัวอยู่ตั้งแต่ จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะ ต้นคอด้านหลังกระดูกสันหลัง ก้นกบ แยกลงไปถึงปลายเท้าแล้วย้อนกลับขึ้นมาที่หลังเท้า ไหลย้อน กลับขึ้นมาถึงลิ้นปี่ หน้าอก ไหปลาร้า ไหลเรื่อยไปหัวไหล่ ไหลไปถึงฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ ย้อนกลับขึ้นมาหลังมือ ไหลเลื่อนขึ้นมาถึงหัวไหล่ ต้นคอ กะโหลกศีรษะ กลางกระหม่อม หน้าผาก หายใจออกจมูก เดินลมจนครบวงรอบอีก 1ครั้ง แล้วสูดลมหายใจเข้า หายใจออกผ่อยคลาย
เดินลมเข้าไปใหม่ สูดลมหายใจเข้าขึ้นจมูก ลำคอ หน้าอก ช่องท้อง ลงไปที่หัวเหน่า แยกไปที่ขา2ข้างไหลเลื่อนไปถึงปลายนิ้วเท้า แล้วหายใจออก

คำสั่งที่11 นั่งตัวตรง แนบฝ่าเท้าประกบกันดึงเข้าหาตัว ส้นเท้าชิดระหว่างขา หัวเข่าแนบพื้น มือทั้ง2 จับที่ปลายเท้า ข้อศอกกดหัวเข่าหายใจออก แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น ก้มตัวลง หน้าผากแนบพื้น
เริ่มเดินลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง ลงไปกระดูกสันหลัง ก้นกบ ลงไปที่ขาไหลเลื่อนไปจนถึงปลายเท้าแล้วหายใจออก
ถ้าดูในแผนภูมิปถวี และวาโย มันไม่มีอะไรที่จะกระตุ้นต่อมหมวกไตเราได้ ถ้าไม่ใช้ท่านี้กับช่วงขาพับ
หายใจเข้า ผ่อนคลาย เหยียดขาไปข้างหน้าให้เลือดลมเดิน

คำสั่งที่12 งอขาขวายกขึ้นพาดไว้บนขาซ้าย ให้ส้นเท้าขวาอยู่แนบสะโพกซ้ายเข่าขวาแนบพื้น ก้มตัวลงให้ปลายคางกับปลายเข่าแนบต่อกัน จนรู้สึกสันหลังร้อน แล้วใช้ข้อศอกขวาและซ้ายกดนวดลงที่หัวเข่าขวาทิ้งน้ำหนักตัวลงไป เอาข้อศอกไล่กดไปทีละน้อยจากหัวเข่าถึงสะโพก กดทั้งสันขาและหน้าขาใช้ศอก2ข้างให้เป็นประโยชน์
สลับขา ให้ขาซ้ายพาดไปที่ขาขวา อย่าให้ส้นเท้าหลุดออกจากหน้าขาข้างขวา แล้วทำวิธีเดียวกัน ก้มให้คางต่อเข่าจนร้อนสันหลัง พวกสะบักเอียง สะบักเบี้ยว กระดูกสันหลังคด เส้นจม แขนยกไม่ขึ้น หลังแข็ง เป็นกษัย ไตพิการ ท่าเหล่านี้จะช่วย

คำสั่งที่13 นั่งในท่าพักสูดลมหายใจเข้าไล่ลมไปกระทั่งถึงปลายเท้า ให้รู้สึกได้ว่าปลายฝ่าเท้า และปลายนิ้วเท้าร้อน
หายใจเข้าจมูก เข้าหลอดลม ลำคอ หน้าอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง สะดือ จุดใต้และเหนือสะดือ ลงไปหัวเหน่า ลงไปที่ขา2ข้างไล่ไปจนถึงปลายฝ่าเท้า แล้วหายใจออก
คำสั่งพักครึ่ง ผ่อนคลาย หาน้ำดื่มต้องดื่มน้ำไม่เช่นนั้นจะเป็นอันตรายกับสุขภาพ ทุกครั้งที่ฝึกเสร็จต้องดื่มน้ำ

คำสั่งที่14 ลุกขึ้นยืนทิ้งน้ำหนักตัวเสมอกันทั้งซ้ายขวา แขนทิ้งข้างลำตัว ผ่อนคลายสบายๆ กล้ามเนื้อไม่เกร็ง ฝ่ามือไม่กำทุกอย่างในกายผ่อนคลาย
สูดลมหายใจเข้าลึกๆอย่างผ่อนคลายพร้อมกับค่อยๆหลับตาให้ลมซ่านไปทั่วสรรพางค์กายแล้วหายใจออกเบาๆผ่อนคลายสบายๆ
สร้างตัวรู้ให้เกิดขึ้นภายใน
สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม รู้ รู้ว่ามันเข้าแล้ว รู้ว่าหน้าอกมันกว้างขยาย รู้ว่าลมมันซ่านไปถึงปลายมือปลายเท้า
หายใจออก ยาว เบา หมด รู้ รู้ว่าลมมันยาว รู้ว่าลมมันเบา รู้ว่าลมมันหมดแล้ว
หายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม รู้
หายใจออก ยาว เบา หมด รู้

คำสั่งที่15 ปล่อยลมหายใจเป็นธรรมชาติ สร้างตัวรู้ให้เกิดขึ้นภายใน ไม่ต้องรู้เรื่องอื่น มีแต่รู้สึกภายในกายตน มีตัวรู้ภายในกายตนไม่มีสิ่งอื่นต้องรับรู้ รู้อยู่ภายใน รู้แล้วเฉยๆ รู้แล้ววาง รู้แล้วว่าง รู้แล้วสว่างรู้ชัด ไม่สับสน ไม่ว้าวุ่น ไม่โยกโคน ไม่สั่นคลอน ไม่สงสัย ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หงุดหงิด ไม่รำคาญ ไม่กลัดกลุ้ม สมองโล่งๆ ตัวว่างเบาสบาย กำหนดรู้อยู่เฉยๆ

คำสั่งที่16 ลมหายใจเป็นปกติ ปล่อยลมหายใจเป็นธรรมชาติสร้างตัวรู้ให้เกิดภายในนครกายแห่งนี้ ไม่มีตัวรู้ที่อื่น รู้แต่ภายในกาย รู้ให้ได้ทุกส่วน ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ตรงกลาง ซ้ายและขวา รวมทั้งข้างในและข้างนอกให้ตัวรู้ปรากฏภายใน สิ่งที่สอนเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือมีสติที่พิจารณาความเป็นไปภายในกายตนทั้งภายในและภายนอก สร้างตัวรู้ให้พร้อมรับรู้แล้วความรู้ก็จะปรากฏขึ้น เอาตัวรู้ไปอยู่ที่หน้าผาก เพ่งส่งความรู้สึกไปที่หน้าผาก รู้ว่าหน้าผากหนักไหม รู้ที่ระหว่างคิ้ว ดูว่าระหว่างคิ้วหนักไหม รู้ที่เบ้าตา2ข้าง รู้ที่สันจมูก สันจมูกหนักไหม รู้ที่โหนกแก้ม โหนกแก้มร้อนๆอุ่นๆไหม รู้ที่ริมฝีปากบนปลายจมูก รู้สึกเสียวๆวูบๆไหมรู้ที่ริมฝีปากล่าง รู้สึกที่ปลายคาง ร้อนๆเสียวๆวูบๆไหม รู้ที่กรามขวา และซ้าย รู้ที่กกหูขวา ซ้าย ดูซิว่ามีลมออกหูไหม รู้ที่เหนือหูขวา-ซ้าย หนักๆหน่วงๆไหม ขึ้นไปรู้ที่ขมับขวา-ซ้าย รู้ที่กลางกระหม่อมดูซิไอร้อนขึ้นที่กลางกระหม่อมไหม รู้ที่กะโหลกศีรษะด้านหลัง รู้ที่ต้นคอด้านหลัง รู้ที่หัวไหล่ 2 ข้าง รู้ที่สะบัก 2 ข้าง รู้สึกร้อนๆเสียวๆไหม รู้ที่ไขกระดูกสันหลัง ไล่ลงไปจนถึงก้นกบ รู้ไปถึงที่สะโพก ท่อนขาด้านบน ขาพับ ท่อนขาด้านล่าง ส้นเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้วเท้า ขึ้นมาที่หลังเท้าข้อเท้า หน้าแข้ง หัวเข่า ท่อนขาด้านบน มารวมที่หัวเหน่า ขึ้นมาที่สะดือ ช่องท้อง รู้ที่หน้าอก จับความรู้สึกไปที่ลิ้นปี่ หน้าอกร้อน อุ่นขึ้นไหม มาที่ราวนมขวา-ซ้าย รักแร้ขวา-ซ้าย หัวไหล่2ข้าง กลับมาที่รักแร้ ท่อนแขนด้านใน ข้อพับ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ดูว่าฝ่ามือร้อนไหม จับความรู้สึกอยู่ที่ฝ่ามือ ดูซิว่าไอร้อนปรากฏที่ฝ่ามือไหม ลองดูว่าไอร้อนวิ่งไปที่ปลายนิ้วโป้งไหม ทั้ง2ข้างซ้าย-ขวา นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย แล้วทั้งฝ่ามือมีไอร้อนปรากฏไหม ลองสูดลมหายใจเข้าแล้วดูซิว่าลมเข้าทางปลายนิ้วมือและฝ่ามือได้ไหม ไล่ขึ้นมาจนถึงข้อมือ ท่อนแขน ข้อศอก แขนด้านบน หัวไหล่ รักแร้ ต้นคอ กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผากออกจมูก
หายใจเข้า จมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ ท่อนแขน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ หลังมือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก ดูซิว่าลมออกจากปลายนิ้วมือได้ไหม
หายใจเข้าจากปลายนิ้วมือเข้ามาฝ่ามือ ข้อมือ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อศอก ท่อนแขนด้านบน หัวไหล่ จาก2 สายมารวมกันเป็นสายเดียวที่ต้นคอ กะโหลกศีรษะ กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก
(ทำซ้ำๆกันวนไปเวียนมาจนช่ำชองชำนาญ ทะลวงให้ทะลุทุกข้อกระดูก จนกระทั่งรู้ได้ว่าทุกปลายนิ้วมีลมเข้า ลมออก ทุกรูขุมขนท่อนแขนมีลมเข้าลมออก อย่ากลั้นลมหายใจ จะให้เข้าปลายนิ้วหรือจะให้เข้าทางจมูกแล้วออกปลายนิ้วก็กำหนดเอา จากท่อนแขนด้านนอกก็สลับเป็นท่อนแขนด้านใน รักแร้ ให้รู้ได้ว่าไอร้อนปรากฏหรือไม่ ข้อพับ ข้อมือด้านใน และฝ่ามือ)
สูดลมหายใจเข้า ขึ้นจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่2ข้าง สะบัก 2ข้าง แล้วมารวมกันทีกระดูกสันหลัง ไหลไปที่ก้นกบ แยกไปที่สะโพก ต้น
ขา 2ข้าง ข้อพับ ท่อนขาด้านล่าง ข้อเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้วเท้า หายใจออก
หายใจเข้าสวนกลับ ปลายนิ้วเท้า หลังเท้า ข้อเท้า ท่อนขาด้านล่าง ท่อนขาด้านบน ขึ้นมาที่สะโพก ก้นกบ กระดูกสันหลัง ขึ้นไปที่ต้นคอ กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก
หายใจเข้าลำคอ หน้าอก ลิ้นปี่ จุดเหนือสะดือ จุดใต้สะดือ ลงไปหัวเหน่า แยกไปท่อนขา 2 ข้าง หน้าขา หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า หลังเท้า ปลายนิ้วเท้า หายใจออก
หายใจเข้าจมูก หลอดลม ลำคอ แยกไปไหปลาร้า 2 ข้าง หัวไหล่ 2ข้าง ท่อนแขน 2 ข้าง ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ หลังมือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก

คำสั่งที่17 กำหนดเดินลมตามข้อกระดูก ให้ลมวิ่งไปตามข้อกระดูก เอา
บริเวณกระดูกสันหลังก่อน แล้วเดินไปให้ทั่วทุกข้อกระดูก
(คนที่ยังเดินลมไม่ได้ ให้จับความรู้สึกที่ฝ่ามือว่ามีความร้อนไหม)

คำสั่งที่18 สูดลมหายใจเข้า ภาวนาว่าสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก สัตว์ทั่งปวงจงพ้นทุกข์
คำสั่งพัก ค่อยๆนั่งลงช้าทรงสติตัวรู้ไว้ ให้ตัวรู้ยังทรงอยู่

สมถะบริหารกายกับจิต
วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2551 (ภาคบ่าย)

ให้ศึกษาแผนภูมิของปถวีธาตุในภาคบ่าย ดูว่าข้างหน้ามีตรงไหนบ้าง ข้างหลังมีตรงไหนบ้าง

คำสั่งที่1 ลุกขึ้นยืน สร้างตัวรู้ให้เกิดภายในให้เกิดกระบวนการรับรู้ให้เหมาะสม กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทุกอย่างเบาสบาย สมองโล่ง ใจคลายกังวล ส่งความรู้สึกไปภายใน
หายใจเข้า ยืนด้วยปลายเท้า แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น
หายใจออก ลดลง
หายใจเข้า ยก2แขนเหนือศีรษะ แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น
หายใจออก ลดลง
ทำซ้ำอีก 2ครั้ง

คำสั่งที่2 หายใจเข้า ยก 2แขนเหนือศีรษะหลังมือชนกัน แขม่วท้องดึงไส้ขึ้น (ไม่ต้องยืนปลายเท้า)
หายใจออก ลดลง พร้อมก้มตัวลง ฝ่ามือแนบพื้น เข่าตึง แขม่วท้องจนรู้สึกร้อนหลัง ร้อนสะโพก จึงขึ้นมาตรง
หายใจเข้า 2มือท้าวสะโพก
หายใจออก แอ่นตัวไปข้างหลัง เงยคอ ออกเสียงอ้า......ตาเหลือกไปข้างหลัง แลบลิ้นแตะจมูก (ท่านี้จะทำให้ปอดแข็งแรง ไปดูจุดซิ วิธีปรุงวาโยธาตุทำอย่างไร แหงนคอ อ้าปาก แลบลิ้นถึงปลายจมูกได้ เขาถือเป็นวิธีปรุงวาโยธาตุ จะทำให้เสียงดังสะเทือนเลื่อนลั่น

คำสั่งที่3 หายใจเข้าลึกๆ
หายใจออก ผ่อนลมออกมายาวๆ

คำสั่งที่4 หรี่เปลือกตาหลับลงอย่างนิ่มนวล อย่าเกร็ง ทุกส่วนในร่างกายผ่อนคลายทั้งหมด มีตัวรู้อยู่ภายใน รู้ไม่คิด รู้ไม่ปรุง รู้ไม่ทำให้เกิดกระบวนการสันตาบ รู้แล้วนิ่ง รู้แล้ววาง รู้แล้วว่าง รู้แล้วเฉย
รู้นิ่ง รู้วาง รู้ว่าง รู้เฉย รู้เฉยๆ รู้อยู่ภายใน

คำสั่งที่5 หายใจเข้าลึกๆ ลมเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ 2 ข้าง ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม ต้นคอ แยกเป็นหัวไหล่ ซ้าย-ขวา สะบักหลัง ใต้สะบักหลัง ขึ้นมาที่หัวไหล่ท่อนแขนด้านบน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจมูก ลำคอ หลอดลม ไหปลาร้า แยกไปที่รักแร้2ข้างดูด้วยว่ามีไอร้อนปรากฏไหม ไปที่ท่อนแขนด้านใน ข้อพับด้านใน ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ดูว่าฝ่ามือมีไอร้อนไหม ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจมูก หลอดลม ลำคอ ไหปลาร้า รักแร้ ท่อนแขนด้านใน ข้อพับ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจากปลายนิ้วมือขึ้นมาฝ่ามือ ข้อมือ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อพับ ขึ้นมาถึงรักแร้ หัวไหล่ ไหปลาร้า เข้ามาหลอดลม ลำคอหายใจออก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง ไหลเลื่อยไปกระดูกสันหลัง ไปก้นกบ แยกไปสะโพก ซ้าย-ขวา ลงไปท่อนขาด้านหลัง ข้อพับ ท่อนขาด้านล่างน่อง ข้อเท้า ส้นเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้วเท้า หายใจออก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอ ไหลเลื่อยลงไปกระดูกสันหลัง ก้นกบ แยกไปที่ท่อนขาด้านบน ข้อพับ หน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้วเท้า หายใจออก
หายใจเข้า จากปลายเท้า หลังเท้า ข้อเท้า หน้าแข้ง หัวเข่า หน้าขา หัวเหน่า วนที่ศูนย์กลางสะดือ จุดใต้สะดือล่าง จุดสะดือบนเหนือสะดือ ขึ้นมาที่ลิ้นปี่ หน้าอก แยกไปที่ราวนมซ้าย-ขวา มารวมกันที่หลอดลม ลำคอ ออกปาก

คำสั่งที่6 ลองเดินลมไปตามข้อกระดูกโดยไม่ต้องบังคับลมหายใจ ให้ลมมันเดินไปตามโพรงกระดูก ไปกะโหลกด้านหลัง ไปต้นคอ บ่า หัวไหล่ สะบักหลัง แล้วมารวมศูนย์ที่สันหลัง ค่อยๆไหลไปที่ก้นกบ ทะลุไปช่องท้อง ใต้สะดือ เหนือสะดือ ขึ้นมาที่ลิ้นปี่ แยกไปที่ราวนมซ้าย –ขวา รักแร้ซ้าย-ขวา ท่อนแขนด้านใน ไปข้อพับแขนด้านใน ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ หายใจออก หายใจเข้าจากปลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วดูดลมเข้ามา ใช้ความรู้สึก ขึ้นมาจนถึงข้อมือ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อศอก ข้อพับ ท่อนแขด้านบน รักแร้ ไหปลาร้า ขึ้นมาที่ต้นคอ ลำคอ ออกปาก เดินลมให้ทั่วทุกโครงกระดูก ทะลวงให้หมดให้ลมเดินทุกสาย พอนึกลมก็เดินได้เลย ตามโครงกระดูกต่างๆมีลมทั้งนั้น

คำสั่งที่7 กำหนดจิตที่กกหู ซ้าย-ขวา ดูซิว่ามีลมไหม มีลมออกหูซ้าย-ขวาไหม เหนือหู ขมับ หน้าผาก กลางกระหม่อม ไออุ่นขึ้นไหม กะโหลกศีรษะด้นหลัง ต้นคอดูต้นคอร้อนไหม บ่า หัวไหล่ 2ข้าง สะบักหลัง กลับมาที่บ่า ที่ไหล่ ลงไปที่ต้นแขน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าทางปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อศอก ท่อนแขนด้านบน รักแร้ หัวไหล่ มาที่สะบัก ไปรวมกันที่กระดูกคอ ขึ้นไปต้นคอ กะโหลกศีรษะด้านหลัง ในกะโหลกศีรษะด้านหลังมีจุดที่แสดงพลังของธาตุปถวีกับธาตุลมวาโยธาตุ กระจายจุดต่างๆโดยให้ลมหมุนเป็นก้นหอย บนกะโหลกศีรษะด้านหลัง ไอร้อนจะวิ่งเหมือนมีตัวอะไรวิ่งอยู่เป็นสาย วิ่งวนแล้วมาหยุดตรง กลางกระหม่อม ลงมาที่หน้าผาก แยกไป เหนือคิ้วซ้าย-ขวา เบ้าตา มารวมที่ดั้งจมูก ปลายจมูก ริมฝีปากบน ลงไปริมฝีปากล่าง ไปที่กราม ซ้าย-ขวา ติ่งหูซ้าย-ขวา กกหูซ้าย-ขวา เหนือหูซ้าย-ขวา หน้าหูซ้าย-ขวา ขมับซ้าย-ขวา ข้างกะโหลกศีรษะซ้าย-ขวา มารวมกันอยู่กลางประสาท หายใจออก
คำสั่ง ยกมือไหว้พระกัมมัฏฐานแล้วทรุดตัวลงนั่ง
ต้องฝึกเดินลมย้อนไปและย้อนกลับให้ได้ทุกรูขุมขน จึงจะเป็นผู้ได้เข้าถึงวิชาปราณโอสถ ส่วนจุดต่างๆมาเรียนรู้ทีหลัง

คำสั่งที่1 ลุกขึ้นยืน หลับตา ส่งตัวรู้ไปที่ฝ่าเท้า
หายใจเข้า ให้ลมดันลงไปถึงฝ่าเท้า
หายใจออก จากฝ่าเท้าไล่ขึ้นมาที่จมูก มาทางช่องท้องหรือสันหลังก็ได้
(ทำซ้ำ 5ครั้ง) เรียกว่าสร้างความสมดุลก่อน แล้วจึงจะทะลวงจุดล็กน้อย

คำสั่งที่2 จากฝ่าเท้าไปที่ฝ่ามือด้วยการหายใจเข้าทางจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะ ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ สะบัก ท่อนแขนด้านนอก ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจมูก หลอดลม ลำคอ ไหปลาร้า รักแร้ ท่อนแขนด้านใน ข้อพับ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือหายใจออก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอ หัวไหล่ สะบัก ลงไปที่กระดูกสันหลังไหลเลื่อนไปที่ก้นกบทะลุไปที่ช่องท้อง จุดใต้สะดือ จุดเหนือสะดือ ลิ้นปี่ หน้าอก หลอดลม ออกปาก
หายใจเข้าจมูก หลอดลม ลำคอ แยกไปไหปลาร้า รักแร้ แขนด้านใน ข้อพับ แขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
( ไล่ลมเดินให้คล่อง สลับไป สลับมา หมุนเวียนเดินให้ทั่ว จนลมเดินเป็นสายเดียวกัน ไม่มีขาดตอน นึกตรงไหน ลมเดินได้ตรงนั้นทันที แรกๆให้ลมกับการกำหนดจิตรวมเป็นหนึ่งช่วยกัน ลม ปราณ จิต เดินรวมกันเป็นหนึ่งก่อน ต่อๆไป แค่นึกอย่างเดียวก็เกิดปราณแล้ว เรียกว่าคล่องแคล่ว เป็นวสี ชำนาญแล้ว ที่นี้จะกดจุดตรงไหนก็ไม่ต้องเดินลมแล้ว เรียกว่าใช้ปราณกดจุดได้เลย แต่ใหม่ๆต้องฝึกอย่างนี้ก่อน)

คำสั่งที่3 หายใจเข้าจมูก แยกเป็น 2 สาย ไปที่คิ้วขวาและซ้าย ไปที่กกหูเหนือหูซ้าย-ขวา ลงไปที่หลังหูซ้าย-ขวา ติ่งหู รูหู หายใจออก ดูซิว่าลมออกหูไหม
หายใจเข้าจมูก แยกไปหัวคิ้ว ไปหางคิ้ว ไปที่เหนือหู หลังหู กกหู ติ่งหูล่าง ย้อนกลับขึ้นมาตรงรูหู แล้วหายใจออก ดูว่ามีลมออกตรงรูหูไหม

คำสั่งที่4 ทำต่อไป ให้ลมออกให้ได้ทุกส่วนของทวารภายในกาย แม้นกลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะ หลังมือ ท่อนแขน ข้อศอก ราวนม สะดือ กำหนดลมให้เดินไปได้ทั่ว

คำสั่งที่5 ลองทดสอบกองลมปถวี หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ 2 ข้าง สะบักหลัง ท่อนแขน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือหลังมือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจากปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ ท่อนแขนด้านใน ข้อพับ รักแร้ ขึ้นไปราวนม ขึ้นไปไหปลาร้า ลม2สายไปรวมที่ลำคอ ขึ้นไปที่ปลายคาง วนที่ริมฝีปากล่างและปลายคาง เรียกว่าจุดปถวีธาตุ จุดปฐม จนจู้สึกว่าจุดปลายคางกับฟันล่างจะหนัก เสียววูบวาบ แล้ววนไปที่ใบหน้าทั่วทุกจุด กราม โหนกแก้ม เบ้าตา โหนกคิ้ว หน้าผาก แล้วออกจมูก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอ หัวไหล่ 2ข้าง สะบักหลัง ขึ้นไปที่รักแร้ด้านหลัง ไปที่ท่อนแขนด้านใน ข้อพับ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง ต้นคอ หัวไหล่ 2ข้าง สะบักหลัง ขึ้นไปที่รักแร้ด้านหน้า มาที่ราวนม ขึ้นไปที่หน้าอก ลำคอไปที่ปลายคาง ริมฝีปากล่างแล้วกระจายไปทั่ว โหนกแก้ม เบ้าตา ระหว่างคิ้ว ดั้งจมูก หายใจออก
ทำต่อไปลองกำหนดเอง

คำสั่งที่6 ต่อไปนี้จะไล่ลมทำสมดุล
หายใจเข้าจมูก หลอดลม ลำคอ หน้าอก แยกไปราวนมสองข้างมารวมกันที่ลิ้นปี่ (เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมลงล่าง) ลงไปช่องท้อง ผ่านจุดเหนือสะดือ ผ่านจุดใต้สะดือ ลงไปที่หัวเหน่า แยกไปที่หน้าขาซ้าย-ขวา หัวเข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า หลังฝ่าเท้า ปลายนิ้วเท้า หายใจออก
หายใจเข้าจากปลายนิ้วเท้า ไปใต้ฝ่าเท้า ส้นเท้า ขึ้นมาที่ข้อเท้า น่อง ข้อพับ ท่อนขาด้านบน ขึ้นมาที่สะโพก ก้นกบ มารวมกันที่กระดูกสันหลัง ไล่ขึ้นไปที่สะบัก 2 ข้าง หัวไหล่2 ข้าง จาก 2 สายรวมเป็นหนึ่งที่ต้นคอ ไล่ขึ้นไปที่กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะ ต้นคอด้านหลัง บ่า หัวไหล่ ท่อนแขน ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง ข้อมือ ปลายนิ้วมือ หายใจออก
หายใจเข้าปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ข้อมือ ท่อนแขนด้านล่าง ข้อพับ ท่อนด้านบน รักแร้ มาที่ราวนม ขึ้นไปที่ไหปลาร้าซ้าย-ขวา แยกมารวมกันทีหลอดลม ลำคอ มาที่ปลายคาง ออกปาก
หายใจเข้าจมูก หน้าผาก โหนกคิ้วซ้าย-ขวา หางคิ้วซ้าย-ขวา กกหูซ้าย-ขวา หลังหูซ้าย-ขวา ติ่งหูซ้าย-ขวา รูหูซ้าย-ขวา หายใจออก

คำสั่งที่7 สูดลมหายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม รู้ ลมออกทุกรูขุมขน
หายใจออก ผ่อนคลาย
หายใจเข้า กว้าง ลึก เต็ม รู้ ให้ลมออกทุกรูขุมขน แม้เส้นผมก็ตั้งชัน รับรู้ได้ว่าบนหนังศีรษะก็มีลมออก ฝ่าเท้า ปลายเท้า นิ้วเท้าด้านหน้า ด้านหลัง เรียกว่ารู้ทั่วสรรพางค์กาย หายใจออก ผ่อนคลาย

คำสั่งที่8 หายใจเข้า ภาวนาสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
หายใจออก ภาวนาสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
ยกมือไหว้พระกัมมัฏฐาน ลืมตาค่อยๆนั่งลง
คำเตือน ต้องเดินลมให้ได้ทุกโพรงกระดูก ทุกข้อของกระดูกจึงจะกำหนดจุดได้ ทำแล้วอย่าไปติด เพราะทำแล้วจิตมันจะนิ่งสงบ เดี๋ยวจะเข้าไปสู่องค์ฌานอุเบกขา เอกัคตา ทีนี้จะบังคับจิตไม่ได้ มันจะไม่เคลื่อน หลวงปู่ไม่ต้องการสอนอารมณ์ฌาน แต่ต้องการเอาสาระประโยชน์ของพลังจิตตานุภาพ คือพลังจิตเอามารักษาโรค จึงเรียกมันว่าปราณโอสถ ถ้าอยากจะสอนเรื่องฌานไม่ยาก มันไม่ได้ยากเย็นอะไร แต่ที่สอนนี่ ต้องแยกออกมา อย่าเข้าฌานขั้นสูง ถ้าเข้าสู่อารมณ์ฌานแล้วมันจะไปติดอยู่ตรงนั้น เสพแล้วนิ่งจิตสงบเบาสบายมันจะไม่เคลื่อนไปไหนทีนี้ขี้เกียจ จะให้เดินลมตามจุดก็ไม่อยากไป จะนิ่งตัวหนัก ตูดหนัก ตีนหนักไม่อยากไปจะนิ่งอยู่อย่างนั้น ให้เดินลมก็ไม่เดิน ทีนี้จะเคลื่อนจากกัมมัฏฐาน พอเสพสุขจนหมดแล้ว ก็ไม่มีสุขให้เสพ ทุกข์ก็จะเข้ามาแทนที่ อารมณ์ปรุงของจิตก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้นให้เชื่อครู อย่าอวดรู้ บอกให้ทำอย่างไรก็ทำตามนั้น ให้เคลื่อนจิต ใช้จิต จนได้ชื่อว่า วิริเยนะทุกขะมัดเจติ บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ต้องเพียร ต้องขยัน ขยันที่จะเคลื่อนปราณ กำหนดจิต กำหนดจุด ถ้านิ่งเฉยแล้วภูมิใจพอใจอยู่ที่อารมนิ่งและเฉยเดี๋ยวจะสอนไม่ได้ ไม่อยากสอนด้วย เพราะมันจะสอนยาก เพราะไปเสพอารมณ์สุขและอุเบกขาเสียแล้วทีนี้ไม่ต้องไปไหน ที่ให้เดินลมย้อนไปย้อนกลับซอกซอนไปตามโคลงกระดูก ก็เพราะต้องการให้มีความขยัน สร้างวิริยะในจิตให้มาก ถึงเวลาบังคับจิต กำหนดจุดไม่ต้องเดินลม ต้องให้ชำนาญขนาดนั้น ปวดจุดไหน เมื่อยจุดไหน งูกัด แมลงต่อย แค่กำหนดจิตให้ตรงจุดที่กด ไม่ต้องเดินลม ต้องให้ได้อย่างนั้น
ข้อควรระวัง ในการรักษาจิตอย่าให้ไปติดในสุขกับเฉย