การศึกษาเรื่องของสมถะ
วันอาทิตย์ที่11 พฤษภาคม2551
เรื่องปราณโอสถ

    วันนี้เป็นวันปฏิบัติธรรมกลางเดือนในเรื่องของสมถะ   ที่ว่าด้วยเรื่องการใช้จิตตานุภาพ  ทำให้อานุภาพเกิดขึ้นกับจิต  แล้วเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์  ทำให้ตนเป็นผู้ที่สามารถจะบริหารจัดการชีวิตจิตวิญญาณของตนให้เป็นผู้เข้าใจสภาพธรรม  เรื่องอารมณ์สมถะเป็นเรื่องของการต้องทำความเข้าใจเบื้องต้น  เข้าใจเบื้องต้นก็คือต้องเข้าใจว่ามันเป็นการเพ่งจิตไว้ในการงาน  การงานของจิตซึ่งต้องไม่มีองค์ประกอบอื่นมีแต่ตัวงานและเนื้องาน  ภาระของงาน  และสภาพงานที่กำลังประพฤติปฏิบัติแห่งจิต  บางคนอาจจะไปเข้าใจว่าการที่เราทำการงานอยู่ทุกวันก็เป็นการเจริญสมถะได้  มันเป็นไปไม่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่า  เพราะอารมณ์สมถะที่แท้จริงผลของมันก็คือต้องสงบเย็น  และต้องมีพลัง  ที่เราทำการงานหากินหาอยู่ทุกวันๆมันเป็นแค่กิจเบื้องต้นของสมถะเท่านั้น  วันนั้นหลวงปู่ไปชลบุรีก็มีคนถามเรื่องพวกนี้  โดยเข้าใจว่าให้ลูกเล่นเกมส์ก็น่าจะเจริญสมถะ น่าจะมีสมาธิ  ดูหนังฟังเพลงก็หน้าจะเกิดสมถะทำให้เกิดสมาธิ  ตั้งใจทำกิจกรรมการงานประกอบอาชีพก็น่าจะทำให้เกิดสมถะมีสมาธิซึ่งก็ไม่ถูกต้องนักด้วยเหตุผลที่ว่า  อารมณ์ของสมถะก็อย่างที่กล่าว  ก็คือต้องมีความสงบ  และเย็นถ้าเมื่อใดที่ไม่ได้สงบเย็น  แล้วก็ไม่มีอำนาจไม่มีพลังของจิตก็ยังไม่ใช่อารมณ์สมถะ  เล่นเกมส์  ดูหนัง  ฟังเพลง ทำกิจกรรมการงานอื่นๆ  มันไม่ได้ทำให้สงบเย็น  มันทำให้ว้าวุ่น  ฟุ้งซ่าน  หงุดหงิดรำคาญเสียด้วยซ้ำไป  ในบางเรื่องบางโอกาส  เช่นเราไปดูหนังฟังเพลง  หนังสนุกเราก็สนุกตามมัน  หนังโกรธ  หนังอิจฉา  เราก็โกรธ ก็อิจฉาตามมัน  หนังละครมีปัญหาเราก็มีปัญหาตามมันบางครั้งเรายังร้องไห้ตามมัน   บางครั้งก็หัวเราะตามมัน  บางครั้งก็มันสะใจสมน้ำหน้าตัวอิจฉาตามมัน  มันจะเป็นสมถะไปได้อย่างไรเพราะมันไม่สงบเย็น  และมันก็ไม่มีอำนาจจิต   จิตอ่อนแอโดนครอบงำนั่นเค้าเรียกว่าจิตโดนเข้าทรงของอารมณ์ที่เสพ  จิตโดนครอบด้วยอารมณ์ที่เสพ  ซึ่งสมถะจะต้องมีอารมณ์เป็นเอก  เป็นหนึ่ง  เรียกว่าเอกัคตารมย์  จัดว่าเป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง  แต่เอกัคตารมย์มันเกิดขึ้นแล้วมันเป็นที่พึ่งอาศัยเราได้เพราะพื้นฐานของมันมีโสภณจิต เป็นองประกอบของกุศล  จิตนี้ประกอบด้วยกุศล  เราพึ่งได้  แต่ราคะรมย์ โทสะรมย์ โมหะรมย์ นี่มันเป็นอกุศลจิต เป็นอวิชชาเป็นตัณหา  เป็นอุปาทาน  เป็นจิตที่อ่อนแอพึ่งพาอาศัยไม่ได้  ส่วนอารมณ์สมถะนี่จัดได้ว่าเป็นจิตที่แข็งแรง  เป็นสภาพจิตที่มีกำลัง  เป็นที่พึ่งของผู้เป็นเจ้าของจิตนั้นได้  เป็นที่พึ่งของผู้ที่มีจิตนั้นอยู่  คือจิตสมถะเช่นนี้  คนๆนั้น  ท่านผู้นั้น  ผู้เป็นเจ้าของจิตอย่างนี้ก็สามารถพึ่งพาอาศัยได้  ฉะนั้นใครบอกว่าสมถะไม่มีอารมณ์ไม่ใช่  มีอยู่อย่างเดียวที่ไม่มีอารมณ์  คืออารมณ์สูงสุดของวิปัสสนา  วิปัสสนานี่ไม่มีอารมณ์  แม้เราจะขึ้นต้นจากอารมณ์หลากหลาย  แต่เป็นการเรียนรู้  รู้ละ วางแล้วว่าง  รู้แล้วละ วางแล้วว่าง  เพราะฉะนั้นวิปัสสนาไม่ต้องการอารมณ์  ถ้ามีอารมณ์เราจะจำแนกแจกแจง  อรรถ  ธรรม  พยัญชนะ  ตัณหา  อุปทานไม่ได้  เพราะเราจะกลายเป็นพวกของอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งไป  หรือไม่เราก็จะกลายเป็นพวกของสิ่งที่เรากำลังวิจารณ์พิจารณาไป   ฉะนั้นวิปัสสนาต้องไม่มีอารมณ์  ในขณะที่เราเรียนและศึกษาอารมณ์ต่างๆนั้นก็คือเรียนเพื่อรู้แล้วละ  วางแล้วว่างอย่างนี้เป็นต้น  แต่อารมณ์สมถะเรียนไปเพื่อให้ได้อารมณ์  แต่เป็นอารมณ์ที่เป็นเอกัคตารมย์  ซึ่งคนละอย่างกัน  รวมแล้ววิปัสสนาไม่มีอารมณ์   แม้แต่จะเป็นต้นกำเนิดก่อเกิดมาจากอารมณ์  แต่ที่สุดแล้ว   รู้แล้วต้องละ  วางแล้วต้องว่าง  ไม่ต้องการอารมณ์  แต่สมถะต้องการอารมณ์  แต่เป็นอารมณ์ฝ่ายกุศล  เป็นโสภณจิต  เป็นปัณฑระจิตอย่างหนึ่ง  เรียกว่าเป็นมนัส ความแช่มชื่นเบิกบานของจิตอย่างหนึ่งในอาการของจิต 10 อย่างที่เคยสอนไป
    วันนี้เราจะมาฝึกสมถะต้องมีอารมณ์  อารมณ์ก็คือมีการงานให้ยึดถือ  และการงานนั้นต้องเป็นการงานในส่วนที่ต้องทำให้จิตนิ่ง  มีเอกัคตาก็คือนิ่งสงบ  เย็น  นิ่งสงบ เย็น  ผลที่สุดแห่งการตอบแทนแห่งอารมณ์สมถะก็คือนิ่ง สงบ เย็น  แต่ในขณะที่กระทำสมถะมีตัวเดียวเท่านั้นคือตัวนิ่งคือเพ่งจิตให้นิ่งอยู่  เพราะในขณะทำมันยังไม่เกิดผล  พอนิ่งแล้วต่อมาผลของมันก็คือ  สงบเย็น  เพราะฉะนั้นในขณะที่ทำเราต้องการตัวนิ่ง  นิ่งอยู่กับงาน  นิ่งอยู่กับสิ่งที่เพ่ง  นิ่งอยู่กับนิมิตคือเครื่องหมาย  นิ่งอยู่กับเรื่องที่จิตจับ  นิ่ง  ผลของมันตามมาก็คือสงบ  แล้วก็เย็น  เมื่อเข้าใจแล้วต่อไปนี้ก็ไม่ได้บอกให้นั่งนิ่งๆ  เพราะถ้านั่งนิ่งๆแล้วเดี๋ยวมันจะนิ่งไปเลย  (หลับ)
สมถะเล่าถึงอารมณ์และขบวนการเข้าสู่อารมณ์ได้บอกไปแล้ว  ว่าต้องเริ่มต้นจากนิ่ง  นิ่งในงาน  นิ่งในเรื่องที่ทำ  นิ่งในคำที่พูด  นิ่งในสูตรที่คิด  แล้วนิ่งในนิมิตที่เป็นเครื่องหมาย  นิมิตก็คือเครื่องหมายที่จิตจับ  แล้วผลตามมาก็คือสงบเย็น  แต่เมื่อเราเข้าใจอารมณ์สมถะอย่างนี้แล้ว  เราก็พัฒนาขบวนการของสมถะให้เป็นพลังของกาย  โดยตรงแล้วสมถะเป็นพลังของจิต  แต่เราสามารถจะปรับเปลี่ยนพลังของจิตให้เป็นพลังของกายได้  ดูตัวอย่างเช่น คนที่มีสมาธิขั้นสูง  เขาสามรถพยุงกายสังขาร ให้ต้านทานอำนาจโรค และต่อสู้กับโรคร้ายภายใน และยืดชีวิตอยู่ได้ยาวนานพอสมควรที่ยืดชีวิตอยู่ได้ยาวนานพอสมควรก็คือ  ตัวอย่างเช่นวิชามหาประธานอิทธิบาทสี่  วิชานี้เป็นพื้นฐานมาจากสมถะล้วนๆ  อิทธิบาทก็คือ  ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  มหาประธานก็คือยกเอาฉันทะเป็นตัวตั้ง  ฉันทะก็คือความพอใจ  รักใคร่ พอใจรักใคร่ในกาย  ในสภาพธรรมที่ปรากฏ ในชีวิตนี้ยังดำรงอยู่  ในอวัยวะส่วนนี้ๆให้ชุ่มชื่น  แข็งแรงอย่างนี้เป็นต้น  วิริยะ  ก็เพียรหาวิธีการให้มันแข็งแรงสดชื่น  รื่นเริง  บันเทิง  อายุไขยืนยาวอย่างนี้  จิตตะ  เอาใจจดจ่อ  จดจ่อที่จะทำต่อเนื่องยาวนาน  วิมังสา  ก็ใช้ปัญญาใคร่ครวญ  วิจารณ์ พิจารณา  หาเหตุปัจจัยที่จะทำให้อวัยวะหรือชีวิตอินทรีส่วนนี้ๆให้มันยั่งยืนยาวนานอย่างนี้เป็นต้น  แล้วทุ่มเทกระบวนการกาย  วาจา  จิต  เข้าไป  จึงเรียกว่ามหาประธานอิทธิบาทสี่คือ  เอากายนี้เป็นตัวตั้ง  เอาปราณ  เอาจิต  เอาชีวิตเป็นตัวกำหนดรู้  แล้วจะทำให้เกิดพลังที่จะปรุงชีวิตินทรีย์ภายในให้แข็งแรงสดชื่น  ยืดอายุไข  เขาว่ากันว่าสามารถจะยืดอายุไขได้เป็นกัปเป็นกัลป์  ครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรงพระชนมายุสังขาร  พระอานนท์ทรงทราบเข้า  ตอนหลังที่พระองค์ทรงให้สัจจะกับพญามารว่า  ตถาคตจะปรินิพาน  เมื่อวันวิสาขะปุณณมี   พระอานนท์พอทราบเข้า  ก็มาร้องไห้คร่ำครวญ  ขอร้องให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืดอายุพระชมมายุให้ยืนยาวขึ้นโดยใช้  มหาประธานอิทธิบาทสี่  พระศาสดาทรงยืนยันกับพระอานนท์ว่ามหาประธานอิทธิบาทสี่สามารถจะยังอายุไขของตถาคตให้ยืนยาวได้เป็นกัปเป็นกัลป์ก็จริงแหละอานนท์  แต่โดยวิสัยของพุทธภูมิ  เมื่อตรัสคำไหนไปแล้วก็ต้องรักษาคำที่ตรัส  เราได้ตรัสรับปากกับพญามารว่าเราจะสิ้นอายุไขเมื่อวันวิสาขะปุณณมี  อีก 3 เดือนข้างหน้าเราก็ต้องทำตามวาจาที่ลั่นไว้   อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นในกระบวนการมหาประธานอิทธิบาทสี่มันก็ต้องเริ่มต้นจากวิชาสมถะพื้นฐาน   นิ่ง  สงบ  เย็น  นิ่งสงบเย็น  เมื่อมีพลังแล้วก็เอาพลังเหล่านั้นไปใช้ปรุงชีวิตินทรีย์ภายใน  ปรุงที่ส่วนไหนมันเสื่อม  ส่วนไหนมันโทรม ส่วนไหนแย่ก็เอาไปปรุงส่วนนั้น  เหล่านี้แหละจึงเป็นที่มาของวิชาปราณโอสถ  ต้นกำเนิดของปราณโอสถก็มาจากมหาประธานอิทธิบาทสี่  อย่างที่หลวงปู่บอกว่าชีวิตจะมีความสุขก็จากการบริหาร 2 สิ่ง   คือบริหารกายกับบริหารใจ  บริหารกายให้สุขภาพแข็งแรง  บริหารใจให้เข้มแข็งตั้งมั่น  ตระหนักรู้  และเข้าใจสรรพสิ่งได้อย่างชัดแจ้ง  ชัดเจน  หมอมีอยู่  2  อย่าง  คือหมอกาย  กับหมอใจ  
วิชาปราณโอสถก็คือการประยุกต์เอาพลังของจิตไปใช้ในการขับเคลื่อนเลือดลมภายในกายแล้วปรุงชีวิตอินทรีย์ภายใน  พื้นฐานของปราณโอสถก็มาจากมหาประธานอิทธิบาทสี่ที่จะยังอายุไขให้ยาวนานได้เป็นกัปเป็นกัลป์  แต่ก็ต้องทำความเข้าใจว่า วิชาปราณโอสถนี่มันเป็นวิชาเฉพาะของหมอโอสถโบราณ  ที่เขาจะใช้กับกระบวนการรักษาบำบัดโรค  มันจะเอาเป็นเรื่องเป็นราวถึงขนาดมีเดชมีฤทธิ์  บรรลุธรรมเป็นพรอรหันต์  เข้านิพานนั้นก็ยังเป็นไปไม่ได้  คงจะไม่ใช่เรื่องโดยตรง  แต่เป็นเรื่องของสุขภาพ  บอกแล้วว่าชีวิตจะมีสุขได้ก็คือร่างกายแข็งแรง  จิตใจแข็งแรง  ถ้าทำ2 สิ่งนี้ให้เป็นสุขก็จะเข้าใจ  ก็จะรู้ว่าชีวิตสามารถจะลดความทุกข์ที่เป็นสมบัติเจ้าเรือนได้  หลวงปู่เรียกว่าสมบัติเจ้าเรือน  เพราะเรามีความทุกข์เป็นเจ้าเรือน  ความทุกข์เป็นสมบัติ  มีความตายเป็นสมบัติอยู่

 

การปฏิบัติในภาคเช้า
11พฤษภาคม 2551

คำสั่ง    ลุกขึ้นยืน  ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  (พวกมดลูกเคลื่อน  กล้ามเนื้อมดลูกไม่แข็งแรง  เลือดลมเดินไม่สะดวก  ไส้เลื่อน  ต่อมลูกหมากโต  ต้องทำท่านี้)

คำสั่งท่าที่1    สูดลมหายใจเข้า.........หายใจออก  ยืนด้วยปลายเท้าแขม่วท้อง  ดึงไส้ขึ้น
        หายใจเข้าลดลงช้าๆ
        (  ทำซ้ำ  5 ครั้ง)

คำสั่งท่าที่2    สูดลมหายใจเข้า........หายใจออกยืนด้วยปลายเท้า  ยก2แขนเหนือศีรษะประนมมือ  แขม่วท้อง  ดึงไส้ขึ้น
    หายใจออกลดลงช้าๆ
    ( ทำซ้ำกัน 5 ครั้ง)  ที่ให้ทำอย่างนี้ก็เพื่อพยุงความเสื่อมให้ช้าลง   ยืดอายุไขอวัยวะส่วนล่าง  ตั้งแต่ลิ้นปี่ลงไปจนถึงปลายเท้า  เช้าทำวันละ 10 ครั้งทุกวัน  ต่อมาก็ขยับเป็นทั้งเช้าและเย็น  ทำอย่างนี้ทุกวัน  พวกโรคนิ่วในไต  ปัสสาวะกะปิบกระปอย  โรคเยี่ยวฉ่ำ  โรคท่อปัสสาวะ  โรคมดลูกเคลื่อน  มดลูกไม่เข้าที่  ลำไส้พิการ  กระเพาะพิการ  ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย  โรคไส้เลื่อน  ต่อมลูกหมากโต  จะหายจะบรรเทา

คำสั่งท่าที่3    สูดลมหายใจเข้า  ยืนด้วยปลายเท้า  ยก2 แขนเหนือศีรษะประนมมือ
    หายใจออกลดตัวลง  พลิกฝ่าเท้า  ก้มตัวลง  แขม่วท้อง ดึงไส้ขึ้น ฝ่ามือแนบพื้น
    หายใจเข้ากลับมาตรงฝ่าเท้าแนบพื้น........หายใจออก  
    (เริ่มต้นทำท่านี้ใหม่อีก  10ครั้ง)  เน้นเคลื่อนไหวไปที่ฝ่าเท้ากับลำไส้  ถ้าเราไปเปิดดูแผนภูมิ วาตะ กับเตชะ  เราจะรู้ว่าที่ฝ่าเท้าด้านข้างเป็นตัวกระตุ้นบำรุงธาตุไฟวาตะ  ที่ลำไส้เหนือสะดือ  ใต้สะดือก็บำรุงธาตุลม  เราขับธาตุไฟออกจากธาตุลมให้ลมกับไฟ มีเอกเทศของมัน  เพราะธาตุทั้ง 4  ถ้ามันไม่ต่างคนต่างอยู่ มันไปเชื่อมสัมพันธ์กันเช่นลมกับไฟรวมกันก็จะทำให้ความร้อนมากไป  ลำไส้จะลั่นโคกครากๆ  น้ำย่อยจะออกมามากแล้วมันจะย่อยทุกเวลา  สุดท้ายก็กลายเป็นโรคแผลในกระเพาะ  แผลในลำไส้  อย่างนี้เขาเรียกว่าปรับสมดุล    

คำสั่งท่าที่4    สูดลมหายใจเข้า  ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะประนมมือ
    หายใจออก  เอียงตัวไปทางขวา  พลิกฝ่าเท้าขวาทิ้งน้ำหนักตัวไปกดที่ข้างเท้าขวา
หายใจเข้ากลับมาตรง
    หายใจออก  เอียงตัวไปทางซ้าย  พลิกฝ่าเท้าซ้ายทิ้งน้ำหนักตัวไปกดที่ข้างเท้าซ้าย
หายใจเข้ากลับมาตรง
    (ทำท่านี้  5 ครั้ง)    

คำสั่งท่าที่5    ก้าวเท้าขวามาข้างหน้าตรงๆ  ยก2แขนเหนือศีรษะ  หายใจเข้า
    หายใจออก  ก้มตัวลงด้านหน้า    แขม่วท้อง  ดึงไส้ขึ้น  มือแนบพื้น เข่าตึง
    หายใจเข้ากลับมาตรง  2 แขนยังอยู่เหนือศีรษะ
    หายใจออก  พลิกฝ่าเท้าหน้า  ก้มตัวลง  แขม่วท้อง  ดึงไส้ขึ้น  ฝ่ามือแนบพื้น
    ก้มทิ้งไว้ให้ขาสั่นร้อนถึงสะบักหลังจึงใช้ได้
    หายใจเข้ากลับมาตรง  2 แขนเหนือศีรษะ    สลับให้ขาซ้ายไปอยู่ข้างหน้า
    หายใจออกก้มตัวลงด้านหน้า  ดึงไส้ขึ้น  มือแนบพื้น   เข่าตึง
    หายใจเข้ากลับมาตรง 2 แขนเหนือศีรษะ
    หายใจออก  พลิกฝ่าเท้าหน้า  ก้มตัวลง แขม่วท้อง  ดึงไส้ขึ้น ฝ่ามือแนบพื้น
    ก้มทิ้งไว้ให้ร้อนถึงสะบัก  หายใจเข้ากลับมาตรง  ลด 2แขนลงข้างลำตัว ชักเท้ากลับ

คำสั่งท่าที่6    ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า  ให้ส้นเท้าขวาอยู่ปลายเท้าซ้าย  ยก 2 แขนเหนือศีรษะ ให้หัวนิ้วโป้งเกี่ยวกัน  หายใจเข้า
    หายใจออก  หมุนบิดลำตัวไปทางขวาเยอะๆ  (ฝ่าเท้าทั้ง2เหยียบพื้นให้น้ำหนักเสมอกัน)  
    หายใจเข้ากลับมาตรง  
เลื่อนเท้าขวาไปอยู่ทางข้างนิ้วก้อยเท้าซ้าย  ให้ส้นเท้าขวาห่างไปด้านหน้าวางให้เหนือขึ้นไปจากปลายเท้าซ้าย  1 คืบ
หายใจออก  บิดลำตัวไปทางขวา
หายใจเข้ากลับมาตรง
หายใจออกบิดลำตัวไปทางซ้าย  เท้ายังคงที่เดิม(เพื่อคลายเส้น)
หายใจเข้ากลับมาตรง
เลื่อนเท้าหน้าให้วางตรงกับเท้าหลัง  หายใจเข้า  
หายใจออก  แขม่วท้องดึงไส้ขึ้น  ก้มตัวลง  ฝ่ามือแนบพื้น  เข่าตึง(ก้มค้างไว้จนสันหลัง  สะโพกร้อน)
หายใจเข้า กลับมาตรงช้าๆอย่าเร็ว  สลับเท้า  ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า  ให้ส้นเท้าซ้ายอยู่ปลายเท้าขวา  ยก2แขนเหนือศีรษะ  หัวนิ้วโป้งเกี่ยวกัน  หายใจเข้า
    หายใจออก  หมุนบิดลำตัวไปทางซ้ายเยอะๆ (ฝ่าเท้าทั้ง2เหยียบพื้นให้น้ำหนักเสมอกัน)
    หายใจเข้ากลับมาตรง
    เลื่อนเท้าซ้ายไปอยู่ทางข้างนิ้วก้อยเท้าขวา  ให้ส้นเท้าซ้ายห่างไปด้านหน้าวางให้เหนือขึ้นไปจากปลายเท้าขวา 1 คืบ
    หายใจออก  บิดลำตัวไปทางซ้าย
    หายใจเข้า  กลับมาตรง
    หายใจออกบิดลำตัวไปทางขวา  เท้าคงที่เดิม
    หายใจเข้ากลับมาตรง
    เลื่อนเท้าหน้าให้ตรงเท้าหลัง  หายใจเข้า
    หายใจออก  แขม่วท้อง  ดึงไส้ขึ้น  ก้มตัวลง  ฝ่ามือแนบพื้น  เข่าตึง (ก้มค้างไว้จน สะโพกและสันหลังร้อน)
    หายใจเข้ากลับมาตรงช้าๆ
คำสั่งพัก    หาน้ำดื่ม  ทุกคนต้องดื่มน้ำไม่เช่นนั้นจะเป็นโทษต่อสุขภาพ บาง คนยกแขนไม่ขึ้น  ก้มไม่ลงปล่อยให้พังผืดยึดข้อกระดูก  จนกลายเป็นรังของโรค  โรคที่จะตามมาคือปวดเอว  ปวดหลัง  โรคกษัย   ตามมาด้วยไตพิการ  เพราะกระบวนการทำงานของไตไม่ได้ขับเคลื่อน   มันต้องการ   การเคลื่อนไหวของอวัยวะส่วนล่างไปกระตุ้นมันไม่ให้ตกตะกอน  เหมือนกับน้ำที่ใส่ไว้ในขวดทิ้งไว้ไม่มีอะไรเขย่า  มันก็จะตกตะกอน  สุดท้ายก็กองทิ้งไว้กลายเป็นกองนิ่ว  ฝึกด้วยวิธีนี้จะไม่เป็นนิ่วในไต  นิ่วในถุงน้ำดี  ไม่เป็นโรคหินปูนเกาะตับ  ต้องพยายามทำให้ได้ทุกวัน  วันละ5นาที-10นาที
        
ฝึกเดินลมไปตามจุด
คำสั่งพร้อม    ลุกขึ้นยืน  หัดเดินลมใหม่ๆต้องให้ยืน  เพื่อให้ลมเดินไปในข้อกระดูกได้คล่องแคล่ว  นั่งแล้วมันติดขัด  เดี๋ยวมีข้อสงสัย กระดูกมันคดมันงอมันจะเดินลมได้อย่างไร  ทำตัวให้เบาที่สุด  ยืนให้ได้นิ่งที่สุด  สงบที่สุด  ผ่อนคลายให้ได้มากที่สุด  ลองดูซิจัดระเบียบของกาย  อะไรที่รู้สึกอึดอัดต้องผ่อนคลาย  

คำสั่งที่1        ค่อยๆหรี่เปลือกตาลงช้าๆอย่างนุ่มนวล  อย่าเกร็ง  อย่าให้หนังตาเต้น  อย่าทำให้ตากระพริบ
    หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม   กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  กระดูกสันหลัง  ลงไปที่ก้นกบ  ทะลุมาที่ช่องท้อง  ขึ้นมาที่ลิ้นปี่  หน้าอก  ลำคอ  ออกปาก
    หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  กระดูกสันหลัง  ลงไปที่ก้นกบ  ทะลุช่องท้อง  ขึ้นมาที่ลิ้นปี่  หน้าอกลำคอ   ออกปาก หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  กระดูกสันหลัง  ลงไปก้นกบ  ทะลุไปที่ช่องท้อง  ขึ้นมาที่ลิ้นปี่  หน้าอก ลำคอ  ออกปาก

คำสั่งที่2    หายใจเข้า  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้  ให้ลมซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย  ค่อยๆเติมลมเข้าไปช้าๆเหมือนเติมน้ำใส่ขวด  จนกระทั่งมันเต็ม  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้  ให้ลมซ่านเข้าไปจนรู้สึกตัวพอง  หนังพอง  ปอดขยาย  หน้าอกกระเพื่อม
 หายใจออก  เบา  ยาว  หมด  รู้
หายใจเข้าไปใหม่อีกที  ค่อยๆหายใจเข้าช้าๆ   กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้  สังเกตความเป็นไปภายในกายด้วยว่าลมมันเข้าไปขยายตัวให้กว้างขึ้นไหม  ลึกที่สุดไหม  เต็มบริบูรณ์ไหม  แล้วรู้ด้วยไหมว่ามันเต็มแล้ว
ค่อยๆผ่อนลมออก  เบาๆ  ยาวๆ  ช้าๆ  หมด  แล้วรู้ด้วย

คำสั่งที่3      หายใจเข้าจมูก  ลำคอ  หน้าอก  ลิ้นปี่  ช่องท้องเหนือสะดือ  ใต้สะดือ  ทะลุไปก้นกบด้านหลัง
กระดูกสันหลัง  ขึ้นไปต้นคอด้านหลัง  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  กลางกระหม่อม  หน้าผาก   ออก
จมูก
     

คำสั่งที่4    หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่2 ข้าง  มารวมกันที่กระดูกสันหลังตอนกลาง  ไหลเรื่องลงไปที่ก้นกบ  ทะลุไปที่ช่องท้อง  ขึ้นมาที่สะดือ  ลิ้นปี่  หน้าอก  ลำคอ  ออกปาก

คำสั่งที่5    หายใจเข้าจมูก  ลำคอ  หน้าอก  ลิ้นปี่   ช่องท้อง  หัวเหน่า  แยกไปที่ขา 2ข้าง  หัวเข่า  หน้าแข้ง  ข้อเท้า   ส้นเท้า  ฝ่าเท้า  ปลายนิ้วเท้า  หายใจออก

คำสั่งที่6    หายใจเข้าจมูก  ลำคอ  หน้าอก  ลิ้นปี่  ช่องท้อง  หัวเหน่า แยกไปที่ขาท่อนบน  2 ข้าง ลงไปที่หัวเข่า  หน้าแข้ง  ข้อเท้า   ส้นเท้า  หลังเท้า  ฝ่าเท้า  นิ้วเท้า  หายใจออก

คำสั่งที่7    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่  2 ข้าง  ต้นแขน 2 ข้าง  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  ฝ่ามือ  ปลายนิ้วมือ  หายใจออก

คำสั่งที่8    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่  สะบัก 2 ข้าง  มารวมกันที่กระดูกสันหลัง  ลงไปที่ก้นกบ  แยกไปที่ก้นซ้าย-ขวา  ขาพับซ้าย-ขวา  ท่อนขาล่างด้านหลัง  ข้อเท้า ส้นเท้าซ้าย-ขวา  ฝ่าเท้า  ปลายนิ้วเท้าหายใจออก

คำสั่งที่9    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ 2 ข้าง  ท่อนแขน 2 ข้าง  ข้อศอก ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  ฝ่ามือ  ปลายนิ้วมือหายใจออก

คำสั่งที่10    สูดลมหายใจเข้าปลายนิ้วมือ  ทำความรู้สึกว่าปลายนิ้วมือดูดลมเข้า  ฝ่ามือ  ข้อมือ    ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านบน  รักแร้  หัวไหล่  บ่า 2 ข้าง  ต้นคอด้านหลัง  กะโหลกศีรษะ  กลางกระหม่อม  หน้าผาก  ออกจมูก
    

คำสั่งที่11       ผ่อนคลายสูดลมเข้า  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้  ให้ลมซ่านไปทั่วสรรพางค์กายช้าๆ จนปอดขยาย  อกใหญ่กายพอง หายใจออกเบา  ยาว  หมด  รู้
    

คำสั่งที่12       สูดลมหายใจเข้าจมูก  หลอดลม  หน้าอก  ลิ้นปี่  ช่องท้อง   ลงไปที่สะดือ  ใต้สะดือ  หัวเหน่า ทะลุ
ไปที่ก้นกบ  กระดูกสันหลัง  ไหลขึ้นไปจนถึงสะบักด้านหลัง  ไปหัวไหล่  ท่อนแขนด้านบน
ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  ฝ่ามือ  ปลายนิ้วมือ  หายใจออก
หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ 2 ข้าง  สะบักด้านหลัง  กระดูกสันหลัง  ลงไปที่ก้นกบ  ไปที่ก้นซ้าย-ขวาด้านหลัง  ข้อพับซ้าย – ขวา  ท่อนขาด้านหลัง  ข้อเท้า  ฝ่าเท้า  ปลายนิ้วเท้าหายใจออก

คำสั่งที่13    หายใจเข้า  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้
หายใจออก  เบา  ยาว  หมด  รู้

คำสั่งที่14    ต่อไปฝึกเดินลมตามจุด  จุดสุริยะ-อาโป   อยู่กลางฝ่ามือขวา  และซ้าย

คำสั่งที่15    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง   บ่า 2 ข้าง  หัวไหล่ 2 ข้าง  ต้นแขนด้านบน  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  กลางฝ่ามือหายใจออก

คำสั่งที่16    ยกฝ่ามือขวาขึ้นมาด้านหน้า    งอข้อศอกขวา  ให้ฝ่ามือหงายขึ้น    บริเวณลิ้นปี่

คำสั่งที่17    หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ข้างขวา  ท่อนแขนบนขวา  ข้อศอกขวา  ท่อนแขนด้านล่างขวา  ข้อมือขวา  ฝ่ามือขวา  ใจกลางมือขวาหายใจออก
    ทำอย่างนี้ไปแล้วเพ่งมืออยู่ที่กลางฝ่ามือ  ให้ลมออกจากกลางฝ่ามือ  แล้วดูว่าไอร้อนออกจากกลางฝ่ามือขวามีไหม  แล้วสลับ
    หายใจเข้ากลางฝ่ามือ  ข้อมือ  ท่อนแขนขวาด้านล่าง  ข้อศอกขวา  ท่อนแขนบนขวา   หัวไหล่  บ่า  ต้นคอ  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  กลางกระหม่อม  หน้าผากออกจมูก
    หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ขวา  ท่อนแขนบนขวา  ข้อศอกขวา  ท่อนแขนด้านล่างขวา ข้อมือขวา  ฝ่ามือขวา  กลางมือขวา หายใจออก
 ทำให้คล่องให้ชำนาญ  เพ่งไปทั้งเข้าและออกสลับกัน  จนกลายเป็นไฟลุกอยู่ที่กลางฝ่ามือ  มีไออุ่นปรากฏชัดทั้งเข้าและออก  เข้าที่กลางฝ่ามือออกจมูก  เข้าจมูกออกที่กลางฝ่ามือ  สลับไปมาเรียกว่า  สุริยะ-วาตะ
ให้ออกและเข้าอยู่ที่กลางฝ่ามือขวา  รับรู้จิตเพ่งอยู่ที่เข้าและออกกลางฝ่ามือขวา  แล้วตามลมที่เดินเคลื่อนไปตามจุด  เมื่อลมเข้าก็รู้ว่าเข้าอยู่  เดินไปตามจุดต่างๆ  ฝ่ามือ  ข้อมือ  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านบน  หัวไหล่ขวา  บ่า ต้นคอ  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  กลางกระหม่อม  หน้าผาก  ออกจมูก
หายใจเข้าก็รู้อยู่ที่จมูก  หน้าผากก็รู้อยู่ที่หน้าผาก  กลางกระหม่อมก็รู้อยู่ที่กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะก็รู้อยู่ที่กะโหลกศีรษะ  ต้นคอก็รู้อยู่ที่ต้นคอ  หัวไหล่ขวาก็รู้อยู่ที่หัวไหล่ขวา  ต้นแขนบนก็รู้อยู่ที่ต้นแขนบนขวา  ข้อศอกก็รู้อยู่ที่ข้อศอกขวา   ท่อนแขนด้านล่างก็รู้อยู่ที่ท่อนแขนด้านล่างขวา  ข้อมือก็รู้อยู่ที่ข้อมือขวา  กลางมือขวารู้อยู่แล้วหายใจออกรู้อยู่จนเป็นไอร้อนพวยพุ่งดั่งเปลวไฟ  ทั้งเข้าและออก  ผิวหนังเรามีทั้งลมเข้าและลมออก  กระบวนการคายความร้อนภายในก็ไม่ใช่แค่รูทวาร  แม้รูขุมขนทุกรูขุมขนก็มีไอร้อน  ไออุ่น  ไอเย็น  ปรากฏชัด   รวมทั้งมีลมหายใจออกได้ด้วย  อย่ากลั้นลมหายใจ  ให้ลมหายใจสอดคล้องทั้งเข้าและออก  ไอร้อนที่ใหญ่ขึ้นๆๆ  อย่าตกใจ  เราไม่ได้สนใจไอร้อนที่กลางฝ่ามืออย่างเดียว  เราสนใจไปแม้กระบวนการการเคลื่อนไหวของปราณ  และลมที่กระทบ รวมแล้วท่อลมระหว่างแขนมาจมูก ต้องรู้ตลอด  ทะลวงให้เป็นท่อเหมือนแก้วผลึก  มองเห็นชัดว่ามีลมผ่าน  ทั้งเข้าและออกชัดเจน

คำสั่งที่18    ค่อยๆลดมือขวาลงแล้วยกมือซ้ายขึ้นมาแทนสลับแขนกัน  
สูดลมหายใจเข้าจากกลางฝ่ามือซ้ายขึ้นมา ที่ข้อมือซ้าย  ท่อนแขนด้านล่างซ้าย  ข้อศอกว้าย  ท่อนแขนด้านบนว้าย  หัวไหล่ซ้าย  บ่าซ้าย  ต้นคอ  กะโหลกศีรษะ  กลางกระหม่อม  หน้าผากออกจมูก
    หายใจเข้าจมูก หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง   บ่าซ้าย  ไหล่ซ้าย  ต้นแขนซ้าย   ข้อศอกซ้าย  แขนท่อนล่างซ้าย  ข้อมือซ้าย  ฝ่ามือซ้าย   กลางฝ่ามือซ้ายหายใจออก  ( ทำให้ได้เหมือนกับมือขวา)
    ตามดูลมไปทุกขณะอย่าดูแค่ที่กลางฝ่ามือเฉยๆ  เพราะดูแค่กลางฝ่ามือเฉยๆเดี๋ยวก็ไอร้อนเคลื่อน  จิตก็จะเคลื่อนตาม  ต้องตามดูฝึกให้จิตได้ทำการงานทุกขณะ  แล้วเป็นขณะแต่ละขณะที่เราคุมได้  ชัดเจน  เรียกว่าฝึกให้จิตแกร่ง  เคลื่อนจิตให้มีอานุภาพ  มีพลัง   เหมือนกับคนที่วิ่งออกกำลังกายก็ยิ่งได้กำลังขา  จิตยิ่งรับรู้ในขณะของลมที่เดินแต่ละขณะๆก็ยิ่งมีกำลังจิตแกร่งมากขึ้น  อย่าเพ่งอยู่แค่  จุดใดจุดหนึ่งอย่างเดียว  ถ้าจุดนั้นเคลื่อน  จิตก็จะเคลื่อนตามด้วยไม่ถูกต้อง  เพราะวิชาปราณโอสถ  เราต้องอาศัยพลังภายในปราณ  หรือกำลังปราณภายในเพื่อกระตุ้นชีวิตอินทรีย์   ถ้าปล่อยให้มันนิ่งอยู่มันกระตุ้นอะไรไม่ได้  ต้องให้มันเคลื่อนแล้วเคลื่อนอย่างคล่องแคล่ว  ชัดเจน  หายใจเข้า  และออกให้ชัดเจน  สลับกันเข้าจมูกออกกลางฝ่ามือซ้าย  เข้ากลางฝ่ามือซ้ายออกจมูก  มองอยู่ภายในเผื่อจะมีความรู้อะไรขึ้นมาบ้าง

คำสั่งที่19    สูดลมหายใจเข้าลึกๆ  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้  ขยายปอด  ตัวพอง
    หายใจออก ลดท่อนแขนซ้ายลงข้างลำตัว  ผ่อนคลาย
    หายใจเข้า กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้
    หายใจออก  ยาว เบา หมด  รู้
    หายใจเข้าภาวนาสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
    หายใจออกสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
    ยกมือไหว้พระกัมมัฏฐานแล้วลืมตา  นั่งลง

วิชาปราณโอสถมีเคล็ดอยู่ 2 อย่าง  คือทำกำจัด  กับทำสร้างพลัง  ทำกำจัดก็คือทำแล้วทิ้งเช่นกำจัดของเสียออกมา  แต่ทำแล้วสร้างพลังก็คือทำแล้วต้องหมุนเวียนเหมือนดั่งวงกลมที่ไม่มีวันจบสิ้น  จุดเริ่มต้นคือจุดจบ  จุดจบคือจุดเริ่มต้น  ต้องทำให้ได้อย่างนั้นจึงเรียกว่าทำสร้างพลัง  แต่ถ้าทำกำจัดเพื่อขับไล่ของเสีย  กำจัดโรคร้ายภายในก็ทำแล้วต้องปล่อย  คือขับแล้วต้องทิ้งออกมาในทวารใดทวารหนึ่ง  ส่วนใดส่วนหนึ่ง  อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง  จุดใดจุดหนึ่ง  อย่างนี้เขาเรียกว่าทำกำจัด


การปฏิบัติธรรมภาคบ่าย
เรื่องปราณกำจัด
วันที่11 พฤษภาคม 2551

คำสั่ง    ลุกขึ้นยืนปรับสมดุลของร่างกาย  หลับตา

คำสั่งท่าที่1    หายใจเข้า  ยกมือขวาขึ้น  งอข้อศอก  หงายฝ่ามือขึ้น ให้อยู่บริเวณหน้าอก
    หายใจออก  ค่อยๆลดลงข้างลำตัว
    (ทำท่านี้  10 ครั้ง)  พอยกฝ่ามือขึ้นถึงหน้าอก ลิ้นปี่ให้สังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นที่ฝ่ามือก่อนที่จะลดมือลง  สร้างความสังเกตเพิ่มขึ้น   พอหายใจเข้ายกมือขึ้นก็ลองมองดูลมเข้าด้วย   เพ่งที่ฝ่ามือด้วย

คำสั่งท่าที่2    สลับกัน หายใจเข้ายกมือซ้ายขึ้น  บริเวณหน้าอก
    หายใจออก  ค่อยๆลดลง
    (ทำอีก10ครั้ง)

คำสั่งท่าที่3    หายใจเข้ายกมือทั้ง 2 ขึ้นหงายฝ่ามือ  ปลายนิ้วมือห่างกันพอประมาณ
    หายใจออก  พลิกฝ่ามือทั้ง  2 คว่ำมือกดมือลงไปข้างลำตัว
    (  ทำท่านี้10ครั้ง   สังเกตดูซิมีแรงต้านไหมเวลาลดมือลง  )

คำสั่งท่าที่4    หายใจเข้ายกมือทั้ง 2ขึ้นเหนือลิ้นปี่  ยืนฝ่าเท้าแนบพื้น กางฝ่าเท้า  
    หายใจออก  คว่ำฝ่ามือลดมือลงข้างลำตัว  พร้อมแขม่วท้องดึงไส้ขึ้น  ยืนด้วยปลายเท้า
    หายใจเข้าลดฝ่าเท้าลงแนบพื้น  ยกมือทั้ง 2ขึ้นเหนือลิ้นปี่(บริเวณราวนม)
    หายใจออก  คว่ำฝ่ามือลดมือลงข้างลำตัว  พร้อมแขม่วท้องดึงไส้ขึ้น  ยืนด้วยปลายเท้า
    ( ทำท่านี้ 10 ครั้ง)  เวลายกมือขึ้นอย่าให้มือมาซ้อนกัน  ยกขึ้นมาพร้อมๆกันให้ปลายนิ้วห่างกันเล็กน้อย  สังเกตไอร้อนมีออกจากรักแร้ไหม  
    หมายเหตุ  ปลายฝ่าเท้ามีจุดอยู่10จุดที่กระตุ้นเลือดลมให้หมุนเวียนและถ่ายความร้อนได้ดี  ที่ให้กางฝ่าเท้า  กางแขนก็เพื่อให้ความร้อนมันระบายจนหมด มันจะได้ไม่มีมลทินตกค้าง  อย่างนี้เขาเรียกว่าปราณกำจัด   กำจัดของเสียภายในกาย  สิ่งที่จะกำจัดคือไอร้อนและของเสียที่คั่งค้างสะสมอยู่ในกาย  ในข้อกระดูก  ทำให้ต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นสายเดียวกันยิ่งวิเศษ  อย่ารีบร้อน  ทุกขั้นตอนต้องชัดเจน  ถ้ารีบร้อนก็จะไม่ได้ประโยชน์เสียเวลาเปล่า  ของใครของมันอยู่แล้ว  ใครทำใครได้
คำสั่งพัก    สูดลมหายใจเข้าลึก  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้
    หายใจออกผ่อนคลาย  ทิ้งแขน 2 ข้างข้างลำตัว
กำหนดเพ่งจุดต่อจากภาคเช้า

คำสั่งครั้งที่1    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ 2 ข้าง  ท่อนแขน 2 ข้าง  ข้อศอก 2 ข้าง  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ 2 ข้าง  ฝ่ามือ ปลายนิ้วมือหายใจออก

คำสั่งครั้งที่2    หายใจเข้าจมูก  ลำคอ  หน้าอก  ลิ้นปี่  ช่องท้องเหนือสะดือ  ใต้สะดือ  หัวเหน่า  ทะลุไปที่ก้นกบ  ขึ้นมาที่กระดูกสันหลัง  สะบัก2ข้าง  บ่า2 ข้าง รวมกันที่ต้นคอ ไปที่ศีรษะด้านหลัง  กลางกระหม่อม  หน้าผาก  ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่3    หายใจเข้าขึ้นจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอ  แยกไปบ่าซ้ายขวา  หัวไหล่ซ้าย-ขวา  ท่อนแขนด้านบน  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  ฝ่ามือ  ปลายนิ้วมือหายใจออก

คำสั่งครั้งที่4    หายใจเข้าจมูก  ลำคอ  หน้าอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง เหนือสะดือ  ใต้สะดือ หัวเหน่า  แยกไปหน้าขาซ้าย-ขวา  หัวเข่าซ้าย-ขวา หน้าแข้ง ข้อเท้า  หลังเท้า  ปลายนิ้วเท้าหายใจออก

คำสั่งครั้งที่5    หายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง   ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ สะบัก กระดูกสันหลัง  ก้นกบ  แยกไปสะโพก 2 ข้าง ลงไปขาพับ  ใต้ขาพับ  น่อง ข้อเท้า  ส้นเท้าฝ่าเท้า  ปลายนิ้วเท้าหายใจออก

คำสั่งครั้งที่6    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ 2 ข้าง  ท่อนแขนซ้าย-ขวา  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ กลางฝ่ามือหายใจออก

คำสั่งครั้งที่7    หายใจเข้ากลางฝ่ามือขวา  พร้อมกับยกฝ่ามือขวาขึ้นระดับหน้าอก  หายใจออกคว่ำฝ่ามือลดลง

คำสั่งครั้งที่8    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม  กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอ  หัวไหล่ขวาท่อนแขนบนขวา ข้อศอกขวา ท่อนแขนขวาด้านล่าง  ข้อมือขวา กลางฝ่ามือขวาหายใจออก

คำสั่งครั้งที่9    สูดลมหายใจเข้าจมูก  หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง หัวไหล่ขวา  ท่อนแขนด้านบนขวา  ข้อศอกขวา ท่อนแขนด้านล่างขวา ข้อมือขวา ฝ่ามือหายใจออก

คำสั่งครั้งที่10    หายใจเข้าพร้อมยกฝ่ามือขวาหงายขึ้นเสมอลิ้นปี่  กางข้อศอก  ทิ้งค้างเอาไว้

คำสั่งครั้งที่11    หายใจออกผ่อนคลาย  มือยังอยู่ในท่าเดิม    

คำสั่งครั้งที่12    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอ หัวไหล่ขวา ท่อนแขนบนด้านขวา ข้อศอกขวา ท่อนแขนล่างขวา  ข้อมือขวา  กลางฝ่ามือหายใจออก

คำสั่งครั้งที่13    หายใจเข้ากลางฝ่ามือขวา ข้อมือขวา ท่อนแขนล่างขวา ข้อศอกขวา ท่อนแขนบนขวา หัวไหล่ขวา ต้นคอขวา กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่14    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง บ่าขวาหัวไหล่ขวา ท่อนแขนบนด้านขวา ข้อศอกขวา ท่อนแขนล่างขวา  ข้อมือขวา กลางฝ่ามือขวาหายใจออก
    ออกหมดแล้วให้สังเกตดูว่ามีไอร้อนพุ่งขึ้นที่กลางฝ่ามือไหม  เรียกว่า สุริยะเทวะ

คำสั่งครั้งที่15    หายใจเข้ากลางฝ่ามือขวา ข้อมือขวา ท่อนแขนล่างขวา ข้อศอกขวา ท่อนแขนบนขวา หัวไหล่ขวา ต้นคอขวา กะโหลกศีรษะด้านหลัง กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่16    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง บ่าขวาหัวไหล่ขวา ท่อนแขนบนด้านขวา ข้อศอกขวา ท่อนแขนล่างขวา  ข้อมือขวา กลางฝ่ามือขวาหายใจออก

คำสั่งครั้งที่17    ลดฝ่ามือขวาลง

คำสั่งครั้งที่18    หายใจเข้าพร้อมยกฝ่ามือซ้ายขึ้นหงายฝ่ามือเสมอลิ้นปี่  กางข้อศอก  ทิ้งค้างเอาไว้

คำสั่งครั้งที่19    หายใจออกผ่อนคลาย  มือยังคงไว้เดิม

คำสั่งครั้งที่20    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง บ่าซ้ายหัวไหล่ซ้าย ท่อนแขนบนด้านซ้าย ข้อศอกซ้าย ท่อนแขนล่างซ้าย  ข้อมือซ้าย กลางฝ่ามือซ้ายหายใจออก  สังเกตดูซิว่ากลางฝ่ามือซ้ายมีไออุ่นออกไหม

คำสั่งครั้งที่21    หายใจเข้ากลางฝ่ามือซ้าย ข้อมือซ้าย ท่อนแขนล่างซ้าย ข้อศอกซ้าย ท่อนแขนบนซ้าย หัวไหล่ซ้าย ต้นคอซ้าย กะโหลกศีรษะด้านหลังทางซ้าย  กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่22    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง บ่าซ้ายหัวไหล่ซ้าย ท่อนแขนบนด้านซ้าย ข้อศอกซ้าย ท่อนแขนล่างซ้าย  ข้อมือซ้าย กลางฝ่ามือซ้ายหายใจออก  สังเกตดูซิว่ากลางฝ่ามือซ้ายมีไออุ่นไหม

คำสั่งครั้งที่23    สูดลมหายใจเข้า  ยกฝ่ามือขวาขึ้นเสมอ  ฝ่ามือซ้าย

คำสั่งครั้งที่24    หายใจออกผ่อนคลาย  ฝ่ามือยังอยู่คงเดิม  สังเกตอยู่ที่กลางฝ่ามือทั้ง2ข้าง

คำสั่งครั้งที่25    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง แยกไปที่บ่าซ้าย-ขวา  หัวไหล่ซ้าย-ขวา ท่อนแขนบนด้านซ้าย-ขวา ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย -ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา กลางฝ่ามือซ้าย-ขวา หายใจออก

คำสั่งครั้งที่26    หายใจเข้ากลางฝ่ามือซ้าย-ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย-ขวา ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนบนซ้าย-ขวา หัวไหล่ซ้าย-ขวา ต้นคอซ้าย-ขวา กะโหลกศีรษะด้านหลัง  กลางกระหม่อม หน้าผาก ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่27    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง แยกไปที่บ่าซ้าย-ขวา  หัวไหล่ซ้าย-ขวา ท่อนแขนด้านบนซ้าย-ขวา ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย -ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา กลางฝ่ามือซ้าย-ขวา หายใจออก

คำสั่งครั้งที่28    หายใจเข้ากลางฝ่ามือซ้าย-ขวา  ดูซิว่ามือดูดลมได้ไหม เข้าไปที่ข้อมือซ้าย-ขวา ไปที่ท่อนแขนล่างซ้าย-ขวา ไปที่ข้อศอกซ้าย-ขวา ไปที่ท่อนแขนบนซ้าย-ขวา ไปที่หัวไหล่ซ้าย-ขวา ไปที่ต้นคอซ้าย-ขวา มารวมกันที่กลางกะโหลกศีรษะด้านหลังเป็นเส้นเดียว  มากลางกระหม่อม มาที่หน้าผาก ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่29    สูดลมหายใจเข้าจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง แยกไปที่บ่าซ้าย-ขวา  หัวไหล่ซ้าย-ขวา ท่อนแขนบนด้านซ้าย-ขวา ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย -ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา กลางฝ่ามือซ้าย-ขวา ลมออกที่กลางฝ่ามือ

คำสั่งครั้งที่30    ดูดลมเข้าที่กลางฝ่ามือซ้าย-ขวา  ดูซิว่ามือดูดลมได้ไหมไอร้อนเข้าที่กลางฝ่ามือ เข้าไปที่ข้อมือซ้าย-ขวาร้อน ไปที่ท่อนแขนล่างซ้าย-ขวาร้อน ไปที่ข้อศอกซ้าย-ขวาร้อน ไปที่ท่อนแขนบนซ้าย-ขวาร้อน ไปที่หัวไหล่ซ้าย-ขวาร้อน ไปที่ต้นคอซ้าย-ขวาร้อน กะโหลกศีรษะด้านหลัง  มารวมกันกลางกระหม่อมไอร้อนขึ้น มาที่หน้าผาก ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่31    หายใจเข้าจมูก  หลอดลม  ลำคอ  หน้าอก ลิ้นปี่ ช่องท้อง เหนือสะดือ  ใต้สะดือ หัวเหน่า  ทะลุไปก้นกบ  กระดูกสันหลังสะบัก2ข้าง  บ่า2   แยกไปท่อนแขนด้านบนซ้าย-ขวา ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย -ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา กลางฝ่ามือซ้าย-ขวา หายใจออก

คำสั่งครั้งที่32    หายใจเข้ากลางฝ่ามือซ้าย-ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย-ขวา ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนบนซ้าย-ขวา หัวไหล่ซ้าย-ขวา  ไหปลาร้าซ้าย-ขวา  หลอดลม  มารวมที่ลำคอด้านหน้า  ออกปาก

คำสั่งครั้งที่33    หายใจเข้าจมูก หลอดลม  แยกไปที่ไหปลาร้า ไปที่บ่าและไหล่2ข้าง  ไปที่ต้นแขนซ้าย-ขวา  ข้อศอกซ้าย-ขวา ท่อนแขนล่างซ้าย -ขวา ข้อมือซ้าย-ขวา กลางฝ่ามือซ้าย-ขวา ลมออกที่กลางฝ่ามือ

คำสั่งครั้งที่34    ค่อยๆคว่ำฝ่ามือลดระดับลงไปที่หัวเหน่า  หายใจเข้าที่กลางฝ่ามือ  มาที่หลังมือ เรียกว่าสุริยะรัศมี จุดจะอยู่ที่หลังฝ่ามือตรงต้นนิ้วทั้งสิบ  ใช้ความรู้สึกดูที่ต้นนิ้วทั้งสิบซิว่ามีไอร้อนพุ่งขึ้นที่ต้นนิ้วทั้งสิบไหม  ต้นนิ้วข้อที่ติดกับนิ้วมือ  เรียกว่าสุริยะวงแหวนก็ได้  ให้ไอร้อนออกทางต้นนิ้วทั้งสิบ

คำสั่งครั้งที่35    สูดลมหายใจเข้าทางข้อนิ้วทั้งสิบ  มาที่หลังมือ  ข้อมือ มาที่ข้อพับแขน  ขึ้นมาที่รักแร้  ไหลไปที่ราวนม ไปที่หลอดลม เข้าลำคอ  ออกปาก

คำสั่งครั้งที่36    สูดลมเข้าจมูก  ลำคอ ไปที่ราวนม  แยกไปที่รักแร้ซ้าย-ขวา  ไปที่ท่อนแขนด้านบน  ข้อพับ  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือด้านหลัง มาที่หลังมือ  ข้อนิ้วทั้งสิบหายใจออก

คำสั่งครั้งที่37    เลื่อนฝ่ามือทั้ง2 ขึ้นมาที่ลิ้นปี่สูดลมหายใจเข้า  -  หายใจออก

คำสั่งครั้งที่38    หายใจเข้าที่จมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่2ข้าง  แยกไปท่อนแขนซ้าย-ขวา  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  หลังมือ  นิ้วมือ  ลมออกที่ปลายนิ้วมือ

คำสั่งครั้งที่39    หายใจเข้าที่จมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่2ข้าง  แยกไปท่อนแขนซ้าย-ขวา  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  หลังมือ  นิ้วมือ  ลมออกที่ปลายนิ้วมือ  บังคับลมให้ออกที่ปลายนิ้วมือทั้งสิบให้ได้

คำสั่งครั้งที่40    สูดลมหายใจเข้าที่ปลายนิ้วทั้งสิบ  มาที่ส้นมือ  ข้อมือ มาที่ข้อศอก  ท่อนแขนด้านบน  หัวไหล่ ต้นคอ  รวมที่กลางกระหม่อม  หน้าผาก  ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่41    หายใจเข้าที่จมูก  หน้าผาก  กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่2ข้าง  แยกไปท่อนแขนด้านบนซ้าย-ขวา  ข้อศอก  ท่อนแขนด้านล่าง  ข้อมือ  หลังมือ  ข้อนิ้วมือ  ปลายนิ้วมือหายใจออก

คำสั่งครั้งที่42    ลดมือ 2 ข้างลงข้างลำตัวผ่อนคลาย

คำสั่งครั้งที่43    สูดลมหายใจเข้า  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้
    ค่อยหายใจออกเบาๆ  ยาว  เบา  หมด  รู้

คำสั่งครั้งที่44    หายใจเข้าภาวนาว่าสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข
    หายใจออกภาวนาว่าสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
 

คำสั่งครั้งที่45    คว่ำมือขวาข้างลำตัว  หักข้อมือขวา   เกร็งชี้นิ้วชี้ขวาขึ้นบน(ชี้เฉพาะนิ้วชี้)

คำสั่งครั้งที่46    หายใจเข้าที่จมูก    หน้าผาก  กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ขวา  ท่อนแขนด้านบนขวา  ข้อศอกขวา  ท่อนแขนด้านล่างขวา  ข้อมือขวา  หลังมือขวา  นิ้วชี้ขวา  ปลายนิ้วชี้ข้างขวาหายใจออก

คำสั่งครั้งที่47    นั่งลงขัดสมาธิหลับตา  คว่ำฝ่ามือที่หัวเข่าซ้าย-ขวา  หักข้อมือขึ้นเฉพาะมือขวา   ชี้นิ้วชี้ขึ้นด้านบนเกร็งไว้ไม่ให้นิ้วตก  

คำสั่งครั้งที่48    หายใจเข้าที่จมูก    หน้าผาก  กลางกระหม่อม กะโหลกศีรษะด้านหลัง  ต้นคอด้านหลัง  หัวไหล่ขวา  ท่อนแขนด้านบนขวา  ข้อศอกขวา  ท่อนแขนด้านล่างขวา  ข้อมือขวา  หลังมือขวา  ปลายนิ้วชี้มือข้างขวาหายใจออก

คำสั่งครั้งที่49    ดูดลมเข้าที่ปลายนิ้วชี้ขวา    หลังมือขวา ข้อมือขวา มาที่ข้อศอกขวา  ท่อนแขนด้านบนขวา  หัวไหล่ขวา ต้นคอ  กลางกระหม่อม  หน้าผาก  ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่50    ทิ้งลมหายใจ  เพ่งความรู้สึกไปที่ปลายนิ้วชี้ขวา  ปล่อยลมหายใจเป็นธรรมชาติ  เอาจิตจับที่ปลายนิ้วชี้ขวา  ทำความรู้สึกเหมือนลำเทียนที่มีเปลวไฟลุกอยู่ที่ปลายเทียน  จึงจะเรียกว่าใช้ได้  (ถ้าไหลเข้ามาที่ลิ้นปี่ เห็นท่าไม่ดีก็ให้มาขับปราณกลับมาที่ลมหายใจแล้วไล่ลงไปที่ปลายนิ้ว  หาวิธีแก้อารมณ์ตัวเอง  ให้เดินลมไปที่ปลายนิ้ว  แล้วใช้นิ้วดูดลมกลับเข้ามา  เดินลมแล้วก็ทิ้งลมกลับมาดูที่ปลายนิ้วเหมือนเดิม  ดูว่ามีไอร้อนพุ่งจากปลายนิ้วไหม)นิ้วชี้เป็นนิ้วที่สัมผัสได้ดีกว่านิ้วอื่นๆถือว่าเป็นนิ้วที่ง่ายที่สุด  ถ้าเป็นนิ้วอื่นจะยากกว่านี้

คำสั่งครั้งที่51    ดูดลมเข้าที่ปลายนิ้วชี้ขวา    หลังมือขวา ข้อมือขวา ท่อนแขนด้านล่าง มาที่ข้อศอกขวา  ท่อนแขนด้านบนขวา  หัวไหล่ขวา ต้นคอด้านหลัง  กะโหลกศีรษะ  กลางกระหม่อม  หน้าผาก  ออกจมูก

คำสั่งครั้งที่52    สูดลมหายใจเข้า  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้
    หายใจออก  เบา  ยาว  หมด  รู้
คำสั่งพักลืมตา    ฝึกจนสามรถทำให้ปลายนิ้วทั้งสิบเหมือนดั่งลำเทียน  สามารถมีไออุ่นและแสงเปลวขึ้นจากปลายนิ้วให้ได้  ฝึกจนกระทั่งช่ำชอง  ให้เชี่ยวชาญ  การเดินลมจะต้องประกอบทุกครั้ง
แผ่เมตตา    กำหนดจิต นิ่ง เบา สบาย หายใจเข้าสัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข  หายใจออกสัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์
    สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข  เราต้องรู้สึกได้แม้ความสุขเราก็กล้าที่จะให้กับสรรพสัตว์  สัตว์ทั้งปวงจงพ้นทุกข์  ต้องรู้สึกให้ได้ว่าความทุกข์ทั้งปวงของสรรพสัตว์   แม้เราสามารถแบ่งปันได้  เราก็กล้าที่จะแบ่งปัน  เพื่อให้สัตว์ทั้งปวงพ้นทุกข์ได้จริงๆ  จนกระทั่งความอิ่มเอิบ  ปีติสุขที่เกิดขึ้นจากการให้อย่างไร้สิ่งตอบแทน  ให้โดยไม่มีจำกัด  ไม่มีประมาณ  จนจิตอบอวลไปด้วยกลิ่นอายความหอมหวานในเมตตาธรรมที่เกิดขึ้น  เหมือนจิตแห่งน้ำอมฤตที่ชุ่มฉ่ำอิ่มเอม  เบิกบานแจ่มใส  ไม่ใช่คลุมเครือ  เศร้าหมอง   อย่างนี้ก็ถือว่าสัตว์ทั้งปวงก็ยังเป็นทุกข์อยู่
คำสั่ง    สูดลมหายใจเข้าลึกๆ  กว้าง  ลึก  เต็ม  รู้
    หายใจออกผ่อนคลาย  ยกมือไหว้พระกัมมัฏฐาน ลืมตา  
    อย่างนี้เขาเรียกจิตเมตตา