ก่อน อื่นต้องขออภัยบรรดาท่านทั้งหลายที่มาแล้วไม่มีโอกาสเข้าไปคุยเหตุผลก็เพราะ ว่าหลายวันมานี้รู้สึกป่วย สาเหตุก็เพราะว่าเมื่อสองสามวันก่อนนั้น มีชาวบ้านมาจากแปดริ้ว เห็นว่าสู้อุตส่าห์เดินทางตี 2 มารอจนถึงบ่าย 3 โมงเย็นจะให้รักษาโรค ปกติหลวงปู่ก็ป่วยอยู่แล้ว แต่เห็นเขาสู้อุตส่าห์อดทนทรมานมาตั้งไกล อายุก็เยอะๆ ทั้งนั้น ก็เลยลงมือรักษาให้เขา วิธีรักษาโรคก็ต้องใช้พลังเพราะไม่มียาประกอบ ปกติมีข้อห้ามประจำตัวว่า วันหนึ่งจะรักษาโรคไม่เกิน 3 คน แต่วันนั้นรักษาถึง 17 คน พอเขาไป แล้วเราก็เลยแย่จนถึงวันนี้ เพลียไปหมด แรงก็ไม่มี กลางคืนนอนกระดูกแทบขาด มันปวดกระดูก ไข้ขึ้นต่ำๆ ปรอทวัดไม่ได้ แต่ว่ามันร้อนทรมาน กลางคืนนอนไม่ได้เพราะมันมีไข้ตลอด
       
       จริงๆ แล้ววันนี้ก็อยากจะหยุดที่จะพูด แต่เผอิญวันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ตรงกับรายการกระจกจริยธรรม ซึ่งจะต้องปุจฉา-วิสัชนา ถาม-ตอบปัญหา ก็มานึกอยู่ว่าถ้าหยุดจะดีไหม มันก็ดีเป็นเหตุผลส่วนตัว แต่มันไม่ได้ประโยชน์ต่อส่วนรวม ประโยชน์ส่วนรวม ประเด็นที่ 1 ก็คือ ชาวบ้านที่เขาเข้าใจว่า วันนี้เป็นวันที่ได้ฟังการถาม-ตอบปัญหา พวกเขาก็จะพากันมา ประเด็นที่ 2 ก็คือ เกี่ยวกับพระศาสนา
       
       เมื่อสมัยก่อนเคยสอนเรื่องบุรุษที่แข็งแกร่ง ซึ่งมีในพระธรรม พระพุทธเจ้าอายุ 80 เดินได้วันละ 1 โยชน์คือ 10 กิโลเมตร ทั้งที่ร่างกายของพระองค์ทรงป่วยลงพระโลหิต เลือดไหลออกมาทางทวาร ถ่ายออกมาเป็นเลือดก็ยังไม่หวาดหวั่นต่อมัจจุราช และอาการเจ็บป่วยทางกาย ถ้าเราเป็นชาวศากยะบุตร ก็ไม่ควรจะละเว้นหน้าที่ของความเป็นพุทธบุตร โดยการไม่ปฎิเสธหน้าที่ที่จะต้องทำ และก็ทำต่อไป อย่าได้ไปหยุด ถ้าเราไปหยุดเสีย ก็เท่ากับว่าเราปฎิเสธประโยชน์ส่วนรวมแห่งพระศาสนา คือ ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ พอป่วยแล้วก็เลิกทำอะไรอย่างนั้นไปมีชาวบ้านเขาขอให้หยุดเหมือนกันนะ แต่ถ้าหยุดแล้วมันก็จะกลายเป็นตัวอย่าง เพราะตัวเองได้ชื่อว่าเป็นผู้นำทางวิญญาณ เป็นครูทางวิญญาณ มันไม่ควรจะนำลูกหลานไปสู่ความขี้เกียจเห็นแก่ตัวมากเกินไป แม้ว่าจะเกิดอาการเจ็บป่วยทางกาย ก็อย่าเอามาเป็นอารมณ์จนทำให้หัวใจเราต้องเศร้าหมองขุ่นมัว หรือทำประโยชน์สุขให้แก่ชาวบ้านไม่ได้ แล้วถ้าจะมีคำถามว่า ป่วยอย่างนี้แล้ว มันจะสามารถตอบปัญหาได้ เหมือนกับตอนที่ไม่ป่วยได้หรือเปล่า ก็ร่างกายป่วย แต่ใจไม่ป่วยก็ถือว่ายังใช้ได้ ก็จะต้องดำเนินรายการต่อไป หลวงปู่ให้ชื่อรายการนี้ว่า กระจกจริยธรรม ก็คือเราสามารถมาส่องกับหลวงปู่ หลวงปู่จะทำตัวเองให้เป็นกระจกใส ในคำตอบ ที่ควรจะตอบ คือทำให้คนมาส่องแล้วได้ความกระจ่าง สว่างโพล่ง โล่ง เบาสบายกลับไป โดยความเข้าใจ ว่าสิ่งที่ตนเองจะทำต่อไปคืออะไร และสิ่งที่ตัวเองเข้าใจนั้น ว่าถูกหรือผิดอย่างไร
       
       ปุจฉา : วิสัชนา เรื่องจิตเป็นเรื่องละเอียด สภาวะจิตโดยแท้จริงนั้น เป็นที่นำมาซึ่งความสงบสุข และให้ถึงความหมดจดแห่งความทุกข์ และไม่เกี่ยวกับความสุขนั้น หลวงปู่มีแนวทางปฎิบัติอย่างไร?
       
       วิสัชนา : เรื่องจิตไม่ติดใน สุข ทุกข์ คือจิตของผู้รู้ คือรู้แบบพุทธะ หลวงปู่ไม่อยากบอกว่าตัวเองเป็นผู้รู้ แต่ต้องการจะบอกให้พวกเรารู้ว่า จิตของพุทธะ คือสภาวะของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาอาการ ของสภาวะจิตซึ่งปราศจากการปรุง เคยเขียนบทโศลก เพื่อสอนลูกหลานไว้ว่า ลูกรัก ประตูของธรรมชาติ จักรวาล และนิพพาน จะเปิดก็ต่อเมื่อใดที่ใจเจ้าไร้การปรุงแต่ง เราสามารถจะเปิดประตูของธรรมชาติ จักรวาล และนิพพานได้ เมื่อจิตเราไร้การปรุงแต่ง สุขและทุกข์อยู่ที่ใจมิใช่หรือ ถ้ายึดถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส ไม่ยึดถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ เพราะฉะนั้น คำตอบตรงนี้ควรจะตอบว่า ขอเพียงไม่ยึดถือมัน ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์
       
       มีนิทานเรื่องหนึ่งว่า มีคนอยู่คนหนึ่ง เป็นคนบ้าเงิน เห็นเงินที่ไหนจะต้องเข้าไปแย่งมาให้ได้ ครั้งหนึ่งเขาเดินไป เจอเงินวางอยู่บนโต๊ะ เขาไม่ใส่ ใจว่าสิ่งรอบข้างจะเป็นใคร และมีใครมองดูเขาอย่างไร แต่เขาตรงไปหยิบ เงินนั้นใส่กระเป๋า แล้วก็เดินออกไปเฉยๆ พวกตำรวจเห็นก็ไล่จับแล้วก็ถามว่า ทำไมท่านกล้าที่จะขโมยเงินและหยิบเงินต่อหน้า ชาวบ้๚ฝจำนวนมากในกลางตลาด เขาบอกว่าตอนที่เขาหยิบเงิน เขามองไม่เห็นอะไรเลย คือเห็น แต่เงินกองโตเท่านั้น สภาวะที่มีแต่เงินอยู่ในหัวใจเต็มเปี่ยม จึงปิดบังดวงตา แห่งปัญญาญาณของเขาที่จะไปรู้โทษ ของสิ่งรอบข้าง ก็เลยทำ ให้เขากล้า ที่จะไปหยิบเงิน ของชาวบ้าน เพราะฉะนั้น สำหรับจิตของพุทธะ มันคนละเรื่องกับนิทานเรื่องนี้ จิตของพุทธะนั้นมีความละเอียดอ่อน ซึ่งไม่ได้มุ่งตรงไปกับอะไร แต่เป็นจิตที่ได้ ประโยชน์จากอะไรในสิ่งรอบข้าง รู้จักอ่านเกมส์ อ่านกาล อ่านวิธีกรรม และอ่านการกระทำที่เกิดขึ้นรอบข้างให้ได้ออก ในขณะเดียวกัน ต้องบอกตัวเองให้ได้ว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงแค่มายา การ ไม่ได้ทำให้เราต้องตกเป็นทาส ไม่ต้องเป็นนายมัน มันก็ไม่ต้องมาเป็นนายเรา มันเป็นเพียงแค่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และก็ดับไป เป็นมายาการ เป็นมายาภาพ เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็ไม่กล้าที่จะไปหยิบเงินของใคร เพราะจิตใจเรารู้สึกว่า โทษและภัยมันย่อมเกิดตามมารวมความแล้วคนที่จะมีจิตปลดปล่อย และวางได้อย่างอิสระ ไม่ยึดติดในสุข ในทุกข์นั้น คือคนที่ไร้ความปรุงแต่งในหัวใจ ก่อนจะถึงความปรุงแต่งในหัวใจ ก็ต้องเป็นคนที่ มุ่งมั่น หมั่นหมายใจ มั่นคงในการฝึกปรือ และเรียนรู้ กฎเกณฑ์และกติกา ธรรมดาของโลก อะไรเป็นกฎเกณฑ์ และธรรมดาของโลก คือ การเกิดขึ้น สรรพสิ่งทั้งหลาย สรรพวัตถุ สรรพชีวิต สรรพทุกข์ เกิดขึ้น และกฎข้อที่ 2 คือ ตั้งอยู่ และกฎข้อสุดท้าย คือ ความดับไป นี่คือกฎกติกาของธรรมชาติ เมื่อเรารู้ดังนี้แล้ว เราก็จะไม่ใส่ใจกับความสุข และความทุกข์ ที่ชาวบ้าน เขามอบหมายให้ ไม่ใส่ใจในลาภ ไม่หลงใหลในยศ และไม่มอมเมาในชื่อเสียงสุดท้ายเราก็กลายเป็นพุทธะผู้อิสระ โดยไม่ต้องมีใครเป็นนายเรา แต่ในขณะเดียวกันเราต้องเป็นนายอะไรได้อย่างสมบูรณ์ เพราะการที่เรารู้จักกฎเกณฑ์ ธรรมดาของโลก จักรวาล และกฎของธรรมชาติที่เที่ยงตรง จบ!
       
       ปุจฉา : อยากทราบว่าฝันเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้าบางคนฝันร้าย และเกิดกลัว คิดมาก ความฝัน นั้นจะเป็นจริงหรือไม่อย่างไร?
       วิสัชนา : ความฝันเกิดขึ้นได้จากเหตุ 4 อย่าง คือ
       
       1. ลมกำเริบ ร่างกายเรานี้มีธาตุลม คือความไม่ปกติแห่งธาตุ เราอาจจะกดเก็บ คิดมาก ใคร่ครวญ วิตกกังวล และเก็บเอาไว้ จนกลายเป็นความกำเริบเมื่อตอนนอนหลับเขาว่าคนนอนหลับ เป็นคนไม่ใช่คน เหมือนมีคำถามที่พราหมณ์ มาถามพระพุทธเจ้าว่า สาวกของพระองค์เป็นพระทุกลมหายใจหรือเปล่า พระศาสดาทรงแสดงต่อพราหมณ์ผู้นั้นว่าไม่เลย พราหมณ์ ตราบใดที่สาวกแห่งเราเป็นคนขาดสติ คนมอมเมา คนงมงาย และก็คนหลับแสดงว่าพระพุทธเจ้า ก็ไม่ถือว่า คนที่บวชเข้ามาตอนหลับนั้นเป็นพระ และเป็นอะไร ก็เป็นสามัญชนธรรมดา เพราะคนหลับคือคนขาดสติ เราศาสดาไม่ยอมรับคนขาดสติเป็นสาวก การหลับมันขาดผู้ควบคุมกิริยาอาการที่เราเก็บกดเอาไว้ สมัยที่มีสติก็ไม่มีการเก็บกดเพราะขาดผู้ควบคุมก็จะกำเริบ แล้วก็เลื่อนไหลออกไป แสวงหาสิ่งต่าง ๆ นอกกายเขาเรียกว่า ลมกำเริบ อีกประเด็นหนึ่งของลมกำเริบคือ ร่างกายไม่ปกติ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย สุขภาพไม่ดี ก็เป็นเหตุ ทำให้เกิดความฝัน
       
       2. จิตอาวรณ์ คือคนคิด นอนก็คิด นั่งก็คิด คิดแต่เรื่องที่เราต้องการคิด เราคิดได้ทุกอิริยาบถ ในขณะเดียว กันเวลาหลับมันก็นำเอาไปคิดด้วย เช่น สาวคิดถึงหนุ่ม เป็นต้น ก็ทำให้เกิดความฝัน
       
       3. ลางสังหรณ์ ความสังหรณ์นี้ มันอาจเกิดขึ้นใน 60% ของความจริงคือเราสังหรณ์ว่า ถ้าเราไป วัดฝนต้องตกแน่ๆ เป็นเพียงแค่ลางสังหรณ์ แล้วมันก็เผอิญตกมาจริงๆ ตามที่เราสังหรณ์ เรียกว่าเกิดโดยสังหรณ์ ลักษณะคล้าย กับคนที่มีความสัมผัสพิเศษ ที่เรียกว่า มิติที่ 4 สามารถสัมผัสได้แต่มันเลือนรางเต็มที่
       
       4. เทพบันดาล ประเด็นนี้ไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่จะเจอประเภทลมกำเริบ จิตอาวรณ์ อาจจะมีเหตุปัจจัยอะไรที่มันเกิดขึ้นจริงๆ ตัวอย่างเช่น เราเป็นคนปกติ คำว่าปกติ คือหลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ทำอะไรก็เป็นสุข จิตใจมัน โปร่งโล่งเบาสบาย แต่เผอิญนอนหลับไปแล้วมันได้เห็นอะไรสักอย่างนึง ซึ่งปรากฏว่าเราเห็นไฟไหม้ตรงนั้น เห็นน้ำท่วมตรงนี้ เหมือนอย่างเมื่อปีที่เขามีเหตุการณ์ที่ชื่อว่าพฤษภาทมิฬนั้น หลวงปู่นอนไป ประมาณตี 1 กว่า ๆ ก็มีความ รู้สึกว่า ตัวเองเดินไปบนอากาศ แล้วก็มีคนที่โดนยิงตาย จากหลายสถานที่ เดินขึ้นมาหาแล้วก็มากราบ และบอกว่า ผมหมดวาสนา ดิฉันหมดวาสนา หนูหมดวาสนา อะไรอย่างนี้ พอรุ่งเช้าครูที่เขาบวชชีพราหมณ์อยู่ เขาจะกลับไปโรงเรียน เราก็เลยบอกเขาว่า อีหนูเอ๊ย อย่าไปเลยโรงเรียนยังไม่เปิดหรอก เผอิญมันไปตั้งแต่ตี 4 ตอนสายเขาก็กลับมาใหม่ ในลักษณะอย่างนี้ เขาก็เรียกว่าเทพบันดาลก็ได้ เพราะเราได้ไปเห็นสิ่งที่มันเกิดล่วงหน้า แล้วมันก็เกิดได้จริงๆ ตามนั้น รวมความแล้วความฝันมันมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
       
       ปุจฉา : ให้หลวงปู่ช่วยสั่งสอนให้แนวทางปฏิบัติ แก่ฆราวาสให้อยู่เป็นสุขตามแนวปฏิบัติของพระพุทธองค์
       วิสัชนา : ควรจะทำหน้าที่ของตนโดยฐานะ โดยสภาวะ คือได้ทำหน้าที่ตามสถานะคือเป็นพ่อที่ดี เมื่อเราคิดว่าจะเป็นพ่อคน ต้องถามตัวเองว่า เราจะเป็นพ่อที่ดีของลูกเราได้ไหม เรารับผิดชอบต่อลูกและเมียของเราได้หรือเปล่า จึงคิดจะเป็นผู้นำครอบครัว แต่ถ้าเราไม่สามารถจะเป็นพ่อที่ดีของลูกไม่สามารถจะรับผิดชอบลูกเมียและเป็น ผู้นำที่ดีของครอบครัวได้ ถ้าขืนนำไปก็จะพาลูกพาเมียไปตกระกำลำบาก และทำให้เกิด ความระยำอัปรีย์ตามมา เป็นขยะสังคม เป็นปัญหาวุ่นวายภายหลัง และถ้าเราคิดอยากจะมีลูกโดยฐานะของความเป็นแม่และเมีย ก็ต้องถามตัวเราเองว่า เรารับผิดชอบต่อหน้าที่ของความเป็นศรีภรรยาที่ดี ต่อตัวได้ไหม และก็เป็นแม่ที่ดีคือแม่พระแก่ลูกได้หรือเปล่า ถ้าเราเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ให้แก่ลูกเราถือว่าครอบครัวตรงนี้จะมีความสุข ไม่มีใครจะมาปรามาส ด่าว่า ใส่ร้ายป้ายสี ซึ่งกันและกันเพราะความไม่ถูกต้องและบกพร่องในหน้าที่ของตน
       
       พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ใครเข้าป่า แต่สอนให้เรามีชีวิตอยู่ร่วมกันโดยความพี่งพิงอิงแอบอาศัย เราอยู่ร่วมกันโดยความสมัครสมานกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ประดุจดั่งแขนและขาในร่างกาย อวัยวะ ของเรา ไม่ใช่ประดุจดั่งพี่น้อง เพราะบางที่พี่น้องมันยังฆ่ากัน คำว่าพี่น้องเป็นคำเปรียบที่ล้าสมัยไปแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องเปรียบดังแขนและขาและอวัยวะทุกส่วนของเราที่คิดว่าไม่มีใครจะ กัดกัน ไม่มีใครจะทำร้ายร่างกายกัน และต่างคนก็ต่างจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราจะสังเกตได้จากตรงนี้ว่า เมื่อใดที่ใจเรา ชอบอะไรถึงมันจะเหม็นเราก็ยังบอกว่ามันชอบ เพราะฉะนั้นถ้าเรารักกันจริงๆ แล้วไม่มีอะไรที่จะน่ารังเกียจ สำหรับพวกเรา และหมู่วงสังคมที่เราร่วมอยู่
       
       แต่ถ้าหากเราแล้วมันไม่ชอบขี้หน้ากัน บางทีนอนกอดกันเมื่อคืน พอรุ่งเช้าก็มาด่ากันอะไรอย่างนี้ เพราะว่าเรามีความร้าวฉานในความคิด มีความแตกแยกในความเป็นอยู่และก็มีความแบ่งแยกว่ามึงเลว กูดี อย่าลืมว่านิพพานมีอยู่ 2 ชนิด นิพพานที่แปลว่า ดับและเย็น มีทั้งส่วนโลกียะ และโลกุตระ นิพพานอย่าง โลกียะแปลว่า อารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นกับเราให้มันดับและเย็น ความชอบก็ดี ความชังก็ดี ความยอมรับ ปฏิเสธที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราเกลียดและไม่ชอบ ก็รู้จักให้มันดับและก็เย็นไปเสียบ้าง เมื่อเราเข้าใกล้และเข้าหน้าใครไม่เคยติด เราก็จะรู้สึกว่า เข้าใกล้และเข้าหน้าเขาติดขึ้น เพราะเราไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เขามีเขาก็ไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจ ต่อสิ่งที่เรามี เพราะต่างคนต่างที่จะมองเห็นประโยชน์ต่อกันและกัน ก็จะช่วยกันรักษาประโยชน์อันนั้น
       
       แต่ถ้าทุกคนมองไม่เห็นประโยชน์ของกันและกัน สังเกตดูเถอะ มันจะคอยเอารัดเอาเปรียบกันคอย จะว่ากัน คอยจะทะเลาะกัน คอยจะส่อเสียดกัน มันก็กลายเป็นเรื่องราวร้าวฉาน แตกความสามัคคี และสุดท้าย ก็จะต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แม้แต่ลูกเมีย ครอบครัวก็จะแตกแยกกัน สมัยเรารักกันใหม่ๆ ถ้าเรารู้จักคิด ตดน้องยังหอมเหมือนดอกไม้ยามเช้าเลย แต่อยู่นานๆ ไปอะไรมันก็เหม็นไปหมด มันเกิดจากอะไร ไม่ใช่ เกิดจากหัวใจเราหรือ ไม่ใช่เกิดจากตด ไอ้ตดมันก็ตดคนเดิม ที่มันไม่เหม็นตอนนั้น เพราะว่าเรารักกัน แต่ที่ว่าวันนี้เราไม่รักกันก็เพราะว่ามันคนละเรื่องกับเรามันกลายเป็นศัตรู เรา ก็เลยไม่รู้สึกรักไปหมด
       
       ปุจฉา : ศรัทธา อย่างไรถึงจะให้มีขึ้นแต่ตัวเองได้ แล้วทำยังไงถึงจะให้ยอมรับในศรัทธาตนละ "ศรัทธาหมายความว่าอย่างไร และทำอย่างไรถึงจะศรัทธาในตัวเองได้" วิสัชนา : ศรัทธาหมายถึงอะไร ศรัทธาตัวนี้มี 2 ประเภท ถ้าเป็นศรัทธาอย่างชาวบ้าน ก็แปลว่าความเชื่อ แต่ถ้าเป็น ศรัทธาดั่งพุทธว่าแปลว่าปัญญา ญาณหยังรู้ ถามผู้ถามว่าจะเอาศรัทธาแบบไหน ศรัทธาแบบ ชาวบ้าน คือเขา บอกยังไงก็เชื่อตามเขา สมัยก่อนนี้ใครๆ ก็เขียนหนังสือบอกว่านิกร เป็นอรหันต์นะ ชาวบ้านก็เชื่อว่า นิกรเป็นอรหันต์นั่นแหละศรัทธาแบบชาวบ้าน และเดี๋ยวนี้เป็นอรหันต์จริงๆ อรหันต์แบบที่เขาเขียน ลงบอกไว้เลยนั้นแหละ ศรัทธาแบบชาวบ้าน
       
       ส่วนศรัทธาที่ใช้ปัญญาณหยั่งรู้ นั่นก็คือ การวิเคราะห์ให้ความเปรียบเทียบวิจารณ์พิจารณาเหมือน ดั่งที่พระเจ้าเกษมธิโกศล ถามพระพุทธเจ้าว่าพรหมณะทั้งแปดที่เขาถือกันว่าเป็นพระอรหันต์ในโลกนี้ นิครนถ์ ชฏิลฤษี นักบวชชี เปลือยเดินแก้ผ้าเดินล่อนจ้อน ทั้ง 8 คนนี้เป็นอรหันต์จริงหรือเปล่า พระพุทธเจ้าบอกว่า มหาบพิตร ถวายพระพร การที่พระองค์จะดูใครว่าเป็นอรหันต์หมดกิเลสหรือไม่นั้น ก็ต้องดูว่าเขาเป็นผู้บริโภคกามไหม ตกเป็นทาสของกามหรือเปล่า มีกามเป็นเจ้านายไหม แล้วก็มีกาม เป็นที่อยู่อาศัย มีกามเป็นเครื่องไปเครื่องมาหรือเปล่า ถ้าเขายังตกอยู่ในกาม มีกามเป็นเจ้านายกามเป็นที่อยู่อาศัย มีกามเป็นเครื่องไป เครื่องไป แสดงว่าจะหมดกามเป็นไปไม่ได้ ไอ้คนที่มาเขียนบอกเราว่าไอ้นิกรเป็นอรหันต์ มันก็ยังบริโภคกามเราก็เชื่อตามที่มันเขียน และนิกรก็บริโภคกามอย่างที่ไม่ได้เขียนไว้ แต่บังเอิญลับหลังบริโภคเข้า แต่ตอนนี้เราไม่รู้ว่ามันบริโภคจริงหรือไม่จริง แต่อย่างน้อยๆ เขาก็บอกเราว่าเป็นกามหรือ ปู่เคยตั้งข้อสังเกตว่า พวกนี้มันเขียนได้ยังไงว่าคนนี้หมดกาม ไอ้นั้นหมดกาม คนนั้นไม่มีกาม คนนั้นกามน้อย คนนี้กามมาก ทั้งๆ ที่มันก็ยังหนาไปด้วยกาม กามคือความทะยานอยาก ตัวมันเองยังมีความทะยานอยากอยู่เต็มเปี่ยมหัวใจ แล้วมันจะรู้ได้ยังไง ว่าใครไม่มีความอยาก หรือใครมีน้อยกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้น ทางออกแบบนี้ศรัทธาแบบนี้ก็เรียกว่าศรัทธาแบบชาวบ้าน แล้วเราก็เชื่อตามเขาไป จนยกผลประโยชน์ให้พวกโจรที่ปล้นเรากินชนิดที่ไม่ต้องประกาศชื่อ แต่เราก็ยอมรับโดยดุษฏี ว่าเขาปล้นแล้วยอมให้เขาปล้น โดยหน้าชื่นตาบาน นี้คือประโยชน์ของศรัทธาแบบชาวบ้าน จะเรียกว่าประโยชน์ ไม่ควรเรียกว่าเป็นโทษ เพราะเป็นประโยชน์ของคนที่ปล้นไม่ใช่คนที่โดนปล้น อย่างนิกรมันก็ได้ประโยชน์เราไปหลายรัฐ นี้เรียกว่า ศรัทธา แบบชาวบ้าน ส่วนศรัทธาที่มีปัญญาญาณหยั่งรู้ก็คือ ศรัทธาที่ใช้การวิเคราะห์พระพุทธเจ้าก็แสดงต่อพระเจ้า เกษมธิโกศลอีกว่า มหาบพิตรถ้าพระองค์อยากจะรู้ว่าใครเป็นอรหันต์นอกจากดูการบริโภคกามไม่ตก เป็น ทาสของกามไม่อยู่ในอำนาจกาม แล้วก็ไม่มีกามเป็นเครื่องอาศัย แล้วก็จะต้องดูที่หลายๆ อย่างดังนี้... พระ- องค์ทรงบอกมา แต่หลวงปู่จำไม่ได้หมด หลายๆ อย่างตรงนี้ที่เรามาเรียบเรียงได้ก็ดูที่การงาน ดูหน้าที่ ดู ตามดูสติปัญญา ดูว่าการงานเขาสะอาดไหม แค่ไหน มีพลังมีอำนาจหรือเปล่าในตัวมีพลังอำนาจหรือเปล่า สติปัญญาก็คือคำพูดคำจา พูดออกมาแล้ว คนฟังคิดใคร่ครวญตามไตร่ตรองตามวิจารณญาณแล้วสว่าง ขึ้นไหมทีนี้แล้วมาดูที่พระพุทธเจ้ายกปัญญาด้วยปัญญาตาม ในการมองพระเจ้าอย่างไร อันดับแรกดูการ งาน แล้ว พระเจ้าเกษมธิโกศลถามว่า แล้วการงานอย่างไรถึงจะเรียกว่าเหล่าอรหันต์ทั้งปวง การงานที่เป็นอรหันต์ก็คือ การงานที่สะอาดทั้งเบื้องในและเบื้องนอก ต่อหน้าและลับหลัง มากไปด้วยประโยชน์ และเต็ม ไปด้วยประหยัดนั้นคือ การงานที่สะอาด ไม่นำประโยชน์ตน แต่ถือว่าเป็นประโยชน์ส่วนรวมใหญ่ นั่นถือว่า เป็นการงานสะอาด แล้วดูที่อำนาจตบะ เมื่อใดที่เขาเจอเรื่องรุนแรงบีบคั้นหัวใจ กลายเป็นผู้ต้องโกรธ แต่ เขายังหัวเราะได้ สนุก และสบายใจ แสดงว่าผู้นั้นเป็นอรหันต์ เพราะอำนาจตบะสติสมาธิกับอยู่กับตัวเขาจึง ไม่เสียอะไรให้กับอารมณ์โดยโดนอารมณ์ฉุดกระชากจนกลาย เป็นทาสของมัน จิตใจมั่นคงประดุจดังขุนเขาไม่ว่าคลื่นลมทะเลจะพัดซัดกระหน่ำขนาดไหนก็ไม่ โยกสั่นคลอนง่อนแง่น ถือว่าบุคคลนั้นเป็นอริยเจ้า เป็นศากบุตรของตถาคต ดูที่กิจกรรม และดูที่เรื่องที่เกิด ต่อมาอยากจะรู้ว่าใครเป็นผู้มีปัญญาผู้ที่มีปัญญาอันเป็นคุณสมบัติของ อรหันต์ ดูที่คำพูด และการเจรจา พูดแล้วเจรจาแล้ว ทำให้เราสว่าง สะอาด สวยและเป็นพุทธ คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แจ่มแจ้งและหมดจดต่อการเจรจานั้น ๆ โดยไม่ต้องปวดหัวหมุนติ้วถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ ทรงไว้ซึ่งปัญญาญาณ เพราะฉะนั้น เราจะสามารถยังศรัทธาตนเองให้เกิดขึ้นแต่ตัวเราเป็นคำตอบที่ 2 นั้น ทำยังไงถึงจะทำให้เกิดศรัทธาแก่ตัวเราได้ ทำยังไงถึงจะศรัทธาตนเอง ก็สร้าง 3 สิ่งนี้ให้เกิดขึ้น คือการงานดี - ตบะดี- ปัญญาดี เมื่อเกิด 3 สิ่งนี้ก็จะศรัทธาในตัวเราได้ การงานดี ทำเพื่อเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นใหญ่ คำนึงถึงประโยชน์ภายในเป็นเกณฑ์ ทำเพื่อส่วนรวม ทำเพื่อพลี ทำเพื่อให้เกิด ประโยชน์เรียกว่าการงานสะอาด การงานดี ตบะดี ก็คือเราต้องรักษาใจเราให้เป็น 1. แนบแน่นสนิทจนกระทั้งไม่เกิดอารมณ์ชนิดใด ๆ ออกมา คือ สติ สมาธิ ตบะ ปัญญา คือ ความใคร่ครวญ ไม่ว่าจะรู้อะไร ฟังอะไร ดูอะไรดมอะไรและสัมผัสอะไร ต้องผ่านปัญญาการใคร่ครวญก่อนจะลงมือเชื่อแต่ว่าไม่เชื่อก็ปฏิเสธก็ไม่ใช่ ต้องผ่านการวิจารณ์ตรวจสอบ พิจารณาใคร่ ครวญจนละเอียดถี่ถ้วน จึงยอมรับหรือปฏิเสธ เมื่อเรามี 3 สิ่งนี้ คือ การงาน ตบะ ปัญญา ก็คือว่าเราแก่กล้า ด้วยศรัทธาในตัวเรา ความเปล่ากับความว่างคืออะไร ความเปล่าคือไม่ใช่ว่าง แต่ไม่เหมือนว่างคล้ายว่าง แต่ยังไม่ใช่ว่าง นั่นเรียกว่าความเปล่า ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นได้ว่าในอากาศชั้นของบรรยากาศมีฝุ่นธุลี เชื้อโรคลอยอยู่เต็มหลวงปู่เรียกตรงนั้นว่า ความเปล่า และในส่วนของฝุ่นละอองผงธุลีและเชื้อโรคเป็นบ่อเหตุของการก่อกำเนิดกรรม พฤติกรรม พลังงาน การกระทำ และการเกิดแก่เจ็บตาย เพราะฉะนั้นก็ให้คำนิยามของคำนี้ว่าความเปล่า ส่วนความว่าง ก็คือ สภาวะที่ไม่ใช่ฝุ่นละออง ไม่ใช่ผงธุลีแต่มันคือสิ่งที่ไร้ปฏิกิริยาสนธิคือปราศจากการก่อเกิด หรือสาเหตุของการก่อเกิดทั้งปวง เรียกได้ว่า "ความว่าง" ทำยังไงถึงจะเข้าไปสู่ความเปล่าและทำยังไงถึงเข้าไปสู่ความว่าง ได้อีกเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จริงๆ แล้วการที่เราจะทำตัวเองให้ถึงความเปล่าแห่งจิตเดิม จุดเดิมของจิตและก็จะถึงจุดเดิมของความเปล่าไปสู่ความว่างนั้น เริ่มต้นจากที่ทำ 3 ศักดิ์สิทธิ์ คือ กายศักดิ์สิทธิ์ จิตศักดิ์สิทธิ์ และธรรมศักดิ์สิทธิ์ กายศักดิ์สิทธิ์ คือ พยายามที่จะทำประโยชน์จากกายมีประโยชน์ ของการให้ประโยชน์กับกาย และ รับประโยชน์จากกาย เมื่อกายศักดิ์สิทธิ์แล้วสภาวะของการศักดิ์สิทธิ์เต็มเปี่ยมไปด้วยอานุภาพ เมื่อกายที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยการฝึกปรือ กายที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความอดทนอดกลั้น เสียสละ การให้ อ่อนน้อมถ่อมตน ย่อม เป็นสาเหตุที่ให้กระบวนการแห่งจิตกล้าแข็ง และมีความสมดุล เป็นจิตที่สมดุลและรักษาพลังงานอย่างไม่กระเพื่อม คงที่ทำให้เกิดธรรมะศักดิ์สิทธิ์ "ธรรมศักดิ์สิทธิ์" คือ ความไม่กระเพื่อมแห่งจิต ความสงบแห่งจิต ความหยุดแห่งจิต ความเสรีภาพของจิต มันจึงจะเกิดธรรมะศักดิ์สิทธิ์ ไอ้ธรรมศักดิ์สิทธิ์ตัวนี้แหละทำให้เกิดญาณหยั่งรู้รู้ว่าอะไร คือ ความเปล่า และจะทำให้เขาพันจากความเปล่าไปสู่ความว่างได้อย่างไร ดูอารมณ์ของ "สมุทัย" ก่อนที่เราจะรู้เรื่องอารมณ์ของสมุทัยนั้นในอริยสัจสี่ ข้อแรก ทุกข์รู้เหตุ ดับทุกข์ รู้ทางของทุกข์ รู้ภัยพิบัติความดับทุกข์ ถ้าจะถามหลวงปู่ว่าอารมณ์สมุทัยคืออะไร ก็มาไล่ใหม่ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อกี้หลวงปู่บอกว่ารู้ทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ ถ้าตามภาษาบาลีก็คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
       
       สมุทัยคือเหตุของทุกข์ ไม่ใช่คืออารมณ์ที่กระทบเข้ามา ให้เข้าใจเสียใหม่ รู้เหตุแห่งทุกข์รู้ข้อปฏิบัติ และรู้เหตุผลของการดับทุกข์ นี่คืออริยสัจ 4 ของพระพุทธเจ้า ของมึนเมา 1 ศาสนา
       
       เพราะฉะนั้น จึงฟังใหม่ว่า อริยสัจ 4 มีอยู่ 4 อย่าง คือ มีทุกข์ มีเหตุ แห่งทุกข์ มีทางดับทุกข์ มีแค่ทางเท่านั้น ไม่ถึงจะดับเมื่อถึงกาลจะดับนี้ก็ต้องถึงข้อปฏิบัติซะก่อน ต้องผ่านมรรคกับนิโรธก่อน ถ้าจะมาถึงสมุทัย
       
       อารมณ์ที่ควรจะละเหตุแห่งความทุกข์ที่จริงเราไม่ควรจะละตัวเหตุตัว เดียว ถ้ามันไม่มีข้อปฏิบัติ มันจะละอย่างไร แล้วจะถามอย่างไร ถ้าจะเข้า มึงมานั่งตรงนี้มา ถามกูใหม่ หลวงปู่ฟังมาอย่างนี้ว่าต้องละสมุทัยจริง ๆ แล้วไม่ใช่เหตุที่จะไปละสมุทัย สมมุติว่ามึงรู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ รู้ทางแห่งความดับทุกข์ รู้ ข้อปฏิบัติที่จะทำให้หมดทุกข์ มึงรู้ข้อปฏิบัติ มึงจะทำตรงไหน
       
       สมุทัยไม่ใช่อารมณ์ มันเป็นแค่เหตุแห่งทุกข์ มันไม่ใช่อารมณ์พวกนักเรียนอภิธรรมนี่มันจะมีปัญหาคือ เอาตำราขึ้นมาเป็นเครื่องเทียบเคียงกับคำถาม ต้องตอบให้ตรงกับตำราที่มันเรียน ถ้าไม่ถูกก็ผิดไม่ใช่ อันที่ตอบ ให้ผิดจากตำรา แล้วในตำราที่เขียนมาไม่ผิดหรอก แต่คนเรียนมันเข้าใจผิด อย่าคิดว่าเลข 1 แตก เป็นศูนย์ไม่ได้ และถึงเลข 100 ไม่ได้ ปัญหาว่าเข้าถึง เลข 1 จริงๆ หรือเปล่า และยังเป็นหมื่นเป็นแสนเป็น อนิตสง......เลขศูนย์ 0 ตัวเดียว แล้วเมื่อเอาอย่างตำราแล้วจะเอาตำรามาเถียงกับกูถ้าว่า 1 ตัวเดียว คนอาจ จะเห็นว่าเป็น 1 ตัวเดียว เช่น หลวงปู่จะเขียนคำว่าศูนย์ มึงว่าอะไร มีศูนย์ 0 ไม่ใช่กูว่าวงแหวน ศูนย์ 0 อะไร ใหญ่ขนาดนี้ เด็กมันอาจจะมาบอก กูอีกก็ได้ว่ะ มันเรียกว่าวงกลม ศูนย์ 0 ตัวเดียวมันมีทั้งศูนย์ 0 มีทั้งวง แหวน มีทั้งวงกลม เพราะฉะนั้น ศูนย์ 0 ตัวเดียว อย่าคิดว่าเรารู้แค่นี้จบ เขียนว่า 1 ตัวเดียวตัวนี้เรียกว่า 1 แล้ว หรือ ไอ้ขีดตัวนี้เราเรียก "1" คนอื่นมาบอกว่า เราขีดเฉยๆ
       
       เพราะฉะนั้นอย่าหาคำยุติทางตำรามาเป็นเครื่องยึดตอบ นักปฏิบัติส่วนใหญ่แล้วจะจดตำราแล้วจะ จำตำราเพราะฉะนั้นจะบอกเอาไว้ว่า ตัวอารมณ์ที่เป็นสมุทัยไม่มี ให้รู้ในสภาวะเท่านั้นรู้ว่าเป็นอาการของทุกข์ให้ เกิดทุกข์เพียง แค่ตัวนั้น เราจะรู้เท่านั้นเพียงแค่รู้ เฉยๆ รู้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น แต่ยังไม่ถึงคำว่าละ ยังไม่ถึงคำว่า วาง แค่รู้เฉยๆ ไปข้อที่ 2,3,4 จึงจะถึงคำว่าละและวาง รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ทางดับทุกข์ แล้ววิธีปฏิบัตินี้จะ ถึงทางดับทุกข์
       
       ตัว 2 ตัวนี้ตัวรู้เฉยๆ ไม่ปรากฏอารมณ์ มันรู้เฉยๆ เป็นธรรมชาติของวิญญาณตัวรู้ ถ้ามันเป็นตัวอารมณ์ แล้วมันต้องบอกกับ 1 กับ 2 ว่าอารมณ์ เรียกว่าเป็ฯ 6 ปฏิกิริยาลูกโซ่ แต่นี้เป็นธรรมชาติแต่เป็นความ รู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความแยกแยะ แต่ยังไม่ถึงขั้นละและวาง แต่ถ้าจะถามตัว รู้ตัวอารมณ์แล้วจะไปถึงนิพพาน ยังไม่ได้ถ้าจะถามหลวงปู่ว่าทำอย่างไรถึงจะ นำไปถึงอริยสัจ 4 นิพพานตามเมื่อรู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์แล้วเราก็ หาวิธีดับเหตุเป็นนิโรธ
       
       วิธีดับเหตุคือ นิโรธ เมื่อรู้แล้วก็ลงมือปฏิบัติเป็นมรรค อย่างนั้นจึงจะเรียกว่าไม่ดับทุกข์และเป็นนิพพาน ถ้าจะเอาสมุทัยมาถาม เฉยๆ เป็นคำตอบที่ไม่ควรตอบ ถามต่อไปเกินเวลากูแล้วนี่
       
       ปุจฉา : ทำบุญกับพระอรหันต์กับพระโสดาบันได้บุญเท่ากันไหมครับ
       วิสัชนา : ทำบุญกับพระโสดาบันกับพระอรหันต์ก็เหมือนการทำบุญกับพระกับเณรแหละ ก็เหมือนกับการทำบุญกับผู้ใหญ่บ้านกับกำนันเพราะ ผู้ใหญ่บ้านมันมีอำนาจแค่นั้น นี่แก้ว 2 ใบ ใส่น้ำใส่เหมือนกับน้ำสะอาด เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ต่างกัน
       
       ปุจฉา : การรบราฆ่าฟันกัน ศาสนาพุทธที่เราร่วมกับศาสนาอื่น ควรจะทำอย่างไร และอยากจะถามอีกว่า ปี 2500 ที่เราเรียกว่ากึ่งพุทธกาลมันยังไงครับ
       วิสัชนา : ถ้าจะถามกันตรงๆ ว่าศาสนาจะช่วยให้คนหยุดรบกันบ้างไม่ได้หรือ ที่จริงแล้วสำหรับความขัด แย้งนี้ หลวงปู่ไม่อยากจะตอบให้มันเกี่ยวกับศาสนา มนุษยชาติมีปกติแห่งความขัดแย้ง ซึ่งเขาถือกันได้ อย่างนั้น แต่ถ้า ตามธรรมชาติแล้ว ถือเป็นความผิดปกติ สำหรับสังคมของสัตว์มนุษย์นั้น หรือมนุษย์ที่ เป็นสัตว์สังคม มีความเป็นปกติที่จะต้องอยู่แล้วก็อยู่ อะไรที่ทำให้ตัวเองต้องไม่ได้อยู่ ทำให้ตัวเองต้อง อยู่น้อยลงกว่าเก่า ก็แสดงว่าต้องเป็นปฏิปักษ์ เหตุอันนี้แหละจึงเป็นตัวต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง ซึ่ง - เกี่ยวกับกระบวนการศาสนา ก็อย่างที่เราเข้าใจแล้วว่า ศาสนาทุกศาสนาเขาสอนให้เราเป็นคนดี เขาคงจะ ไม่สอนให้คนฆ่ากันแน่ ไอ้ที่คนฆ่ากันคงไม่เกี่ยวกับศาสนา มันเกี่ยวกับกระบวนการขัดแย้งผลประโยชน์ ที่เกิด จากหัวใจตนก่อน เช่น คำว่าสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ แต่อยู่ไปอยู่มา ตัวเองกลับไม่ได้อยู่หรืออยู่น้อย กว่าเก่า ก็มีความรู้สึกต้องขัดแย้งเป็นธรรมดา การ ขัดแย้งอันนั้นอาจจะก่อกำเนิดจากหัวใจของตนก่อน ซึ่งเป็นการขัดแย้งที่เป็น เรื่องส่วนตัว และก็แพร่ขยายออกเป็นขบวนการส่วนรวม จึงตั้งก่อตัวออก มา เป็นลักษณะของการต่อสู้ ฆ่าฟันในระบบศาสนานิกายหรือลัทธิ ซึ่งจริงๆ แล้วกระบวนการของศาสนานี้มัน เป็นกระบวนการของการจรรโลง ครอบ คลุม สร้างสรรค์ แล้วก็อุดหนุนจุนเจือ นี่คือคำนิยามของทุกศาสนา แล้วถ้าอะไรที่มันผิดคำนิยามอันนี้ก็ถือว่านั้นไม่ใช่ศาสนา มันเป็นกระบวนการของบุคคล กลุ่มชน และสังคม ทีนี้เมื่อมีกระบวนการของบุคคล กลุ่มชนและสังคม ก็ต้องไปยึดถือเอา ตัวการใหญ่ว่า ไอ้กลุ่มอันนั้น กระบวนการอันนั้น สังคมอันนั้น มันนับถืออะไรเป็นสัญลักษณ์จะ เรียกขานมัน ก็เลยไปให้สัญลักษณ์ว่า ฝ่ายพุทธนะ ไอ้นี่ฝ่ายคริสต์นะ ไอ้นั่นฝ่าย อิสลามนะจริง ๆ แล้ว ตัวศาสนาระหว่างคริสต์ พุทธอิสลาม ไม่ได้กัดกัน ศาสนาไม่ได้กัด แต่กลุ่มคน สังคมนี้ มันกัด แต่ก็นำพาเอาศาสนาไปกัดด้วย ซึ่งจะบอกกันแล้วศาสนาก็เปรียบเหมือนกับเงา ไม่ได้รู้ เรื่องอะไรกันเลย เพราะมันมีกระบวนการคำนิยามของมันแล้วว่า จรรโลงสร้างสรรค์ ครอบคลุม รักษาอยู่ มันไม่ต้องการฆ่าฟันแก่งแย่งชิงดีกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเป็นไปเช่นนี้ก็ต้องถือว่า มันเป็นไปตามอำนาจกฎแห่งกรรมชนิดหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งก็คือเป็นไปตามสภาวะกิเลสของสัตว์สังคมยิ่งสังคมของวัตถุ เจริญรุ่งเรือง สังคมของจิตนิยมต่ำทราม สังคมของคนชนชั้น เราทั้งหลายก็เลวระยำอะไรๆ ก็ตามๆ กันไป แต่ถ้ายุคใดสมัยใดมีสังคมแห่งจิตนิยมรุ่งเรือง วัตถุนิยมลดน้อย เทวนิยม ยิ่งใหญ่ ยุคนั้นสมัยนั้นก็จะรู้สึกว่าอะไรๆ มันก็จะรักกัน บูชากันเทิดทูนกัน ยอมรับเหตุผลของกันและกัน กระบวนการจิตนิยมคือความมีจิตมีใจเป็นระบบสังคมคือ เรานิยมชมชอบกันด้วยความ สมานฉันท์ รักใคร่ กลมเกลียว เป็นหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี้เขาเรียกว่าเป็นกระบวน การจิตนิยม เรามาอยู่กันเพื่อจะบวงสรวงบูชาสวดมนต์อ้อนวอน ขอพรพระเจ้า นี่เขาเรียกว่ากระบวน การเทวนิยม เรามีอยู่รวมกันเพื่อที่จะรักษาสถานที่ท้องถิ่น สร้างสรรค์วัตถุต่างๆ ขึ้นมา นี่เรียกว่ากระ- บวนการวัตถุนิยม เพราะฉะนั้นถ้าหากมีกระบวนการหลังนี่มากหน่อย แล้วเราก็ละเลย กระบวนการจิตนิยม ทอดทิ้งกระบวนการเทวนิยม เราก็มีความรู้สึกว่าไปแต่ตัวแต่ขาดวิญญาณ ขาดหัวใจ ขาดรสชาติ พอไปแต่ตัวแล้วทีนี้มันไม่มี อะไรควบคุมมันก็จะทำไปตามกติกาของมันที่อยากจะลืมไป หรือว่าตั้งขึ้นมาแล้วก็ฉุดกระชากลากมันไปตามกฎเกณฑ์ เพราะฉะนั้นกระบวนการอย่างนี้แหละจึงเป็นต้นเหตุ เป็นสาเหตุของการรบราฆ่าฟันใน โลก และที่ถามว่ายุคกึ่งพุทธกาลปี 2500 ที่สงสัยว่าพุทธกาล ของเรามีแค่ 5000 ปี เท่านั้นเอง หรือ อยากจะถามว่าใครบอก แต่พระพุทธเจ้า ก็ไม่คยคำนวณหรือว่าไม่เคยทายทักอายุพระ ศาสนา พระองค์ทรงบอกว่าไม่ มีประโยชน์อันใดที่เราตถาคตจะไปทำนายทายทักอายุพระ ศาสนา ตราบใดที่พระธรรมวินัยของเราตถาคตมี ภิกษุบริษัทสี่ ยังปฏิบัติได้ไม่ขาด เกิน ถือว่า ตราบนั้นศาสนาเราก็จะยิ่งใหญ่ไม่เสื่อมโทรม และเจริญรุ่งเรืองปฏิบัติ ได้ไม่ขาดเกิน ภิกษุ บริษัทสี่ใครบ้างล่ะ ภิกษุ ภิกษุณีคือพระผู้หญิงอุบาสกและอุบาสิกา สี่เหล่านี้ปฏิบัติธรรมะ เรียนรู้ธรรมะ ศึกษาธรรมะ ใช้ปัญญาญาณใคร่ครวญ วิจารณ์พิจารณาธรรมะ ปฏิบัติรับเอามา ศึกษา มาท่องจำท่องบ่นอบรมตัดกาย วาจา ใจของตนได้อย่างไม่ขาดเกินแล้วนี้ ศาสนาอยู่ได้ เป็นล้านปี แต่ถ้าตราบใดที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ละเลยเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามพระธรรม วินัยของเราตถาคต ถือว่าเมื่อนั้นก็ถึงการวิบัติการฉิบหาย แตกสลายของศาสนา แสดงว่าพระ องค์ไม่ได้ทำนายไว้ว่าจะเมื่อไรฉิบหาย ไอ้ที่ทำนายกันไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรอก หมอดูโคนต้นไม้ นักบวชอัปรีย์เขาเขียนกันไว้ ที่บอกพุทธทำนาย นั้นไม่จริงหรอก พระพุทธเจ้าไม่เคยทำนาย พระสารีบุตรเคยถามว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญมากี่ร้อยปีกี่พันปี พระองค์วิจารณ์ ให้ฟังเหมือนกันว่าจากหลัง 2000 ปี จะไม่มีภิกษุณี พระอรหันต์จะลดน้อยอะไรอย่างนี้ แต่ไม่ ใช่ทำนายอายุว่ากี่พันปี ศาสนาจะเสื่อม โทรม "ความเสื่อมโทรมไม่ได้อยู่ที่การทำนาย แต่อยู่ที่ การปฏิบัติดีหรือไม่ของบริษัทสี่" คนมันเสื่อมนะ ไม่ใช่ศาสนาเสื่อม ใจคนมันเสื่อม พอใจเสื่อมไม่อยากทำมันก็เลยเสื่อมตามไปหมด ไอ้ความเสื่อมของหัวใจมันมี ความเสื่อมของคน มันมี มันก็ทำให้ศาสนาซึ่งเป็นข้อส่วนกลางเสื่อม พวก เราเข้าใจเสียใหม่ว่าศาสนาไม่ใช่แผนที่นะ ไม่ ใช่เข็มทิศ ไม่ใช่ตำรา ไม่ใช่ คัมภีร์อักษรภาษา ไม่ใช่วัตถุธาตุ ศาสนาเป็นนามธรรม ไม่มีใคร ทำลายพลัง แสง สี เสียง ของอาทิตย์ได้ฉันใด ก็ไม่มีใครทำลายศาสนาได้ฉันนั้น เราไม่ใช้มัน มันก็ยังคงที่อยู่ตรงนั้น ศาสนาเป็นของที่มีมาแล้วพระพุทธเจ้า เป็นคนฉลาดกว่าเพื่อนจึงเอา มันมาใช้ เพราะฉะนั้นคำสอนและธรรมเป็นของที่ปรากฏอยู่แล้ว เป็นของที่มีอยู่แล้ว ทุกข์นี่ใคร ว่าไม่มีอยู่แล้ว สมุทัยก็มีอยู่แล้ว นิโรธก็มีอยู่แล้ว มรรค ก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครรู้จัก พระพุทธเจ้า รู้จักก่อนจึงเอามาใช้ เอามาบอกมาสอน เพราะฉะนั้นอย่าเข้าใจว่าศาสนาจะเสื่อมโทรม และโดนทำลายด้วย มือบุคคล ที่มันไม่เจริญก็เพราะคนไม่ทำมันเท่านั้นเอง แต่ไอ้ทำลายให้มันสูญหายไม่มีหรอก อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ในหัวใจ อย่าลืมว่าเรามีศาสนากันมาตั้งแต่เกิดแล้ว ออก จากท้องแม่รู้จักเรียกขานว่า "แม่" นั่นแหละเป็นคำสอนของศาสนาแล้ว เพราะคำว่าแม่นี่เป็นคำที่ยกย่องคนที่เหนือชีวิตตน ยอมรับเรื่องของบุญคุณ และยอม รับพระคุณของผู้เป็นแม่ คำว่าแม่มีสอนในศาสนาแล้ว ยอมรับคือผู้น้อยยอมรับผู้ใหญ่ เป็นการ เคารพกันและกันอย่างนี้ถือว่ามีศาสนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องมาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ อุบาสก อุบาสิกา เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าศาสนานั้นมันมีอยู่ในชีวิตวิญญาณแล้ว ไม่จำเป็นต้อง คอยมา บอกมาสอน แต่ที่ต้องมาบอกมาสอน เพื่อให้รู้มากขึ้น ให้เข้าใจมากขึ้น ให้กระจ่างชัดมากขึ้น และจะได้ทำให้ถูกต้อง ไม่โดนต้ม และก็จะไม่บ้าไปตามคำนิยมของชาวบ้าน เท่านั้นเอง
       
       ปุจฉา : มีลักษณะของผู้รู้เป็นอย่างไร
       วิสัชนา : ลักษณะของผู้รู้นั้นก็คือที่รู้แบบพุทธะ มันก็จะต้องคล้ายกับดาบที่อยู่ในฝัก ไม่ว่าจะชัก หรือไม่ชักยังไงมันก็เป็นดาบที่คมมันอยู่ในตัวมัน แต่ลักษณะของผู้ที่ไม่รู้นั้น ส่วนใหญ่มักจะ ผยอง เป็นช้างชูงวง เป็นปูชูก้ามกิ้งก่าชูคอ เราพอนึกภาพออกไหม นั่นคือลักษณะของผู้ไม่รู้ หรือรู้น้อย หรือรู้ไม่จริงและอวดรู้อยากรู้อะไรอย่างนั้น แต่ลักษณะของผู้รู้จริงๆ เรามองเขาไม่ ออกหรอก เหมือนกับดาบที่จะคมหรือไม่คม มันอยู่ในฝัก เราไม่รู้หรอกว่ามันคมขนาดไหน บาง ทีมันชักออกมาแล้ว เรานึกว่ามันยาวใหญ่ขนาดไหน ที่ไหนได้สั้นและกุดด้วย แถมยังไม่มีอะไร เหลืออีกต่างหาก มันอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ แต่เขาก็ถือว่าเป็นผู้รู้
       
       เพราะฉะนั้นถ้าจะไปบอกเป็นคำนิยามที่จะให้สื่อความหมายได้ หลวงปู่เคยเขียนบท โศลกสอนลูกหลานว่า ลูกรัก คุณธรรม และหัวใจสำคัญของอริยธรรม สัจธรรม ศีลธรรม วิมุตติ ธรรม พระบริสุทธิ์ธรรมนั้น ก็คือความอ่อนน้อมถ่อมตน เมื่อหลายวันก่อนนี้หลวงปู่สอนคนคนหนึ่งว่า ระหว่างหญ้ากับภูเขามึงเลือกจะเป็น อะไร ถ้าถามพวกเราจะเลือกเป็นอะไร ระหว่างหญ้ากับภูเขา คนทั่วไปก็นึกว่าภูเขานี้มันดี เพราะมันใหญ่ ใครมาสู้ภูเขาได้ แต่อะไรที่มันอยู่เหนือเขา หญ้าใช่ไหม ถ้าจะเอาภูเขากับหญ้า มาเปรียบกับผู้รู้กับผู้ไม่รู้มันควรจะเปรียบกับอะไร หญ้าควรจะเปรียบกับผู้รู้ ภูเขาควรจะเปรียบ กับผู้ไม่รู้แล้วอวดรู้ บางทีหลวงปู่นั่งทำอะไรอยู่ ขัดกาแล ลงสี ปิดทอง มีคนมาถามหลวงพี่ๆ หลวงปู่อยู่ไหม ? อยู่ว่ะ แต่ยังไม่ว่าง! เพราะฉะนั้นลักษณะของผู้รู้ไม่จำเป็นต้องแสดง หลวงปู่เคยพูดอยู่เสมอว่า ถ้าไม่พูดก็ ไม่มีใครรู้ว่าเราโง่หรือฉลาด คนโบราณเขาจึงมีคำพูดไว้ว่าพูดไปสองไพเบี้ย นิ่ง แล้วได้สิบตำลึง ทอง เพราะฉะนั้นลักษณะของผู้รู้นั้นก็ดูได้จากตรงหญ้า ดูได้จากอะไร ๆ ที่มันดูเล็ก ๆ แต่มันจะยิ่ง ใหญ่ในหัวใจของอะไร ๆ ได้ทันทีที่มันต้องการใหญ่มันไม่ยาวไม่สั้น ไม่เล็กไม่ใหญ่ ไม่กว้างไม่ แคบอะไรทั้งนั้น แต่มันเป็นได้ทุกอย่าง นั่นคือลักษณะของผู้รู้
       
       ปุจฉา : เวลาเราขับรถไปเจอหมาข้ามถนน เบรกรถไม่ทัน ชนหมาตาย แล้วมันเป็นบาปเป็น กรรมหรือไม่ อย่างนี้เรียกว่าขาดความเมตตาหรือเปล่า
       วิสัชนา : ความเมตตาต้องไม่เลือกสัตว์ ไม่ใช่เฉพาะหมาอย่างเดียว เราต้องมีกับสัตว์ทุกชนิดที่ มีชีวิตและลมหายใจ จึงจะถือว่าเราเจริญเมตตาเป็นโพธิสัตว์ เป็นโพธิจิต เป็นจิตที่มีโพธิอยู่ใน ใจ แต่ถ้าเราจะเลือกเฉพาะหมาอย่างเดียวมันไม่ถูก อย่างนี้ผิด ไม่ใช่ยังมีพวกมีพ้อง ยังมีพี่มี น้องเป็นการเจริญพวกพ้องอย่างนี้ไม่ถือว่าเมตตา รักเห็นแก่พวกแก่พ้องไม่ถือว่าเป็น ความ เมตตา เขาถือว่าเอาแต่พวกแต่พ้องของตน เมตตามันต้องไม่มีประมาณ ไม่เลือกบุคคลเหล่า กอ สัญชาติ สี ต่ำ ดำ ขาว สูง เตี้ย ทุกคนมีสิทธิได้รับเมตตาของเรา นั่นถือว่าเป็นมหาเมตตา ของพระโพธิสัตว์ เป็นเมตตาที่ถูกต้องของศาสนา ได้เมตตาเฉพาะ พวกพ้องของตนแล้วไม่ใช่ พวกไม่ใช่พ้อง ไม่เมตตานั้นไม่ใช่ ใช้ไม่ได้ อย่างนั้นไม่ถือว่า แต่เป็นการรักพวกรักพ้องเฉย ๆ พระพุทธเจ้าพระองค์บรรลุอนุตระ สัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ แทนที่พระองค์จะนึกถึงพ่อแม่ ก่อน พระองค์นึกถึงสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่มากกว่าตนเองก่อน เพราะพ่อแม่อยู่ในวังใช่ไหม มีกินมี นอนสบาย เมื่อเห็นว่าพ่อแม่ใกล้จะถึงที่พิตักษัย ตายแล้วถึงจะไปโปรดเท่านั้น ต้องเข้าใจว่าต้นไม้ที่ยืนต้นตาย หลวงปู่ได้มาจากยอดเขาถ้ำไก่หล่นที่เห็นฝั่งตรงข้ามมันยืนต้น ตาย ก็เลยเขียนบทโศลกบทนี้ขึ้นมา "ต้นไม้ที่ยืนต้นตายมันยังยืนอยู่ เปรียบเหมือนบุคคลที่ ปฏิบัติธรรม เจริญธรรม ประพฤติธรรม และยังประโยชน์ให้แก่โลกและสังคมต้นไม้ให้อะไรแก่ โลกและจักรวาลบ้าง ให้น้ำ ให้อากาศ ให้ปุ๋ย อินทรีย์ และให้ชีวิตกับผู้ที่อยู่ใกล้ให้ความร่ม เย็นเป็นสุขและมันก็ยืนต้นตาย แถมยังมีแก่นสารสาระให้ใครเอาไปใช้ประโยชน์อีก เปรียบ ประดุจดังบุคคลที่เกิดมาเพื่อยังความสุขให้แก่โลก และ สังคม เอื้ออำนวยประโยชน์และองค์ คุณทั้งหลายให้อยู่ในสรรพสัตว์ ไม่เสียทีที่เกิดเป็นต้นไม้มีค่า ยืนต้นตาย...ดี กว่าคนเลวระยำ หมา เกิดมาแล้วนอนตายก็ไม่ได้อะไร ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ดีแต่เป็นปุ๋ยอย่างเดียว ใครจะเข้าใจ ชีวิตและความรู้สึกของต้นไม้ที่ยืนต้นตายบ้าง
       
       ปุจฉา : ทำไมต้นไม้จึงยืนต้นตาย
       วิสัชนา : และเมื่อมองไปในมุมกลับ บางทีบางครั้งมันก็เต็มเปี่ยม ไปด้วยความอ้างว้าง โดด เดี่ยว ว้าเหว่มากมายเหมือนกัน กับการที่ต้นไม้ต้องยืนต้นตายเพราะขาดน้ำเลี้ยง เปรียบได้อีก ประโยคหนึ่งก็คือบุคคลที่เป็นนักบวชออกจากกาม ไม่ยุ่งในกาม ไม่เกี่ยวข้องในกาม จิตใจไม่ หมกมุ่นในกามก็เปรียบประดุจดั่งต้นไม้ที่ยืนต้นและ ไม่มีน้ำเลี้ยง มันก็จะไม่ผลิดอกออก ใบ ไม่แพร่พันธุ์อะไร ๆ ทำให้เกิดกรรมต่อไปในวันข้างหน้าเพราะฉะนั้นต้นไม้ต้นเดียวสามารถ เปรียบเทียบได้หลายอย่างธรรมะอยู่ที่ลูกขอเพียงเรามีสติปัญญา เลือกเฟ้นมาเป็นธรรมะของ เราทั้งนั้น