อธิบายคำว่า จิต หมายถึง ธรรมชาติ ที่มีหน้าที่ รับอารมณ์ จำอารมณ์ รู้ในอารมณ์ คิดในอารมณ์
หากท่านทั้งหลาย ไม่มีสติ ไม่ฝึกสติ ให้สามารถ ควบคุม การรับ การจำ การรู้ การคิด ของจิตได้
เราท่านทั้งหลาย จักต้องจมปรัก อยู่ในวังวน แห่ง อารมณ์ ที่เข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ จนต้องถูก อารมณ์เหล่านี้ ครอบงำ ทำให้เกิดความ กระวน กระวาย ทุรน ทุราย กระสับ กระส่าย เดือดร้อน ไม่จบ ไม่สิ้น
อีกทั้งธรรมชาติ รับ จำ คิด รู้ ของจิต มันว่องไว ยิ่งกว่าเสียงและแสง
การที่จะสามารถ กำกับดูแล ควบคุมให้จิตเลือกรับ เลือกจำ เลือกคิด เลือกรู้ จึงจำเป็นต้องสร้างสติ ฝึกฝนให้เกิดสติ ให้แกร่งกล้า จนสามารถ ระงับ ยับยั้ง ควบคุมจิต ระงับจิตรับ จิตจำ จิตคิด จิตรู้ ได้
อธิบายคำว่า โลกธรรม หมายถึง ธรรมเครื่องผูก สัตว์ ให้ตกเป็นทาส ของโลก
๑. มีลาภ
๒. เสื่อมลาภ
๓. มียศ
๔. เสื่อมยศ
๕. สรรเสริญ
๖. นินทา
๗. สุข
๘. ทุกข์
อธิบายคำว่า ไม่หวั่นไหว หมายถึงความรอบรู้ แจ่มชัด ถึงคุณ ถึงโทษของโลกธรรมทั้งแปด จนจิตไม่กระเพื่อม ไม่หวั่นไหว ตามโลกธรรม ที่เข้ามาเล้า มาล่อ มาหลอก
เพราะถ้ามนุษย์ และสัตว์ตนใด ที่จิตเขาอยู่ภายใต้อำนาจของโลกธรรมทั้ง ๘ แล้ว ย่อมมืดบอดในชาตินี้ และชาติหน้า
ยากนักที่จะมีผู้ใดช่วยได้ นอกจากต้องละวางโลกธรรมทั้ง ๘ ลงได้เอง
ความสว่าง เบา สบาย ก็จักบังเกิดขึ้นตามมา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด
พุทธะอิสระ