16 ก ค 2554  9.15 น.  ถอดเทป ธรรมะวันเข้าพรรษา โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (82 นาที)

• บทโศลกของหลวงปู่พันกว่าบท ใช้ได้หมด
• มึงไม่ต้องไปอ่านตำราเล่มไหน
• เพราะว่า มันเป็นกลบท ซ่อนเร้นอยู่ภายในมากมาย
• หลอดไฟแทนเทียนไม่ได้
• อธิษฐานว่า เราจะภาวนาทั้งพรรษาก็ได้
• การภาวนาที่แท้จริง ทำ พูด คิด เรื่องเดียวกัน
• แต่ยังจัดอยู่ในภาวนาชั้นต่ำ
• รอบ 3 อาการ 12
• ลูกรัก  เจ้าจงคิด ถ้าไม่คิด เรื่องที่คิดจะมีมากมาย
แต่ถ้าเมื่อใดที่คิด เรื่องที่เจ้าจะคิด จะไม่เหลืออะไร
• ภาวนาที่พระพุทธเจ้าหมายถึงในหลักสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้น
ต้องไม่ปรากฏอารมณ์
• อย่าทำอารมณ์ให้เป็นอะไร แล้วเราจะได้ไม่มีอาลัยในอารมณ์
• บทโศลกของหลวงปู่ 1000 กว่าบท ใช้ได้หมดในพุทธธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
• มีอุบายวิธีเรียกว่า อุบายกุศล ซ่อนเร้นอยู่ภายในเยอะแยะมากมาย
• ทุกข์ ควรรู้
• เหตุแห่งทุกข์ ควรละ
• ทางดับทุกข์ ควรดำเนิน
• หลักแห่งการดับทุกข์ ควรทำให้เจริญ
• คิด ทำ พูด เรื่องเดียวกัน นี่คือ การภาวนา ให้จำเอาไว้
• ภาวนาในการฟัง หูฟัง ตาดู ใจรู้
• คนที่เข้ามาสอบ ต้องแยกให้ได้ ระหว่างรู้ด้วยอารมณ์ หรือ รู้ด้วยจิต
• ถามว่า หิวกับง่วง มันทำไมถึงฝึกจิตยาก ก็เพราะว่า เรามีอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5
....กี่ผืน ต้องไปถามดู ประสานไปที่ทองผาภูมิ ให้อ้ายโมทคนที่อยู่ทองผาภูมิมาเอา
เอาผ้าอาบน้ำฝนกับเทียนพรรษาไปถวายพระวัดแถวทองผาภูมิ
แล้วก็โทรฯไปที่ลำอีซู ให้อ้ายอู๊ดมาเอาไปที่วัดลำอีซู แจกพระ
เครื่องสังฆทาน ผ้าอาบน้ำ เทียนประจำพรรษา ที่ลูกหลานนำมาถวาย
หลวงปู่ขออนุญาตแบ่งแยกแจกไปตามวัดต่างๆ ตามชานแดน ตามชนบท
ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนา สาธุ
เดี๋ยวเค้าจะได้เอาไปแจก ส่วนหนึ่งเดี๋ยวก็ส่งไปที่จังหวัดทางใต้ ให้เค้าเอาไปใช้
วัดวาอารามที่เค้ายังขาดแคลนมีอีกเยอะ เรามีมากก็แบ่งไปตามเหตุตามปัจจัย
วันนี้เป็นวันเข้าปุริมพรรษา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระสงฆ์ เป็นวินัยกรรม
ที่พระผู้มัพระภาคเจ้าทรงแสดง เมื่อวานนี้ เป็นวันอาสาฬหบูชา
เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
ด้วยเหตุแห่งการแสดงปฐมเทศนา ก็ทำให้เกิดสังฆรัตนองค์แรกของโลก
ก็คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้มีดวงตาเห็นธรรม
แล้วก็ได้ประกาศตัวเองเป็นพุทธสาวก
ผู้เข้าถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรมเป็นที่ระลึก เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง
แล้วก็ขอบวชในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าก็ทรงให้การบวชด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
โดยทรงตรัสว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์
เพื่อทำให้ถึงที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด
คำพูดนี้ ต้องถือว่า จะทรงตรัสเฉพาะกับบุคคลที่ยังไม่บรรลุพระธรรมสูงสุด
ก็คือยังไม่บรรลุอรหันต์ จะมีคำกล่าวว่า
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำให้ถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ
แต่ถ้าผู้ใดที่บรรลุอรหันต์ก่อนที่จะบวช พระองค์ก็ทรงตรัสใหม่ว่า
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด อย่างนี้เป็นต้น
ถามว่า ทำไมเมื่อบรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว ต้องประพฤติพรหมจรรย์
ก็เพราะว่า เพศของฆราวาส ฆราวาสวิสัยนี่มันแคบ
ไม่สามารถรองรับอัตภาพของอรหันต์ได้ พระอริยเจ้าชั้นสูงได้
ขืนถ้าทนอยู่ หรือจำเป็นต้องอยู่ หรือว่าอยู่อย่างนั้น
ก็จะอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน ก็ต้องนิพพาน
ถ้าบรรลุอรหันต์แล้ว ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ใช้คำว่ารักษาพรหมจรรย์
เพราะงั้น ถ้าไม่ถอนตัวออกจากฆราวาสวิสัย แล้วมาประพฤติพรหมจรรย์
ก็จะอยู่มีอายุขัยแค่ 7 วัน แล้วก็นิพพาน
พระพุทธเจ้าจึงทรงชวนว่า ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด อย่างนี้เป็นต้น
แต่ถ้าผู้ใดที่บรรลุเพียงแค่พระโสดาบัน สกิทาคา หรือยังไม่บรรลุธรรม
พระองค์จะทรงตรัสว่า ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด เพื่อทำให้ถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ
อย่างนี้เป็นต้น
นี่คือ คำให้บวชครั้งแรกๆ ที่พระองค์ทรงก่อตั้งพุทธสาวกขึ้น
ก็ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา
สาเหตุใจความสำคัญในธัมมจักกัปปะวัตตนสูตร เมื่อวานเราก็สาธยาย เราก็สวดกันแล้วว่า
มีเนื้อหาสำคัญที่สุด 2 อย่าง ก็คือ ทรงชี้ให้เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เทียม ซึ่งไม่ใช่ประโยชน์แท้
แล้วประโยชน์เทียมๆ ซึ่งคน 2000 ปีก่อน เค้าคิดกันว่า เป็นประโยชน์แท้
ประโยชน์เทียมนั้นก็คือ กามสุขัลลิกานุโยค ก็คือ การประกอบตนให้พัวพันอยู่ในกามคุณ
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืนยันด้วยพระองค์เองว่า
นี่ไม่ใช่เป็นประโยชน์เลย คือ ไม่ได้ทำให้เกิดประโยขน์สูงสุดเลย เป็นประโยชน์เทียมๆ
ภิกษุผู้หวังพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้หวังถึงวิโมกข์สัก วิโมกข์ธรรม
ผู้ปรารถนาให้พ้นทุกข์ จะต้องพ้นหลีก หรือลี้หนีหายหรือปราศจากหรือปฏิเสธ
หรือวางแล้วว่าง จากกามคุณทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เพราะมันเป็นประโยชน์เทียม
ประโยชน์เทียมขั้นที่ 2 ก็คือ อัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนให้ลำบาก
พระองค์ใช้เวลาตลอดระยะเวลา 6 ปี กับการทดลอง ทดสอบกระบวนการอดข้าว อดน้ำ
กลั้นลมหายใจ ทรมานตนในที่ต่างๆ แม้กระทั่งที่ชาวบ้าน ชฎิลนักบวช ฤษีสมัยก่อน
เค้าทำอย่างไร พระองค์ทำตามหมด แต่ไม่สามารถบรรลุคุณธรรมใดๆ ได้
พระองค์ก็ทรงชี้ให้เห็นว่า มันไม่ใช่ประโยชน์แท้ เป็นประโยชน์เทียม ไม่ใช่สาระ
อย่างดีก็ได้แค่คำว่า ตบะ คือความอดทน อดกลั้น แต่มันไม่ได้ทำให้เกิดบรรลุธรรมขั้นสูงอะไร
นั่นคือ เป็นประโยชน์เทียม ไม่เป็นประโยชน์แท้
แล้วพระองค์ก็ทรงแสดงประโยชน์แท้ ซึ่งถือว่า เป็นประโยชน์สูงสุด
สามารถส่งสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ ทรงชี้ให้เห็นถึงมรรคาปฏิปทา คือ ทางเป็นเอก
ทางอันเป็นกลาง ทางสายกลาง ที่บุคคลผู้เดียวอันจะเดินไปได้
ทางเอก ทางที่เป็นสายกลาง มรรคาปฏิปทา ก็เริ่มต้นจาก
ทำความเห็นของตนให้ถูกตรงและถูกต้อง
เหมือนเมื่อเช้านี้ เล่าออกนอกเรื่องหน่อย
สมัยก่อน ก็ส่งพ่ออ้ายคัมภีร์ มันไปเรียน เค้าเป็นตำรวจ แล้วเค้าก็รับใช้
เราก็เห็นว่า เออ เค้าอยู่กับเรานาน เรียนจบ ปวช ปวส สถานภาพมันคงจะไม่สูงอะไร
ก็เออ มึงก็ไปเรียนเฮอะ แล้วเผอิญก็ได้คัมภีร์มา เค้าเก็บเด็กมาให้
ก็ฝากให้มันช่วยเลี้ยงด้วย เป็นพ่อบุญธรรม
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ส่งมันเรียนจนกระทั่งมันเป็นดร. จบปริญญาเอก
พอมันได้ปริญญาเอก แล้วมันว่าไง
หลวงปู่ ผมจะสอนให้หลวงปู่เป็นดร. เอาไม๊
เราก็ถามว่า แล้วทำไง
แค่เปลี่ยนวิธีคิดนิดหน่อยเอง ก็เป็นดร. ได้แล้ว หลวงปู่
อ้ายเราก็ โอ้โห เดี๋ยวนี้มึงก้าวหน้าขนาดจะมาสอนให้กูเป็นดร.เชียวเหรอ
เค้าบอกเป็นไม่ยากหรอก ดร. เค้าบอก
อ้ายเราก็นึกขำๆ ในใจ เออ อ้ายนี่ เดี๋ยวนี้มันล้นหรือเปล่า หรือมันเรียนเยอะไปแล้วมันล้น
เลยบังอาจมาสอนเราให้ได้เป็นดร. เค้าก็คงหวังดี อยากให้เรามีปริญญาเอกเป็นดร.
แต่มันไม่รู้ว่า เราก็ไปสอนปริญญาเอก
เออ เพราะฉะนั้น อ้ายประโยชน์แท้ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงข้อแรกเลยก็คือ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นตรงถูกต้อง คนที่มีความเห็นตรงถูกต้องตามความเป็นจริง
เห็นอะไรบ้าง ก็เห็นว่า
- สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบ
- เห็นว่า ทุกอย่าง สรรพสิ่งในโลก มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่แปรปรวนในท่ามกลาง
สุดท้ายแตกสลายในที่สุด
- แล้วก็เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นทางดับทุกข์ และเห็นข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์
คนที่เห็นอย่างนี้ จำเป็นต้องเป็น ดร.ไม๊ ก็ยังขำอยู่เลย จะมาชวนกูไปเป็น ดร. 
แล้วแถมยังบอกว่า แค่ปรับความคิดซักนิดหน่อย ก็ได้เป็นแล้วล่ะ ดร. เค้าว่า
ไม่รู้มันจะปรับความคิดเราให้เป็นอย่างไร
ให้เห็นประโยชน์แท้ หรือประโยชน์เทียมหรือเปล่า ก็ไม่รู้
ไม่ได้สนทนากันต่อไป แค่มันชวน ก็เดินหนีมันล่ะ
เพราะงั้น ประโยชน์แท้ข้อแรกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอน
ก็คือ ทำความเห็นของตนให้ตรงและถูกต้อง
ถูกต้องอะไร ถูกต้องตามความเป็นจริง
เมื่อวานนี้ เมื่อสองพันกว่าปีก่อนที่แล้วมา หลังจากที่องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และแสวงหาวิมุตติสุข อยู่ร่วม 2 เดือน
แล้วก็ทรงปรารภบุคคลผู้รับธรรม สนทนาธรรม หรือว่า แสดงธรรมให้สดับ
สุดท้ายก็ อาฬารดาบสกับอุทกดาบส ก็ไม่สามารถจะอยู่รับพระธรรมได้
เหลือแต่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้มีดวงตาอันพร้อมเหมาะสม มีสันดานอันอ่อน
ควรต่อการอบรมสั่งสอน แล้วเมื่อพระองค์ทรงแสดงที่สุด 2 อย่างที่ไม่ควรเข้าใกล้
นั่นคือ ประโยชน์เทียมแล้ว ทรงชี้ประโยชน์แท้ ที่ยกเรื่องความเห็นเป็นใหญ่
เพราะคนสมัยเก่า ถือว่า มีมิจฉาทิฏฐิมาก เค้าจะมีความเห็นที่เป็นหลากหลาย
แล้วรวมกันมี 2 อย่างก็คือ เห็นว่า โลกเที่ยง กับ เห็นว่าโลกนี้ไม่มี ไม่มีอะไรเลย
คือ ทำดีก็ไม่มีผล ทำชั่วก็ไม่ผล เรียกว่า เป็นสูญเลย
โลกเที่ยงก็คือ เกิดมาปัจจุบันเป็นเศรษฐี ชาติต่อๆ ไปก็เป็นเศรษฐี
เกิดมาปัจจุบันเป็นพระราชา ชาติต่อไปก็จะได้เป็นพระราชา ไม่จบไม่สิ้น
อย่างนี้เค้าเรียกว่า เห็นว่าโลกเที่ยง ไม่ใช่เห็นว่า ตอนเที่ยงวัน ได้กินข้าวนะ
เดี๋ยวมึงจะเข้าใจผิด เห็นว่า โลกเที่ยง
เออ พูดถึงเข้าใจผิดนี่ เมื่อวานนี้ ควายกูออกลูก ไม่ใช่พวกมึง
พอพูดถึงโลกเที่ยง นึกถึงควาย ควายออกลูก เค้ามารายงาน
เออ ตั้งชื่อมันว่า อาสาฬ
คนเข้าใกล้ไม่ได้ มันจะขวิด ใครเค้าเอาควายมาถวายก็ไม่รู้
หรือว่า มันนึกว่า วัดนี้ ควายเยอะ ก็เลยเอามาอีกฝูง ก็คงไม่เป็นไร
เพราะงั้น ความหมายของการเห็นโลกเที่ยง
ไม่ใช่เห็นว่า เป็นเที่ยงกลางวัน แต่เป็นเที่ยงที่มีตัวตน ไม่เปลี่ยนแปลง
ใครเกิดเป็นโจร ก็เป็นโจรไปตลอด ใครเกิดเป็นนักบวชก็จะเป็นนักบวชไปตลอด
เกิดกี่ภพ กี่ชาติ ก็ต้องมาเป็นนักบวช
นี่คือความเห็นของเค้า ความเห็นที่ว่าสูญ ขาดสูญเลย
คือ ทำดี ไม่มีผล ทำชั่ว ไม่มีผล เพราะงั้น ปล่อยตัวเองให้หลงใหล ลื่นถลาไปกับกามคุณ
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า เห็นแล้วขาดสูญ
พระพุทธเจ้าทรงประมวลความเห็นไว้ 2 ประการ หลากหลายมาก
แต่รวมแล้วได้ 2 อย่าง ความเห็นเหล่านี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ
พระองค์ก็ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ ก็คือ ความเห็นว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม คือ มันขัดง้าง
แล้วก็สวนทางกับความเห็นเดิม
ความเห็นเดิมนี่ไม่ได้เป็นไปตามกรรม
แต่ความเห็นใหม่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเสนอและแสดงออกมาก็คือ
สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ผลดี ทำชั่วก็ย่อมได้ผลชั่วตอบแทน
แม้ปัจจุบันไม่ได้ วันหนึ่งข้างหน้า เมื่อผลชั่วมันรุนแรง
กำลังแห่งความชั่วมันสั่งสมอบรมไว้เยอะ สุดท้ายมันก็ต้องให้ผลอยู่ดี
เหมือนกับน้ำสะอาด ถ้าใส่น้ำสกปรกลงไป แม้วันนี้หยดหนึ่ง พรุ่งนี้อีกหยดหนึ่ง
มะรืนนี้อีกหยดหนึ่ง สุดท้ายแม่น้ำทั้งแม่น้ำ สกปรกไม๊ เน่า
อ้ายน้ำเสีย น้ำทิ้งที่มันลงไปในแม่น้ำเนี่ย น้ำสะอาดๆ นานๆ น้ำสะอาดเน่าไม๊  เน่า
ทำดีก็ได้ดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว
เพราะงั้น วันหนึ่งข้างหน้า แม้แต่แม่น้ำใหญ่ มหาสมุทรใหญ่ยังเน่าได้ฉันใด
สาอะไรกับคนที่พยายามจะทำ ไม่ว่าจะดีก็ตาม หรือเลวก็ตาม
มันก็ให้ผลได้ฉันนั้นเหมือนกัน
พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นดั่งนี้ นี่คือ ความเห็นตรงถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิข้อต้น
ความเห็นตรงถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิข้อที่ 2 ก็คือ
เห็นว่า สรรพสิ่งในโลก มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่และแปรปรวนในท่ามกลาง
สุดท้ายก็แตกสลายในที่สุด
ความเห็นอย่างนี้ เป็นความเห็นที่ขัดง้างกับความเห็นที่โลกไม่มีตัวตน
คือ โลกสูญเปล่า เพราะว่า มันเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ตั้งอยู่ด้วยเหตุด้วยปัจจัย
ขาดเหตุขาดปัจจัย ทุกอย่างก็หายหรืออันตรธานไป
แล้วเหตุปัจจัยอันนั้น พระพุทธเจ้าเรียกว่าอะไร
เหตุปัจจัยอันนั้นก็เรียกว่า อวิชชา ตัณหา แล้วก็อุปาทาน
เพราะมีอวิชชา มีตัณหา มีอุปาทาน มันจึงเป็นกระบวนการสันดาป
ก่อให้เกิดสัตว์ เกิดมนุษย์ เกิดสรรพสิ่ง เกิดสิ่งแวดล้อม
เกิดสรรพชีวิต แล้วก็สรรพธรรมชาติมากมาย
แล้วสรรพธรรมชาติ สรรพชีวิตเหล่านั้น จะสวย จะงาม จะดี จะโทรม
จะเลอเลิศประเสริฐอย่างไร มันก็มาจากตัณหา ความทะยานอยาก อุปาทาน ความยึดถือ
ด้วยความเห็นเหล่านี้ มันทำให้สามารถดำเนินไปในวิถีแห่งมรรค ข้อที่ 2ได้ว่า ดำริชอบ
ดำริเพื่ออะไร ดำริที่จะพ้นจากอ้ายหนทางแห่งความผิดพลาด
หรือว่า ดำริที่จะพ้นจากเหตุที่ทำให้เกิด เหตุที่ทำให้มีวัฏฏะ
เหตุที่ทำให้มีชาติภพ เหตุที่ทำให้มีความอยาก
และเหตุอันนั้นก็คือ อวิชชา เหตุอันนั้นก็คือ ตัณหา
และเหตุอันนั้นก็คือ อุปาทาน ความยึดถือ
ความดำริที่จะพ้นทุกข์นี่แหละ มันเป็นเหตุอย่างหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน ข้อต้นเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ก็สามารถทำให้เห็นทุกข์ได้
ถ้าคนมีสัมมาทิฏฐิก็จะเห็นปัจจัยแห่งทุกข์ว่า ทุกข์นี่มันทนได้ยาก
ทุกข์นี่มันลำบากเหลือเกิน ความทุกข์นี่มันเดือดร้อนเสียหาย
หลายคนสงสัยว่า รอบ 3 อาการ 12 มันคืออะไร
นี่ หลวงปู่กำลังอธิบาย รอบ 3 อาการ 12 ให้ฟังว่า
รอบ 3 อาการ 12 ก็คิดแบบนี้ วิเคราะห์ และตรึกอย่างนี้ คิดวนไปวนมาๆ
จนไม่มีเหตุปัจจัยอะไรให้คิดแล้ว
จึงเป็นบทโศลกที่แสดงเอาไว้ว่า
ลูกรัก  เจ้าจงคิด ถ้าไม่คิด เรื่องที่คิดจะมีมากมาย
แต่ถ้าเมื่อใดที่คิด เรื่องที่เจ้าจะคิด จะไม่เหลืออะไร
เพราะคิดจนถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรให้คิดแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
เพราะงั้น ความหมายของคำว่า สัมมาทิฏฐินั้น มันต้องทบทวนกลับไปกลับมา
เริ่มต้นจากทบทวนในเรื่องของอะไร ของกรรม
ต่อมาทบทวนเรื่องของธรรมดาสามัญลักษณะ ที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แล้วข้อสุดท้ายที่เรียกว่า รอบ 3 ก็คือ ทบทวนเรื่อง ทุกข์อริยสัจจ์
ทุกข์อริยสัจจ์ มีอะไรบ้าง ก็มี เหตุปัจจัยอะไรเป็นทุกข์ เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์
เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ พลัดพรากจากของรัก ของชอบใจ ของไม่ชอบใจ เป็นทุกข์
ทุกข์ทั้งนั้นสุดท้าย เมื่อทบทวนกลับไปกลับมาอย่างนี้
อย่างนี้เค้าเรียกว่ารอบ 3 หรืออาการ 3 รอบ
ทีนี้ เมื่อมี 3 รอบ แล้วก็ต้องทบทวนให้ครบ อาการ 12 ด้วยเหตุปัจจัยว่า
ต้องทบทวนไปถึงกระบวนการเรื่องของ วจีทุจริต ข้อที่ 3 ในมรรคาปฏิปทา
การพูด พูดที่ออกมาจากวจีทุจริต ซึ่งไม่สุจริตนั้น มันมาจากอะไรเป็นต้นเหตุ
มันเป็นอะไร อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
คือกลับไปรอบที่ 3 อีกนั่นแหละ วนกลับไปที่ 3 รอบอีกว่า อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ทำให้เราพูดโกหก พูดมดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ
ต่อมาเลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพชอบมีอะไรบ้าง
ก็คือ ทำเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่เบียดเบียนตนและไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
แล้วสามารถยังอัตภาพให้ดำรงอยู่ได้น่ะ เค้าเรียกว่า เป็นการเลี้ยงชีพชอบ
การงานชอบก็เหมือนกัน มีลักษณะคล้ายกัน ก็คือ เราจะต้องไม่เบียดเบียนตน
ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน การงานที่ยังให้เกิดกุศลมูล เป็นการงานที่ทำลายอกุศลมูล
เป็นการงานที่ทำให้ก่อกำเนิดกุศลอยู่ต่องเนื่องเนืองนิจ
เป็นการงานที่ทำให้กุศลเจริญอยู่แล้ว รุ่งเรืองอยู่สืบเนื่องต่อไปไม่จบสิ้น
เป็นการงานที่ทำแล้ว อกุศลจะต้องไม่เจริญเติบโต และดับสูญไปในที่สุด
อย่างนี้เป็นต้น อยู่ในหลักของการงานชอบ
ก็กลับไปอยู่ในสัมมาทิฏฐิอีกนั่นแหละ
แล้วการงานอย่างไรที่จะต้องเป็นการงานชอบ
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ก็วนกลับมาอีกอยู่ในหลักสัมมาทิฏฐิ คือข้อต้น
แล้วข้อต่อมา ก็มีความเพียรชอบ
เมื่อเรารู้เหตุปัจจัยของทุกข์ รู้เหตุปัจจัยของเหตุเกิดทุกข์
รู้เหตุปัจจัยของการดับทุกข์ ก็เพียรพยายามล่ะทีนี้
เพียรพยายามที่จะให้ความทุกข์มันหมดลง
เพียรพยายามที่จะก้าวไปสู่ในมรรคาปฏิปทา
เพื่อเข้าถึงองค์ประกอบของความหลุดพ้นเภทภัยแห่งวัฏฏะ ที่เรียกว่า พ้นจากทุกข์ให้ได้
เพราะงั้น เมื่อคืนนี้ หลวงปู่จึงสรุปและกล่าวไว้ว่า
ทุกข์ ควรรู้
เหตุแห่งทุกข์ ควรละ
ทางดับทุกข์ ควรดำเนิน
หลักแห่งการดับทุกข์ ควรทำให้เจริญ
แล้วข้อต่อมา ก็เป็นสัมมาสติ และก็สัมมาสมาธิ
หลายคนคิดว่า สติเป็นเรื่องดีทั้งหมด ไม่ใช่
คนขโมยของสำเร็จ นี่เค้ามีสติไม๊
คนคดโกง มดเท็จ ตลบตะแลง โกหก ตอแหล หลอกลวง
เค้าทำสำเร็จนี่ มีสติไม๊ ปล้นสดมภ์ เค้ามีสติไม๊
มี แต่มันเป็นมิจฉาสติ เป็นสติที่ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์
เพราะงั้น พระพุทธเจ้าจึงจัดสัมมาสติเอาไว้ในมรรคาปฏิปทา
อย่าเข้าใจว่า พอมีสติแล้ว ทุกอย่างมันจะดีไปหมด
ไม่ใช่ หลายคนอาจจะคิดว่า ทำทุกอย่างให้เกิดสติ แต่มันต้องเป็นวิถีแห่งสัมมา
ทีนี้ ก็จะถามต่อมาว่า อ้ายวิธีที่เราฝึกสติอยู่ทุกวันๆ เหมือนอย่างมีคำกล่าวเมื่อวานนี้
จำได้ไม๊ว่า หลวงปู่ได้เคยเล่าให้ฟังว่า
แขกอาคันตุกะ มาถามการเจริญสติ เป็นอย่างไร ทำอย่างไร
แล้วหลวงปู่ก็บอกว่า วิธีการเจริญสติ หรือทำภาวนาเบื้องต้นทำ อย่างไร
มีชีวิต จิตวิญญาณอยู่กับสิ่งที่ทำ คำที่พูด และสูตรที่คิด อยู่กับการงานที่ตัวเองทำ
อย่างนั้นแหละ เค้าเรียกว่า คำภาวนา และถ้าหากว่า จำไม่ผิด
หลวงปู่ได้บอกว่า ภาวนาชั้นสูงหรือ ต่ำ
ชีวิตและการงานที่เรามีคำภาวนา มีกระบวนการภาวนา หรือภาวนาในการทำงาน
ก็คือ มีสติ มีจิตวิญญาณ มีสมาธิ มีความตั้งมั่น ทำ พูด คิด เรื่องเดียวกัน
เป็นการภาวนาชั้นสูงหรือชั้นต่ำ ยังชั้นต่ำ เป็นการงานชั้นต่ำ
ตัวอย่างเช่น ถ้าโจรมันขยันที่จะขโมยของ มีสติไม๊ เป็นภาวนาไม๊  เป็น
จัดว่าเป็นภาวนาอย่างหนึ่ง แต่ในวิถีแห่งพุทธธรรม
ท่านยกเอาภาวนา คือ เครื่องยังให้เกิดความเจริญ
เพราะงั้น การขโมยของนี่ มันเจริญไม๊ ไม่ได้เจริญ
มันต้องติดคุกติดตาราง มันเลยไม่เจริญ ก็ยังถือว่า ยังจัดเป็นภาวนาชั้นต่ำ
ด้วยเหตุปัจจัยว่า ทำการงานก็ตาม ค้าขายก็ตาม ทำอาชีพก็ตาม
แล้วเราทำด้วยคำว่า ภาวนา มันทำด้วยความโลภไม๊ล่ะ
ทำ  โลภ เพราะโลภจึงทำ เพราะงั้น ภาวนาชนิดที่มีความโลภเป็นเจ้าเรือน
มีความโลภเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ และเป็นความโลภที่ไม่เกี่ยวกับกุศล
เป็นความโลภที่ยังเป็นโลภะ เป็นอกุศล
แม้จะใช้คำว่า ภาวนา คือทำให้การงานนั้นเจริญ
ก็ยังเป็นความเจริญชั้นโลกียะภูมิ เรียกว่า ชั้นต่ำ
ภาวนาที่เป็นส่วนแห่งความเจริญ หลวงปู่ได้แยกไว้ตอนปฏิบัติธรรม จำได้ไม๊
ภาวนาในส่วนที่เป็นความเจริญ ก็คือ
นิ่งๆ โปร่ง เบา สบาย ผ่อนคลาย แล้วไม่มีอารมณ์ใดๆ ที่เป็นอกุศลเข้ามาครอบคลุม
เวลาเราทำการงาน มีอารมณ์ไม๊ มี ลูก มีอารมณ์ที่เป็นกุศล ที่เป็นอกุศลก็มี
แม้จะบอกว่า เป็นคำภาวนาก็ตามที ก็ยังปรากฏอารมณ์
แต่ภาวนาที่พระพุทธเจ้าหมายถึงในหลักสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้น
ต้องไม่ปรากฏอารมณ์
เพราะงั้น ภาวนาในการงานจึงยังจัดว่าเป็นภาวนาที่มีอารมณ์ไม๊  มีอารมณ์
เมื่อภาวนาที่มีอารมณ์ มันก็ต้องถือว่า เป็นภาวนาชั้นยังต่ำอยู่
ก็ยังดีกว่าไม่ภาวนาเลยใช่ไม๊ เพราะปากทำอย่าง ใจคิดอีกอย่าง มือทำอีกเรื่องหนึ่ง
พูดอีกอย่างหนึ่ง ทำอีกเรื่องหนึ่ง เรียกว่า คนไม่ภาวนา
เพราะงั้น กว่าจะเกิดกระบวนการพัฒนาทางจิตได้
ก็ต้องเริ่มต้นจากภาวนาทางกาย วาจา ก่อน
แล้วภาวนาทางกาย วาจา ก็คือ ปากพูดอย่างไร มือทำอย่างนั้น
มือทำอย่างไร ใจคิดเช่นนั้น ปาก มือ ใจ เรื่องเดียวกัน
ทำเรื่องเดียวกันอย่างนี้ เค้าเรียกว่า เป็นผู้ภาวนา
ทีนี้ เราจะปรับภาวนาให้เป็นภาวนาชั้นสูง ก็ทำให้อารมณ์มันปราศจาก
เหมือนมีคำกล่าวว่า อย่าทำอารมณ์ให้เป็นอะไร แล้วเราจะได้ไม่มีอาลัยในอารมณ์
เข้าใจความหมายไม๊ นี่แหละ คือ คำว่า ประโยชน์แท้ หรือประโยชน์เทียม
ประโยชน์แท้ๆ
บทโศลกของหลวงปู่ 1000 กว่าบทเนี่ย ใช้ได้หมดล่ะ ลูก
ใช้ได้หมดในพุทธธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ขึ้นอยู่กับว่า เราจะใช้กับอะไร ใช้ในเวลาไหน ใช้ในขั้นตอนไหน
มึงอ่านบทโศลก แล้วศึกษาบทโศลกของหลวงปู่เนี่ย
ไม่ต้องไปอ่านตำราเล่มไหนแล้วล่ะ
เอา นี่กูพูดเรื่องจริง ไม่ได้คุย
นี่ พูดเรื่องจริง ไม่ต้องอ่านตำราเล่มไหน
มึงอ่านเรื่องหนึ่ง ร้อยครั้ง ก็จะได้อะไรแตกต่างจากครั้งที่แล้วๆ
วันนี้ อ่านครั้ง พรุ่งนี้อ่านอีกครั้ง ก็จะได้อะไรที่แตกต่างจากวันนี้
มะรืนนี้มาอ่านอีกเที่ยวหนึ่ง บทเดียวกัน ก็จะได้อะไรมากกว่าเมื่อวานนี้
มันจะมีคำตอบให้เสมอๆ
เพราะมันเป็นกลบท เป็น......   
ก็คือ มีอุบายวิธีเรียกว่า อุบายกุศล ซ่อนเร้นอยู่ภายในเยอะแยะมากมาย
ถ้าเราวิเคราะห์ พินิจ พิจารณาแล้วใคร่ครวญ อย่างนี้ เค้าเรียกว่า รอบ 3 อาการ 12
คือ การพิจารณาซ้ำไปซ้ำมาอยู่เนืองๆ
พูดเหมือนกับว่า คนฟังไม่มีสติปัญญา ก็พูดอะไรซ้ำซาก
แต่คนมีปัญญา เค้าค่อยๆ แกะอย่างลุ่มลึก แล้วจะรู้ว่า อ้อ มันไม่ได้ซ้ำ
มันเหมือนกับเงื่อนอยู่ใต้เงื่อน
ปมอยู่ในปม
พอแก้ออกมาแล้ว มันก็ยังมีปมต่อไปอีก
แก้ออกมาแล้ว ก็ยังมีปมต่อไปอีก
คนไม่รู้ ไม่เคยแก้ ก็นึกว่า โอ้ ปมมันนิดหน่อยแค่นี้เอง จะมาซ้ำซากอะไรกันมากมาย แต่ไม่ใช่
ก็วันนี้ หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
มีใจความรายละเอียดดังกล่าวมาแล้วนั้น ตกลงก็ทำให้เกิด พระสังฆรัตนะองค์แรกของโลก
รุ่งขึ้น คือวันนี้ พระองค์ก็นำพาปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เดินทางเข้าสู่อุรุเวลาเสนานิคม เพื่อจำพรรษากาล
คือหลบฝน หลบฤดูฝน เพราะอุรุเวลาเสนานิคม เป็นสถานที่ร่มรื่น มีที่มุงที่บัง ที่เหมาะสม
เป็นตำแหน่งแห่งที่ที่อยู่ของพวกชฏิลนักบวชและฤษีต่างๆ เพราะสามารถจะหลบฝนหลบลมได้
เมื่อพระองค์ทรงจำพรรษา ก็สอนปัญจวัคคีย์ทั้ง 3 ด้วยการเทศนา สอนเรื่องของอนัตตลักขณสูตร
แล้วก็ทรงไปสอนอทิตตปริยาสูตร หลังจากออกพรรษาแล้วกับชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง
ชฎิลทั้ง 3 พี่น้องนี่มีบริวารพันนึง แล้วบริวารเหล่านี้ก็เป็นที่เคารพ ที่ศรัทธาของคหบดีเศรษฐี
หัวหน้าหมู่ หัวหน้าคณะ แม้กระทั่งพระราชา พระมหากษัตริย์ ก็ให้ความเคารพต่อชฎิลทั้ง 3
เมื่อพระองค์ทรงกำหราบชฎิลทั้ง 3 ให้มาเป็นพวก เป็นบริษัท บริวาร แล้วก็เลยได้บริวารมาเพิ่มเติม
ภายในพรรษาที่ 2 ก็สามารถได้พุทธสาวกเพิ่มเป็นพัน คือ วิธีการแสดงพระธรรมเทศนาของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะงั้น วันนี้เป็นวันเข้าพรรษาตามวินัยนิยม วินัยบัญญัติ และวินัยกรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติไว้ หลักการเข้าพรรษาก็ไม่มีอะไร ลูก
เค้ามีธรรมเนียมปฏิบัติเป็นวินัยกรรมจริงๆ ก็คือ
ผ้าที่วางอยู่ที่นี่ ที่เหลือนอกนั้นเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ที่เรียกว่า ประเพณีนิยม
ตัวอย่างเช่นอะไรบ้าง เทียนประจำพรรษา เป็นประเพณีนิยม ไม่ใช่วินัยกรรม
เทียนประจำพรรษา เครื่องไทยธรรม เครื่องสลากภัต หรือของถวายพระ เหล่านี้เป็นประเพณีนิยม
บางทีบางตำบลบางท้องถิ่นที่ทุรกันดาร เค้าก็ถวายไม่ใช่เป็นต้นๆ เค้าเอาด้ายไปจุ่มขี้ผึ้งแล้วก็ปั้น
เป็นเหมือนกับเชือก แล้วเวลาใช้ก็เอาขดวาง แล้วชูหัวขึ้น แล้วก็จุด แล้วมันก็ค่อยๆ มอดลงไป
เพราะมันขี้ผึ้งหายาก อ้ายบ้านเราเมืองเรานี่ขี้ผึ้งมันหาง่าย มันไม่ใช่ได้มาจากผึ้งแท้ๆ
แต่มันได้มาจากอะไร ไขน้ำมันสัตว์บ้าง ไขวัว ไขควาย บ้าง แล้วก็ไขน้ำมันเครื่องที่ได้จากปิโตรเคมี
มันก็เลยเอามาใช้ประยุกต์ กลายเป็นเทียนเป็นต้น มีเนื้อเทียนหนาๆ ใหญ่ๆ
แล้วบางที่ บางตำบล บางถิ่น บางหัวเมือง ก็ไม่ได้ฟุ่มเฟือยเหลือเฟือมาก
ถึงขนาดจะถวายสิ่งของอะไรเยอะแยะมากมาย เค้าก็ใช้วิธีถวายข้าวเปลือก หรือข้าวสาร
เป็นสลากภัต เอาไว้ให้พระเณรได้หุงต้มตามฤดูเข้าพรรษา เพราะบิณฑบาตรไม่ได้
งั้น เหล่านี้เป็นวินัยกรรม หรือ เป็นประเพณีนิยม
เราทำบุญ เราต้องรู้ และแยกให้ออก อะไรเป็นประเพณี อะไรเป็นวินัย
เพราะฉะนั้น ระหว่างเทียนกับผ้าอาบน้ำฝน อะไรสำคัญ ผ้าอาบน้ำฝน สำคัญ ลูก
แต่เราก็ชอบเพราะว่า ผ้าอาบน้ำฝน เวลาถวาย มันชวนนักท่องเที่ยวไม่ได้
จะมาดูพระแก้ผ้าอาบน้ำก็คงกระไรอยู่ จะมาดูพระใส่ผ้าอาบน้ำฝนโชว์ก็คงจะไม่ใช่ที่
แต่เทียนนี่มันโชว์นักท่องเที่ยวได้ใช่ไม๊ มันอวดชาวโลก ต่างประเทศก็ได้
แล้วชวนให้ใครมาเที่ยวได้ มันก็เลยกลายเป็นว่า เทียนสำคัญกว่าผ้า
แต่จริงๆ แล้ว ผ้านี่มันสำคัญกว่าเทียน
ทีนี้ การถวายผ้าได้อานิสงส์อะไร
ก็ทำให้เรามีความสุขสมบูรณ์ ชีวิตก็ผ่อนคลายจากความทุกข์ยาก ลำบาก แล้วก็ร่มเย็นเป็นสุข
เพราะการได้ถวายให้พระได้ใส่อาบน้ำ ไม่แสดงตัวเป็นเปรตขอส่วนบุญอยู่ตามชายคา
ไม่แก้ผ้าอาบน้ำ ก็ถือว่า เราก็มีความสุขสมบูรณ์ มีวรรณะผ่องใส ผิวกายก็จะนิ่มนวล
เมื่อเช้าใครถวายผ้าบ้าง ยกมือซิ เออ ลองเอามือลูบหน้าซิ สากไม๊  นุ่มขึ้นบ้างไม๊ เออ
การถวายเทียนจำนำพรรษา หนาไม๊ ลูก หนาไม๊ ลืมถาม ถามผิด ขออภัย หน้าหนาไม๊ ลูก
ถวายผ้าแล้วหน้าหนาขึ้นไม๊
ถวายเทียนประจำพรรษา อานิสงส์มันคืออะไร เมื่อวานต้องเรียก จำนำพรรษา
เทียนประจำพรรษา เค้าเชื่อกันว่า เมื่อพระจุดแล้ว มันจะทำให้ชีวิตเค้าสว่างไสว
แต่เผอิญจุดแล้วดับ จุดแล้วดับ แล้วเป็นไง สว่างติด สว่างดับ อยู่นั่นแหละ
อย่าไปเชื่ออะไรมากนะ เออ ถ้าเผอิญจุดดับ ๆ แล้วมึงไม่แย่เหรอ
งั้น ก็ต้องจุดให้ชั้นตลอด 3 เดือน อย่าให้ดับ อ้าวไฟไหม้โบสถ์พอดี พอดีไม่ต้องทำอะไรกัน
งั้น เชื่ออะไรก็ให้มีที่มาที่ไป มีเหตุมีผล ให้ยืนยันชัดแจ้ง มีสติปัญญา คิดใคร่ครวญหน่อย
เรียนรู้เรื่องสัมมาทิฎฐิแล้ว จะบอกว่า ถวายเทียนมีอานิสงส์ เค้าก็สอนกันไว้อย่างนี้นะ
เวลาถวายเทียนแล้ว มันจะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง รุ่งโรจน์ โชติช่วงชัชวาลย์อะไรไป
แล้วเราก็มานึกในใจไง อ้ายห่า แล้วอีตอนเทียนมึงดับ มันจะทำยังไง
ชีวิตมึงก็ดับอับเฉาไปตามเทียนที่ดับแล้วหรือไง
แต่เค้าเอาอานิสงส์ว่า เทียนนี้มันยังให้เกิดความสว่าง พระเณรใช้แล้วก็ได้เกิดความสว่างไสว
ได้จุดถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
แล้วก็สมัยก่อนมันไม่มีไฟฟ้า ก็ได้ใช้เป็นไต้สำหรับเดินทาง ใช้สำหรับจุดอ่านหนังสือหนังหา
ดูตำรับตำรา และมีชีวิตอยู่ยามค่ำคืน
ในมุมกลับกัน เค้าใช้เทียนมาทำเป็นกสิน เป็นการเจริญกรรมฐาน
แต่ไม่ว่าใช้อะไร ทำอะไร ก็แล้วแต่ ถ้าพระใช้ของเรา เป็นอันได้ผลไม๊
ได้บุญ ลูก แม้ไม่ใช่ ถ้ามีมาก ไปถวายท่าน ท่านรับอนุโมทนา บุญนั้นก็สำเร็จประโยชน์แก่เรา
ส่วนเรื่องที่มีของหีบ ของห่อ หลอดไฟ ถามว่า มันแทนกับเทียนได้ไม๊
เค้ามีหลอดไฟมาถวายเยอะเลย มันแทนเทียนไม่ได้ เพราะองค์ประกอบของเทียน
มันมีองค์ประกอบหลากหลาย ตั้งแต่เริ่มคนปลูกฝ้าย ควั่นไส้เทียน คนไปตีผึ้ง เอาขี้ผึ้งทำเทียน
คนไปกรองเอาไขมันของสัตว์ เอามาต้มเพื่อดับกลิ่น แต่มันดับยังไงก็ดับไม่หาย
เดี๋ยวนี้ ขี้ผึ้งแท้ไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่ก็เป็นไขมันสัตว์ หรือไม่ก็ไขที่เกิดจากปิโตรเคมี
เวลาเราจุดเทียนก็จะมีกลิ่นเหมือนน้ำมันเครื่องไหม้ๆ มันมาจากปิโตรเคมี
เพราะงั้น การถวายเทียนไม่ใช่แค่เพียงองค์ประกอบของอาชีพหลากหลาย
มันมีถึงศิลปะวัฒนธรรม จารีตขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม
มันเข้ามาในองค์ประกอบของเทียนต้นหนึ่ง แล้วมันก็เป็นความงามทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
เพราะงั้น ถวายหลอดไฟ มันจะแทนเทียนไม่ได้ ยังไงก็แทนไม่ได้
แต่ถามว่า มีอานิสงส์ไม๊ ถวายหลอดไปก็ดีกว่าอยู่เปล่าๆ
ไฟตรงไหนมันขาด มันดับ ในคลังหลวงปู่ โอ้โห หลอดไฟเป็นพันๆ หลอด
อ้าว จริงๆ เป็นพันๆ หลอด เก็บจนกระทั่งกล่องห่อหลอดมันขาดหมด
เราก็ไม่รู้จะไปแจกใคร ก็แจกตามวัด วัดเค้าก็ไม่ใช้ แล้วอ้ายหลอดสมัยนี้ เค้าใช้หลอดประหยัดไฟ
เค้าบอกอ้ายอย่างนี้ มันเปลืองไฟ ของกูก็จำเป็นต้องใช้ ของเค้าถวายมา ไม่ใช้ เดี๋ยวเค้าก็ด่าเอา
จะไปขายใครก็ไม่ได้ มันก็ลำบากอยู่พอสมควร แล้วปีๆ หนึ่งดูซิได้เป็นกองๆ เนี่ย กูใช้หมดไม๊
แล้วมึงจะทำยังไงล่ะ เออ ขายพวกมึง ขายพวกมึง กูสู้ให้พวกมึงไปดีกว่า
เอ้ย ไม่มีหรอก มีคนเค้ามาขอซื้อเทียนกู
ไม่ขาย
ทำไม
ไปวัดไหนๆ เค้าก็ขายหมด วัดนี้ ทำไมไม่ขาย 
ไม่ขาย
ขอเป็นเคล็ดซักนิดนึง กูก็เลยหยิบเทียนใสเอาไปให้มันต้นนึง บอกนี่เคล็ดให้มึง เราไม่ขาย
มีเป็นคลัง เทียน ขนาดแจกไปแล้ว ก็ยังมีเป็นคลัง
แล้วหลวงปู่ทำไง กูใช้วิธีเอามาหลอมละลายใส่ฐานพระ เทียนที่จุดบ้าง ไม่จุดบ้าง ในโบสถ์เนี่ย
เอามาหยอดใส่ฐานพระพุทธรูปที่กูขายบ้าง แจกบ้าง หยอดใส่ไป เพราะไม่รู้จะไปทำอะไรไง
ก็เลยเอามาหยอดใส่ฐานพระ อย่างน้อยก็ดีกว่าใส่ปูน มันก็ดูขลังหน่อย
คนเค้าก็ยัง เออ เศษเทียนที่เหลือจากพระบูชา มาอยู่ใต้ฐานพระ เป็นมงคล
ก็ใช้วิธีแบบนี้ ต่อไปก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ก็ใช้วิธีเอาไปแจกตามหมู่บ้านชนบทชาวเขา
เวลาไปแจกของที ก็เอาเทียนไปแจกเค้า เพราะเค้าไม่มีไฟฟ้าใช้ เราก็เอาเทียนไปแจก
พอใช้ได้  อ้ายหลอดไฟไปแจกใคร ก็คงไม่ได้ เพราะว่า ไปก็ยาก แตกแล้ว ถือไปก็แตกแล้ว
แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร คนถวาย ก็อนุโมทนา สาธุ ด้วย
เอ้า เดี๋ยวเปิดโอกาสให้ถามปัญหาสัก 2-3 ข้อ แล้วเดี๋ยวปฏิบัติธรรม
วันนี้ ประมาณบ่ายๆ 2-3 โมง บ่าย 3 โมง เค้าจะลงโบสถ์ อธิษฐานพรรษา
พวกเราก็คงจะปฏิบัติธรรมกันตามที่สอนไป จนกว่าจะรอพระเค้าออกจากโบสถ์
ช่วงที่เค้าอยู่ในโบสถ์ อธิษฐานพรรษาก็เข้าไปวุ่นวายกับเค้าไม่ได้ เพราะเป็นสังฆกรรม
แล้วเราจะอธิษฐานพรรษว่า ปีนี้ จะจำพรรษา จำพรรษาไม๊ ผัวจะชอบใจน่ะสิ เมียกูไปจำพรรษาโว้ย
เออ เมียจะชอบใจ ผัวกูจะไปจำพรรษา งั้นก็อธิษฐานว่าอะไร
ว่า เราจะภาวนาทั้งพรรษาก็แล้วกัน
อธิษฐานว่า เราจะภาวนาทั้งพรรษา มีชีวิตอยู่กับการภาวนา
แล้วมีชีวิตอยู่กับการภาวนา มันจำเป็นต้องหายใจเข้า พุท หายใจออก โธ ไม๊
แล้วมันคืออะไร
คิดอย่างไร ทำอย่างนั้น
ทำอย่างไร พูดเช่นนั้น
คิด ทำ พูด เรื่องเดียวกัน นี่คือ การภาวนา ให้จำเอาไว้
คิดอย่างไร ทำอย่างนั้น ทำอย่างไร พูดเช่นนั้น
พูด ทำ คิด เรื่องเดียวกัน นั่นคือ การภาวนา
ไม่ใช่ปากอย่างหนึ่ง ใจอีกอย่างหนึ่ง มือทำอีกเรื่องหนึ่ง อย่างนี้ ภาวนาไม๊
ภาวนานี่ แปลว่า เจริญ ถ้าเราคิด ทำ พูด ในเรื่องเดียวกัน สิ่งที่ทำ มันสำเร็จง่ายไม๊
ง่าย มีประโยชน์สูงสุด อย่างนี้ไม่เจริญ แล้วเรียกว่าอะไร
เพราะงั้น ไม่ใช่คิดว่า เราจะต้องภาวนาแล้วมานั่งหลับตา พุทโธ พุทโธ นั่งขี้ไป ก็พุทโธ พุทโธ
นั่งขี้ไป สวดมนต์ไป เหมือนกับที่เค้าเล่าให้ฟัง อย่าไปทำ ไม่ได้
ขับรถไป ภาวนาไป อย่างนี้ ใช้ได้ไม๊ ภาวนาโดยการตามองถนน หูคอยฟังเสียง
ประสาทสัมผัสคอยตื่นตัว พร้อมที่จะรับสถานการณ์ที่จะเผชิญเหตุข้างหน้า
อย่างเป็นคนที่ไม่หวาดผวา ไม่สะดุ้งกลัว ไม่ตกอกตกใจ
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ขับด้วยการภาวนา อ้ายขับรถไป แล้วบอกว่า ภาวนา คือ สวดอิติปิโส พาหุงไป
มัวแต่อิติปิโส พาหุง เดี๋ยวก็เปรี้ยง อ้าว โดนเข้าไปแล้ว เราไม่เปรี้ยงเค้า เค้าก็เปรี้ยงเรา
อย่างนี้ เค้าไม่เรียกว่า ภาวนาหรอก เค้าเรียกว่า เสียสติ บ้า ไม่รู้จักว่าอะไร ควรทำ อะไรไม่ควรทำ
แล้วถ้าใครสอนอย่างนี้ ไม่ถูกนะ
เห็นบ่อยมาก ได้ยินมาเยอะเลย พวกนักบวชเลอะเทอะ ชอบสอนอย่างนี้
โยม ภาวนาในขณะขับรถนะ ภาวนาอะไรคะ พุทโธ พุทโธ พุทโธ
เดี๋ยวก็พุทโธ่ กูโดนอีกแล้ว เออ ภาวนาในขณะขับรถ
ก็คือ ประสาททุกส่วนในร่างกายต้องตื่นเพื่อจะรับรู้และพร้อมที่จะเผชิญเหตุ
อย่างนี้เรียกว่า ภาวนาในขณะขับรถ
ภาวนาในขณะอ่านหนังสือ ก็คือ ตาดูหนังสือ ปากอ่านหนังสือ ใจรู้หนังสือ
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า ภาวนาในขณะที่อ่านหนังสือ ดูหนังสือ
ภาวนาในขณะที่นั่งบนรถเมล์ ทำได้ไม๊  ได้  ถ้าอย่างนี้ ทำได้เลย
เพราะไม่ได้ทำอะไรเลย นั่งเฉยๆ ยกเว้นมึงหลับ ทำอะไรอยู่ ภาวนาอยู่ คอห้อยเลย
อ้าว แถมมาอีก 2 ป้ายแล้วกู อย่างนี้ ไม่ภาวนาแล้ว เค้าเรียก หลับ
หลายคนก็เริ่มภาวนาแล้วเนี่ย เริ่มภาวนาแล้ว
เมื่อคืน กูตื่นตี 3 นะ เออ เช้านี้ยังไม่ได้ฉันอะไร เพราะว่า ฉันมื้อเดียว เข้าพรรษา
ฉันแต่น้ำเต้าหู้ไปถ้วยหนึ่ง กูยังตาสว่าง มึงนี่ตาปรือแล้ว
อาม่า หัวห้อยติดเทียนพรรษาแล้ว นึกว่า หลบเทียน แล้วจะมองไม่เห็นนะ ไม่ได้นะ
ฟอร์มคนแก่ นี่ร้ายนักล่ะ เอาเทียนบังหัว เออ ไม่ได้ ไม่ได้
เพราะงั้น ภาวนา ก็คือ ในขณะนั้นภาวนาว่าอย่างไร หูฟัง ตาดู ใจรู้ อย่างนี้
ภาวนาในการฟัง หูฟัง ตาดู ใจรู้
อ้าย หูฟัง แล้ว ตาหลับ ใจไม่รู้ แล้วม่อยไปด้วยเนี่ย ไม่ได้ ใช้ไม่ได้ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง
งั้น การภาวนาที่แท้จริง ก็คือ ทำ พูด คิด เรื่องเดียวกัน นั่นแหละคือ การภาวนาเบื้องต้น
แต่ก็ยังจัดอยู่ในภาวนาชั้นต่ำอยู่
นั่งรถเมล์ นี่ภวานาชั้นต่ำหรือชั้นสูง ลูก ถ้านั่งแล้วไม่หลับเนี่ยนะ
หายใจเข้า รู้ว่า ลมเข้า หายใจออก รู้ว่า ลมออก ภาวนาต่ำหรือสูง 
สูง เพราะว่า มันมีอารมณ์อะไร มันไม่มีอารมณ์อะไรที่เป็นอกุศล
แต่ทำการงานมันมีอารมณ์อะไร อย่างน้อยมันก็มีอารมณ์โกรธ อารมณ์โลภ อารมณ์หลง
อารมณ์ใดๆ ซึ่งอารมณ์มันหยาบกว่าการนั่งเฉยๆ แล้วรู้ลมหายใจเข้าและออก
อย่างนี้ เรียกว่า อารมณ์ละเอียดกว่า
จึงจะเรียกว่า ภาวนาที่เกิดจากการงานเป็นภาวนาชั้นต่ำ ให้เข้าใจคำว่า ภาวนาซะให้ชัดเจน
แล้วเวลาครู...สอน จะได้รู้ เค้าสอนถูกหรือสอนผิด
อ้ายนักบวชหรือ เกจิที่ชอบสอนว่า ทำงานไป ก็สวดมนต์ไปได้
อย่างนี้ แสดงว่า เค้าสอนผิด
ทำงานไป หายใจเข้า รู้ว่า พุท หายใจออก รู้ว่า โธ  อะระหัง ใส ปิ๊ง แจ๋ว อะไรอย่างนี้ สอนผิด
เออ ทำงานไป มันจะใส แจ๋ว ไปได้ยังไง มันมีแต่อีแจ๋วน่ะสิ เออ มีแต่อีแจ๋ว มันไม่มีอะไรใสหรอก
เอ้า ให้ถามปัญหา
ปุจฉา   หลังจากเดินปราณโอสถแล้ว หยุดปฏิบัติ จะมีอาการปวดเบ้าตา
ปวดล้าที่ตา จะแก้ไขอย่างไร
วิสัชนา  บางคน กูเห็นเดิน.. บอก เอาจิตตั้งบนหัว มันยังกับเลี้ยงอะไรอยู่บนหัว
มันก็สมควรแล้วอีห่า ด่ามันซะเลย กูกลัวมันจะไปเดินชนเสา ชนอะไร
มันคงมองปราณว่า ยังอยู่ไม๊ มองจิต แล้วอย่างนี้ยังมีหน้า หน้าด้านมาถามอีกว่า
ทำไมตาปวด ปวดกระบอกตา
เอ้ย เค้าเดินรู้
รู้นี่ ต้องตาดูไม๊
รู้สึก
รู้สึก แล้วรู้สึกนี่มันเป็นความรู้ทางจิต ไม่ใช่รู้ทางอารมณ์
รู้ให้ได้ทางจิต
เวลาสอบเนี่ย มึงต้องแยกให้ได้ จำไว้ นี่บอกข้อสอบให้เลย
คนที่เข้ามาสอบ ต้องแยกให้ได้ ระหว่างรู้ด้วยอารมณ์ หรือ รู้ด้วยจิต
รู้ว่า ปราณตั้งอยู่กลางกระหม่อม รู้ด้วยจิตหรือรู้ด้วยอารมณ์
เออ ที่ถูก ต้องรู้ด้วยจิต
แต่ถ้าอ้ายที่เดินเลี้ยงคอแข็ง กลัวปราณเคลื่อน หลุดร่วงมาเนี่ย มันสมควรแล้ว
ไม่มีคำตอบ มีแต่คำด่า จบ
ปุจฉา   ลุงที่หนัก 100 กิโล เป็นอัมพฤกษ์ ทานยาละลายลิ่มเลือด ขยายหลอดเลือด
ยาอัมพฤกษ์ ของหลวงปู่ แล้วดีขึ้นมาก ยาใกล้หมดแล้ว ควรทานยาต่อหรือไม่
วิสัชนา   เอ้า อาการดีขึ้น ก็กินต่อไปสิ
ยาหลวงปู่นี่ โรงพยาบาลเค้าสั่งไปใช้ในโรงพยาบาลนะ เมื่อวานนี้ เพิ่งจะอ่านคำขอ
เค้าสั่งอย่างละหมื่นเม็ด ส่งไปใช้ในโรงพยาบาล หมอเค้าสั่งไปใช้
เพราะงั้น กินได้ดี ก็กินไปเฮอะ
อย่าลืมกินน้ำยาปรับธาตุด้วย น้ำหนักมากๆ ไขมันมันจะไปเกาะตามผนังหลอดเลือด
แล้วก็ตับ แล้วก็อวัยวะสำคัญ ดื่มน้ำยาปรับธาตุ เช้าขวด เย็นขวด
มันจะช่วยละลายไขมันในตับ ไขมันที่เกาะตับ ไขมันในลิ่มเลือดได้
ทำให้เส้นเลือดแดงไม่เปราะ ไม่แข็งตัว จบ
ปุจฉา   ขอความเมตตาหลวงปู่อธิบายวิธีพิจารณาปัจจัย 4 ที่ถูกต้องก่อนรับประทานอาหาร
ควรทำอย่างไร
วิสัชนา   ที่จริง การเจริญปัจจะเวกขะณะ มันเป็นการเจริญเพื่อเรียกสติกลับมาในการบริโภค
เราบริโภคเพื่อความไม่เมามัน ไม่ให้เกิดกำลังและพลังทางกาย
บริโภคเพียงเพื่อให้ร่างกายมันดำรงอัตภาพ  รักษาพรหมจรรย์อยู่ได้
ไม่ใช่บริโภคเพราะความเมามัน เพราะความเอร็ดอร่อย
เพราะความหื่นกระหายทะยานอยาก
พระพุทธเจ้าสอนให้เรามีสติ แล้วเราจะพิจารณา เค้าพิจารณาก่อนหรือหลัง
พิจารณาในขณะบริโภค
อ้ายที่สวดๆ ท่องๆ กันน่ะ เพื่อเตือนตัวเองว่า กูจะต้องไม่กินแบบนี้
แต่ถึงเวลาเลิกสวดแล้วเนี่ย อู้หู มันก็สวาปามแบบนั้นเหมือนเดิม
ที่ถูกแล้ว ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น เวลาสวดเวลาท่องเนี่ย
หลวงปู่ เวลาฉันข้าว กูไม่ได้สวดนะ ฉันอยู่คนเดียว กูไม่มานั่งสวดนั่งท่องหรอก
แต่กูจะตักข้าว วันนี้ กูจะดูตัวเองว่า เออ ร่างกายเราขาดอะไร
เราขาดแคลเซียม ขาดแป้ง ขาดน้ำตาล ขาดไขมัน หรือขาดน้ำ อะไร
หรือไม่ก็ กระเพาะลำไส้เราทำงานปกติหรือไม่ สับปะรดควรกินเยอะไม๊
พริกควรกินไม๊ น้ำปลาควรกินไม๊  หวาน เปรี้ยว มัน เค็ม เผ็ด ควรจะกินไม๊
อย่างนี้ เรียกว่า พิจารณาไม๊  พิจารณา   เพราะถ้ากินแล้ว มันเป็นโทษ เป็นพิษ เราก็จะไม่กิน
อะไรที่มันบำรุง บำเรอ ฟุ้งเฟือ เราก็จะไม่แตะมัน
หลวงปู่ เค้าส่งไป เยอะแยะมากมาย กินเฉพาะที่ร่างกายต้องการและจำเป็น
อย่างนี้ เค้าเรียกว่า พิจารณา กินด้วยความพิจารณา ไม่ใช่กินเพราะความตะกละ
ตักข้าวก็นิดนึง ทัพพีนึง อาหารก็กินให้มันหลากหลาย อย่าเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เออ เรารู้สึกว่า วันนี้เราตะคั่นตะคอ ไอแค๊กๆ หรือว่าคอแห้ง ครั่นเนื้อครั่นตัว จะเป็นไข้
ก็ไม่ควรกินของมันของทอด เออ ไม่ควรจะไปกิน
เรารู้สึกว่า ลมเดินในข้อกระดูกเยอะมาก เราก็ไม่ควรกินอาหารที่มันมีรสเปรี้ยว
หรือไม่ก็ ไม่ควรกินอาหารที่มันเป็นมันมาก
ควรจะกินอาหารรสเผ็ด ร้อน เพื่อขับลมจากกระดูก จากข้อกระดูก คือปวดข้อกระดูก อะไรอย่างนี้
การกินอาหารนี่มันเป็นการผสมสูตรเคมีของร่างกาย
งั้น คนที่จะผสมได้ดี ก็ต้องมีปัญญา และรู้ชัด
ตัวหนังสือที่เขียนไว้หน้าเสื้อน่ะ อย่าเอาแต่ให้คนอื่นอ่าน ก้มลงอ่านซะบ้าง
มีสติในกาย กายนี้ไม่ลำบาก
มีสติในวาจา วาจานี้ไม่ลำบาก
มีสติในใจ ใจนี้ไม่ลำบาก
ถ้ากินอย่างมีสติ มันไม่ลำบากตูดหรอก
อ้ายคนไม่มีสติ สวาปามเข้าไป  เวลาขี้ จะลำบากตูด
เบ่งก็ไม่ออก ออกแล้วก็แสบ ลำบาก
เอ้า จริงๆ นี่พูดเรื่องจริง เดินมา พระ หลวงปู่ แสบก้น
เราก็พูดแบบชาวบ้าน ไปแดกอะไรมา 
ก็แดกขาหมูที่ท่านผัดพริกนั่นแหละ
เออ มันเผ็ดเหรอ
หลวงปู่ไม่ได้ฉันหรอก แค่ดมๆ เอา ไม่รู้
พักหลังนี่ ประสาทมันเฝื่อนไปหมดแล้ว ปรุงอาหารก็ไม่ค่อยรู้รส
จมูกมันไม่ค่อยดี ไม่เคยชิม
งั้น จะกินอาหารอะไร ก็ให้ระมัดระวัง คือการพิจารณานี่ มันพิจารณาลักษณะแบบนี้ ดังกล่าวนี้
ไม่ใช่พิจารณา คือ สวดก่อน แล้วก็โอ้โห โม่กันใหญ่ หัวทิ่มหัวตำ สวาปามไม่เลิก
อ้ายนู้นก็อร่อย อ้ายนี่ก็อร่อย มาโม๊ะๆ โอ้ย อย่างนี้เค้าเรียกว่า อะไรนะ
พิจารณาตอแหล จบ
ข้อนี้ ครบ 3 ปัญหาแล้วค่ะ
เอ้า พอแล้ว เดี๋ยวปฏิบัติธรรมอีกสักครึ่งชั่วโมง
แล้วก็ถวายทาน ถวายทานก่อนแล้วกัน แล้วเดี๋ยวค่อยปฏิบัติธรรมทีหลัง ลูก
คนเค้ามา เค้าจะรีบกลับ ก็มี
เอ้า ว่า นะโม 3 จบ พร้อมกัน
พวกมึงรู้ไม๊ว่า ทำไมเวลาเราหิวก็ตาม ง่วงก็ตาม มันจะฝึกจิตยาก
สังเกตุไม๊ หิวก็ตาม ง่วงก็ตาม  ถ้ามีตัณหา ความทะยานอยาก ก็ตามเนี่ย มันจะฝึกจิตยาก
ถามว่า หิวกับง่วง มันทำไมถึงฝึกจิตยาก
ก็เพราะว่า เรามีอุปาทานในขันธ์ทั้ง 5 ไง ตัวกูหิว ตัวกูง่วง
อ้ายความผูกติด ในตัวกู ของกู นี่แหละ มันดันทำให้จิตนี้ไม่เชื่อง มันดื้อ
มันเหมือนกับเสือหิว ทำให้มันเชื่องยาก
แต่ถ้าเมื่อใดที่เราแยกจิตออกจากกายให้ชัดแจ้ง
จิตส่วนจิต กายส่วนกาย มันฝึกง่าย ฝึกได้
แต่คนที่แยกอย่างนั้นได้
ใคร พวกมึงเหรอ
เพราะฉะนั้น ต้องฝึกที่จะแยก
หิวก็ตาม ง่วงก็ตาม อยากก็ตาม อย่าทำให้จิตมันกระเพื่อม และสะเทือน
ถ้าหิว ก็เป็นอาการทางกาย ง่วงก็เป็นอาการทางกาย
อย่าทำให้จิตมันหิวกับง่วงไปด้วย
จิตมันจำเป็นต้องกินอาหารไม๊ อ้ายที่กินคืออะไร ร่างกาย
จิตมันจำเป็นต้องนอนไม๊ อ้ายที่นอน คืออะไร ร่างกาย
แต่ที่จริงไม่ใช่ มึงน่ะ นอนทั้งกายทั้งใจเลย เวลากิน ก็กินทั้งกายทั้งใจเลย
กินหมดสภาพเลย
เพราะอย่างนี้ไง มันก็เลยไม่รู้จักที่จะฝึกให้มันได้ดีเสียที
ที่ยกเรื่องนี้ให้ฟัง เพราะมันมีเหตุเฉพาะ
สังเกตุมึงว่า นะโม กูก็รู้แล้วว่า มึงน่ะง่วง นะโม นะม่อย
นะม่อย อยากจะม่อยหลับ
พออยากจะม่อยหลับ นี่ก็แสดงว่า เราฝึกจิตยาก
เพราะเรามีอุปาทาน ความยึดถือในขันธ์ทั้ง 5 ว่าตัวกู ของกู ตัวกูง่วง
ถ้าจะให้ว่า นะโม ทางใจ เอาใหม่
แยกออกมาให้ได้ ระหว่างนะโมทางปาก กับนะโมทางใจ
เมื่อกี้ ทางปาก คือใช้กายว่า นะโม
ลองว่า นะโม ทางใจ ดูซิ มึงจะหลับไม๊
จะครบ 3 รอบไม๊
เริ่มต้นใหม่ 1 2 3
นะโม
เฮ้ย บอก นะโมทางใจ ยังแหกปากออกมาได้
นะโม ในใจ ไม่เกี่ยวกับกาย
เอาใจว่า นะโม
........
ยากไม๊ ยากไม๊
เอ้า ทีนี้ นะโมทั้งกายและใจ
.......
พอ บางคนเนี่ยนะ มันเหมือนหนักขึ้น 
ถ้า นะโม ทางใจนี่ มันจะเบา แจ่มชัด บางๆ
บางๆในที่นี้ ก็คือ คำกล่าว นะโม ในใจ มันไม่มีน้ำหนักที่จะต้องแบก
แต่พอแสดงออกมาทางปาก มันเหมือนหนักขึ้น
นะโมมันหนักขึ้น  มันเหมือนกับจะเข็นครกขึ้เขา
มันไปได้ยากขึ้น เพราะมันมีภาระทางกายเพิ่มขึ้น
เอาใหม่ นะโมทางใจใหม่
ให้สำรวจให้ได้
ให้แยกแยะระหว่างไม่แยกจิตออกจากกายแล้วว่า นะโม
กับรวมกายกับจิต แล้วว่า นะโม มันแตกต่างกันอย่างไร
อันไหนหนัก อันไหนเบากว่ากัน
อย่างที่หลวงปู่พูด จริงไม๊ ลองดู
ฟังแล้ว อย่าเชื่อ ต้องพิสูจน์
.......
เบากว่าไม๊ อ้าว อย่าเพิ่งเชื่อ
ว่า นะโมพร้อมกายกับใจ (ออกเสียง)
......
หนักกว่าไม๊ เพราะอะไร รู้ไม๊
เรามีอุปาทานเพิ่มขึ้นไง
อุปาทานมันเกิดตอนไหน ตรงไหน
อุปาทานมันเกิดตอนที่ว่า ให้กายนี้กล่าว ให้กายกูกล่าว
ตัวกูกล่าว นะโม ปากของกู ว่า นะโม
อุปาทานมันเกิดตรงนั้น เลยต้องแบกกายนี้ไปกับ นะโม
แต่ถ้ามีแต่จิตอย่างเดียว ไม่มีกาย เบาไม๊  เบา
งั้น ต้องรู้จักแยกแยะระหว่างกินกับ..
อ้ายหิวเนี่ย กายหิว ใจหิว ง่วง กายง่วงกับใจง่วง
ใจนี้มันง่วงได้ไม๊ ใจนี้มันง่วงไม่ได้ เพราะมันไม่จำเป็นต้องนอน
อ้ายที่นอน คือ กายนอน
ใจนี้มันต้องกินไม๊ มันไม่หิว มันไม่ต้องกิน
อ้ายที่หิว คือกายหิว
เมื่อแยกได้อย่างนี้แล้ว เราก็จะรู้ว่า อ้ายที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ที่บอกว่า พิจารณา ปัจจเวกขะณะ มันเป็นการพิจารณาด้วยกาย หรือพิจารณาด้วยใจ
แต่ถ้าพิจารณาด้วยใจนี่ มันเกิดได้ทุกขณะ แต่พิจารณาด้วยกายนี่ มันเกิดได้บางขณะ
บางขณะอะไรบ้าง ก็เช่น บางขณะที่ท่อง นั่นแหละ ขณะนั้นพิจารณา
ขณะไหนไม่ท่อง ขณะนั้น ก็สวาปาม มั่วไปหมด
เ อ้า ว่าตาม อิมินา สักกาเรนะ....
โชคดี ลูก ธรรมะรักษา ให้รุ่งเรือง ร่ำรวย อายุมั่นขวัญยืน
เอ พระอธิษฐานพรรษาตอนเที่ยงก็ได้นี่
โยมชาวบ้านจะได้ไม่เสียเวลาปฏิบัติธรรม
ไปแจ้งสมภาร บอกว่า เที่ยงตีระฆัง พระลงโบสถ์
บ่ายโมงก็พวกมึงจะได้มาพร้อมกัน
บอกแล้ว กูจะไม่ปล่อยเวลาให้เสียเปล่า
เออ แค่กูไม่ได้พักหน่อยนึง ไม่เป็นไร
แต่พวกมึงได้ประโยชน์เยอะ
เออ ไปบอกเค้า เที่ยงตีระฆัง อธิษฐานพรรษา
แล้วพวกมึงก็บ่ายโมงก็พร้อมหน้ากันนะ
ไม่ใช่ว่า เที่ยงตีระฆังปุ๊บ มึงก็นอนอุตุฐานัง
บ่ายโมงมาเจอกัน ปฏิบัติธรรม
เออ จนถึงเย็น ตอนนี้ก็กี่ชั่วโมงแล้วล่ะ
งั้นก็ชดเชยไปพัก เตรียมกินข้าว กินปลา เข้าห้องน้ำห้องท่า
น้ำไหลไม๊วะ
เหรอ
เมื่อคืนผู้หญิงไม่ไหล อ้อ น้ำไม่ไหล ก็นึกว่า ผู้หญิงไม่ไหล
อ้ายห่า มันพูดสั้นๆ
เออ งั้น กราบพระแล้วไปพัก ลูก เตรียมตัวกินข้าวกินปลา
ไปพัก เดี๋ยวเที่ยง พระไปบอกซิ เที่ยงตีระฆัง ลงโบสถ์ อธิษฐานพรรษา
เอาผ้าอาบน้ำฝนใส่พานไปวางไว้
เอ้า กราบลาพระ  อะระหัง สัมมา ลูก
เออ เดี๋ยวบ่ายโมงตรง พร้อมกันนะ เดี๋ยวหลวงปู่ไปฉันข้าวเสร็จแล้ว ลงโบสถ์
เดี๋ยวเค้าทำพิธีอธิษฐานพรรษา แล้วกิจกรรมในโบสถ์เค้ามีอะไรบ้าง
ก็หลังจากสวดมนต์ ทำวัตร ก็จะมีการกล่าว
หัวหน้าสงฆ์ สมภารเค้าจะกล่าว สูปนายิกา
ก็คือ เขตตกลง ข้อตกลงระหว่างอยู่ร่วมกัน ซึ่งไม่ผิดเพี้ยนพระวินัย
อยู่ร่วมกัน มีข้อตกลงอะไรบ้าง เช่น กำหนดว่า ทิศเหนือเขตแค่ไหน
ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก เขตแค่ไหน พระควรจะอยู่ได้
ถ้าเลยกว่านั้นก็ไม่ใช่ ไม่ใช่อาวาส ไม่ใช่เขตที่พระสงฆ์สมมุติให้ว่า ตัวเธอควรอยู่จำพรรษา
แล้วก็กำหนดกิจกรรม ภาระกรรม ที่จะทำในช่วงพรรษา มีอะไรบ้าง
เป็นข้อตกลงกันระหว่างพระสงฆ์ แต่ต้องอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัย
อย่างนี้ เหล่านี้ เค้าเรียกว่า วัสสูปนายิกา
แล้วก็คุณสมบัติของผู้ที่จะอยู่ร่วมจำพรรษา ต้องมีอะไรบ้าง
หัวหน้าสงฆ์เค้าจะทำการอบรม
จบพิธีกรรมแล้วก็ จะมาเดินเข้าแถวรับน้ำสิทธิ
น้ำสิทธิก็จะเป็นหัวหน้าสงฆ์ เค้าก็จะให้น้ำสิทธิกับพระ
น้ำสิทธิ ก็คือ เป็นสิทธิ์ที่จะให้อยู่จำพรรษาในอาวาส ในกุฏินี้ได้ตลอดระยะเวลา 3 เดือน
แต่ไม่ใช่ว่า อยู่ตรงนั้น เดือนนึง ย้ายไปอยู่ตรงนั้นเดือนนึง อย่างนี้ไม่ได้
เพราะเมื่อได้รับน้ำสิทธิแล้ว ทุกคนก็มีสิทธิ์ในที่ที่ได้รับสิทธิ์ เค้าจึงเรียกว่า น้ำสิทธิ์
คนไม่เข้าใจ แห่ไป จะไปรับน้ำมนต์กับเค้าด้วย ยันมาให้
ไม่ใช่น้ำมนต์ เป็นน้ำที่เค้าอนุญาตให้พระได้จำพรรษาในที่นั้นๆ
เห็นบางวัดน่ะ ไปรับน้ำมนต์เค้าด้วย
กูยัง บางทีถาม แล้วมึงไปรับเค้ามาแล้ว มึงจะมาจำพรรษาในวัดนี้เหรอ
บอกไม่
อ้าว ไม่ แล้วไปรับมาทำอะไร
ไม่รู้
เอ้า พอ ลูก ไปพัก เดี๋ยวเตรียมตัว แบ่งกันกินนะ อย่าแย่งกันกิน
แล้วเมื่อกี้สอนแล้วว่า วิธีพิจารณาในการบริโภคปัจจัย 4
พิจารณาไม๊
เออ พิจารณา อย่าท่องแต่ปาก แต่ใจก็อยากสวาปาม ไม่ใช่
เดี๋ยวมีเวลาจะได้ไปหล่อเทียนประจำพรรษาเค้าหน่อย

16 ก ค 2554   13.00 น.  ถอดเทป ธรรมะวันเข้าพรรษา โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (27 นาที)

• ถ้าขาดพรรษาแล้วมันจะเป็นอะไร ก็จะไม่ได้อานิสงส์พรรษา
• อานิสงส์พรรษา 5 ประการ
• แต่นี่กูทำนาเอง มีข้าว หญ้าไม่มี มีแต่ข้าว กูเอาแบบชาวมคธมาทำ

กิจกรรมในการอธิษฐานพรรษาของคณะสงฆ์ โดยธรรมเนียมวินัยบัญญัติ ก็เสร็จสิ้นลง

เรียบร้อย
เหลือแต่เค้าจะมอบหมายภาระกรรมและหน้าที่ในพระอุโบสถ
มีเรื่องนำมาชี้แจงแถลงให้รับรู้
หลายคนอาจจะเห็นว่า เวลาพระเข้าพรรษา แล้วออกตะลอนๆ ตะกายไปที่โน้นที่นี่
พระวินัยท่านอนุญาตไว้ เรียกบทอนุญาตนั้นว่า สัตตาหจาริก
สัตตาหจาริก ก็คือไปได้ตามกาลที่กำหนด เช่นไปได้ไม่เกิน 7 วัน
ต้องขออนุญาตคณะสงฆ์ ไม่ใช่บุคคล เช่นถ้าจะไปไหน ก็ต้องแจ้งให้หมู่สงฆ์ได้รับทราบว่า
จะไปที่นั่นที่นี่ ก็มีเหตุที่จะให้ไปได้ แล้วก็เหตุที่จะไปไม่ได้
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอาไว้ว่า เหตุที่เราไปได้นี่
1 สหธรรมิกหรือมารดา บิดาป่วยไข้ เจ็บ เพื่อไปรักษาพยาบาล ไปได้อนุญาต
เค้าเรียกว่า ญาติสงเคราะห์ หรือ สงเคราะห์ญาติ อนุเคราะห์แต่ที่เป็นญาติ
2 สหธรรมิก กระสันจะสึก คือเพื่อภิกษุผู้ใกล้ชิด อยู่ต่างอาวาสแล้ว
อยากจะสึกกลางพรรษา เราเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ เคารพรักใคร่
เชื่อถือของเพื่อนองค์นั้น ท่านนั้น เราก็สามารถจะเดินทางเพื่อไปห้ามปรามได้
3 มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุด โบสถ์พัง โบสถ์รั่ว กุฏิเสีย หลังคาทรุด
อะไรอย่างนี้ เดินทางออกไปเพื่อจะไปหาโยม หาชาวบ้าน หาทุนทรัพย์ หาสังกะสี
หากระเบื้อง หาดิน มามุงหลังคา ไปได้
4 ญาติโยมนิมนต์ไปแสดง นิมนต์ไปรับทาน นิมนต์ไปบังสุกุล นิมนต์ไปงานศพ
อย่างนี้ ไปได้ไม่เกิน 7 วัน
5 ในเวลาพรรษา เมื่ออันตรายเกิดขึ้น อยู่ต่อไปเห็นว่า ไม่ได้การ อาจจะต้องตาย
หรือว่าพลาดจากพรหมจรรย์ ก็สามารถไปได้ ไปเสียจากที่นั้น พรรษาขาด
แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ คือ สมมุติว่า มีปัญหา พรหมจรรย์มันจะไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์
เราก็สามารถไปได้ แต่พรรษาขาด แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ เพราะมีเหตุอันไป
เหตุท่านจะยกเอาไว้ เป็นตัวอย่างเช่น โจรเบียดเบียน โจรปล้นสดมภ์
โจรชุมอย่างกับยุง อยู่ไม่ไหว สบงตากก็หาย จีวรตากก็หาย บาตรวางก็หมด
เลยไม่เหลืออะไร ไปดีกว่า อย่างนี้ท่านก็ให้ไปได้ หรือไม่ก็ มีผีปีศาจเบียดเบียน
ใครว่าผีไม่มีจริง ก็ในนี้ พระวินัยเค้าบ่งไว้ แสดงว่ามันต้องมีจริง เคยเห็นผีไม๊
กูเห็นทุกวันเลยเนี่ย เออ ผีปีศาจเบียดเบียน อยู่ไม่ไหว ไป
พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ไป หนีไปซะ
6 เสนาสนะถูกไฟไหม้ หรือ น้ำท่วม เกิดอัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย
ธรณีเป็นภัย หรือ สึนามิ แล้วไปไม่ได้ เพราะเดี๋ยวขาดพรรษา ก็ตาย เฝ้าสึนามินั่นแหละ
เออ ไม่ไป ก็ต้องไป อย่างนี้ ท่านให้ไปได้โดยไม่เป็นอาบัติ แต่ขาดพรรษา
อานิสงส์พรรษาเมื่อไม่ได้ ก็จะรับกฐินไม่ได้
ไป เช่น บิณฑบาตรหาเลี้ยงตัวเองไม่พอ มันอัตคัตเหลือเกิน
หมู่บ้านนี้ยากจน เป็นโรคห่าระบาด บิณฑบาตรแล้วมันไม่ได้ข้าว
แถมเราจะติดโรค อย่างนี้ ก็แยกไป ขาดพรรษา แต่ไม่เป็นอาบัติ
ขัดสนด้วยเครื่องอยู่อาศัย เครื่องอุปโภค บริโภค
เครื่องอำนวยความสะดวกตามสมณะสารูป เห็นท่าอยู่ไม่รอด
3 เดือน ถ้าจะไม่รอดแน่ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ก็ไปซะ ขาดพรรษา แต่ไม่เป็นอาบัติ
7 ผู้หญิงมาเกลี้ยกล่อมให้สึก ควรไปไม๊ ไม่ควรเหรอ อีห่าราก ไปซะ
พระพุทธเจ้าบอก ไปซะ อย่าอยู่ เพราะอยู่เดี๋ยวแพ้ภัย สตรี เป็นศัตรู อยู่ไม่ได้ ไปซะ ลูก
พระพุทธเจ้าบอก ไปซะ เออ ขาดพรรษา มันอันตรายนะ อีตัวสตรีเนี่ย อยู่ใน 1 ใน 7อย่าง
ที่เป็นตัวอันตรายต่อพรหมจรรย์ พระพุทธเจ้ากำหนดไว้  ผีอย่างหนึ่ง สตรีอย่างหนึ่ง
สงฆ์ในอาวาสอื่นจวนจะแตก หรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อห้ามให้สมัครสมานสามัคคีกัน
อย่างนี้ไปได้ ขาดพรรษา แต่ไม่เป็นอาบัติ
ทั้งหมดนี่ ก็คือ ขาดพรรษา แต่ไม่เป็นอาบัติ
แต่อ้าย 4 ประเภทแรก ขาดพรรษาด้วย เป็นอาบัติด้วย
ถ้าไม่บอกลา แล้ว ไปไม่ตรงเวลา เช่น ขอไป 7 วัน ดันไปสัก 8 วัน
อย่างนี้ ขาดพรรษาด้วย แล้วก็ต้องอาบัติด้วย
อาบัติที่จะได้รับก็คือ ปาจิตตีย์
ภิกษุผู้ไม่ได้พรรษา เค้าจะไม่มีอานิสงส์จำพรรษา
อานิสงส์ 5 ประการ คือ
1  เที่ยวจาริกไป ไม่ต้องบอกลา
2  เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
ไม่ใช่ไม่ต้องถือไปครบสำรับ ก็มีแต่จีวรกับสังฆาฏิ สบงไม่ต้องนุ่งนะ
เออ เกิดมันมีพระบ้า เค้าทำกันเมื่อก่อนนี้ อ้าว ท่าน ไปไหนน่ะ ไปข้างนอกหน่อย
อ้าว แล้วทำไมไม่แต่งตัวให้เรียบร้อย
ในพระวินัยเค้ากำหนดไว้  ไม่ต้องถือไปครบสำรับ
อ๋อ ไม่ต้องถือครบ 3 ผืน มึงก็เลยไม่นุ่งผ้าไปเลยเหรอ ห่มจีวรอย่างเดียวเลย
เค้าบอกลมมันเย็น อืม ดูมัน
3  แล้วก็ฉันคณะโภชนะปะรำปะระโภชนะ
ปกติพระที่ไม่ได้อานิสงส์พรรษา เค้าไม่ให้ฉันหมู่ เค้าไม่ให้ฉันรวมกันเป็นหมู่ เป็นกลุ่ม
เค้าฉันเดี่ยว ทีนี้ เวลาได้อานิสงส์พรรษาแล้ว จะนิมนต์ก็ฉันหมู่ได้
ส่วนใหญ่แล้ว จะเห็นพระสมัยเก่า เค้าจะฉันในบาตร
ฉันในบาตร องค์ใครองค์มัน ของใครของมัน ไม่ได้แบ่งกันตัก คือ ไม่ได้แย่งกันตัก
ไม่ได้อยู่ในวง อย่างนี้เค้าเรียกว่า ไม่ใช่คณะโภชนะปะรำปะระโภชนะ
แต่ถ้ารับพรรษาแล้ว ฉันรวมหมู่ได้
ถามว่า ทำไม เพราะมันต้องไปหาจีวรไง มันต้องไปหาจีวร อาจต้องเดินทางไกล
อาหารอัตคัต หนทางไกล บ้านลำบาก ก็รวมๆ กัน แบ่งๆ กันกินได้
แต่ถ้าหากว่า ไม่ได้อยู่ในพรรษา หรือ จำพรรษาไม่ครบ 3 เดือน
แล้วมานั่งฉันหมู่นี่ เป็นอาบัติทุกคำกลืน
4  เก็บอดิเรกจีวรได้ตามความปรารถนา อดิเรกจีวร คือ ผ้าที่มาทำกฐิน
ผ้าที่จะมาทำกฐิน สมมุติว่า หลวงปู่รับพรรษาแล้ว ได้พรรษาแล้ว
จะหาผ้ากฐินอีก 1 เดือนเนี่ย เดินไปแล้ว ไปเจอผ้าครึ่งผืน
มันไม่ได้ครบจีวร ทำสบงก็ไม่ได้ ทำสังฆาฏิก็ไม่ได้
เก็บเอาไว้อีกหน่อยหนึ่ง เดี๋ยวเผื่อเดินไปข้างหน้า รอเจออีกซักครึ่งผืนมาต่อให้ครบ
อย่างนี้น่ะ ได้ เค้าจึงเรียกว่า เก็บอดิเรกลาภจีวร
อดิเรกะ คือ ผ้าที่เกินจากพุทธานุญาต
5  จีวรอันเกิดขึ้น คือลาภอันเกิดขึ้นในอาวาส จะเป็นของภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว
สมมุติว่า มีคหบดีถวายลาภสักการะ เช่นนิมนต์เลี้ยงทั้งวัด อย่างนี้แล้วก็
พอเลี้ยงทั้งวัด ทีนี้ มันก็นั่งลงเป็นกลุ่มได้
แล้วก็มีจีวรผืนใดผืนหนึ่งปรากฏขึ้น โดยไม่จริง
มาทั้งวัด แต่เอามาผืนเดียว แล้วก็ต้องมาจับฉลากกัน
ทีนี้ต้องมารู้ว่า ใครควรได้ ไม่ควรได้
หัวหน้าคณะสงฆ์ หมู่สงฆ์ ก็จะลง สมัยก่อนมันอัตคัตอย่างนี้จริงๆ ลูก
มันไม่ใช่จีวรกองบานเบอะเป็นภูเขาเลากาอย่างที่เห็นๆ เนี่ยนะ
เมื่อก่อนนี้ ผ้าหายากมาก ไม่มีร้านสังฆภัณฑ์ไง มันไม่มีใครขายจีวร
ชาวบ้านก็จะได้ผ้ามาก็ยาก ก็ต้องรอไปชักผ้าจากคนตายที่เค้า นี่หมายถึงในประเทศอินเดียนะ
ปัจจุบันนี้ ก็ยังเห็นนะ หลวงปู่ไปอินเดีย โอ้ย ศพมันเผาไหม้บ้าง ไม่ไหม้บ้าง ก็ลอยไปเรื่อย
มีผ้าติดบ้าง พระก็ไปชักเอามา ก็เอาซัก มาย้อม มาตัด มาปะ ชุน
เพราะงั้นจีวรจึงเป็นขอบเป็นขัณฑ์ เป็นกระทง
อ้ายนี่ เค้าเรียกคันนาของชาวมคธ นี่ร่องน้ำ นี่ร่องส่งน้ำ คลองส่งน้ำ
อ้ายยาวๆ นี่เค้าเรียกว่า คลองส่งน้ำ เดี๋ยวกูแก้ให้ดูไม๊ เผื่อจะสาทิต
แหม ทำตาเป็นมันเชียว อีพวกนี้ล่ะไม่ได้ อันตรายนัก
เออ อ้ายนี่ เค้าเรียก คลองส่งน้ำ อ้ายยาวๆ เนี่ยนะ
แล้วอ้ายขัณฑ์ๆ ขอบๆ เนี่ย มึงไม่ต้องหัวเราะใหญ่ อ้ายขัณฑ์ๆ ขอบๆ เค้าเรียก คันนา
แล้วก็พื้นที่นาก็จะกว้างๆ เดี๋ยวถก ถกเยอะไปเดี๋ยวมัน
เออ มันเนี่ยขอบเนี่ย เค้าเรียกคันนานะ อ้ายขอบขัณฑ์ เนี่ย เค้าเรียกคันนา
จะถกสูงไปไม๊ เนี่ย ขอบเนี่ย เค้าเรียก คันนา
จีวรนี่ ออกแบบโดยพระอานนท์ พระอานนท์ท่านเป็นผู้ออกแบบ เอามาจากอะไร
คันนาของชาวมคธ พวกชาวมคธ เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญชำนาญเรื่องทำนา
มีผลผลิตในเรื่องนามากมาย สามารถเลี้ยงเมืองพาราณสีได้ทั้งเมือง
เก่งมากเรื่องการทำนา ระบบชลประทานก็ทันสมัย
ไม่เหมือนสมัยนี้ สมัยนี้ ทำ มีแต่หญ้า ไม่ค่อยมีข้าว
แต่นี่กูทำเอง มีข้าว หญ้าไม่มี มีแต่ข้าว กูเอาแบบชาวมคธมาทำ
รวมๆ สรุป ก็คือ ผ้าเราหายากสมัยก่อน แต่สมัยนี้ ก็หาได้ง่ายมาก
สมัยก่อน กว่าจะได้มาก็ยาก แล้วผ้าที่ได้มามันก็ผุบ้าง เก่าบ้าง ทิ้งจากขยะ
หยักใย้บ้าง ผ้าเหล่านี้ เค้าจึงเรียกผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เก็บมาจากกองขยะ
ผ้าบังสุกุลจีวร ผ้าบังสุกุลสบง ผ้าบังสุกุลสังฆาฏิ
คือ ผ้าที่เก็บมาทำจีวร เก็บมาทำสบง แล้วก็เก็บมาทำสังฆาฏิ
แล้วพระสมัยก่อนเป็นผู้ที่อยู่โดยปราศจากสมบัติ ปราศจากของมีค่า
ปราศจากความกังวล บริโภคทั้งปวง อยู่แบบเป็นผู้ที่ พอปราศจากอย่างเดียวไม่พอ
ต้องอยู่แบบผู้ที่ไม่มี คือเรียกว่า ไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร
อยู่แบบนั้นน่ะ อยู่แบบนี้จริงๆ
เพราะว่าบาตรก็ได้มาจากหม้อดินมาตัดฝาออก ก็กลายเป็นบาตรแล้ว
ต่อมานี่ พอมีเรื่องพระทำบาตรแตกบ่อยๆ
พระพุทธเจ้าก็เลยทรงกำหนดเรื่องเครื่องประกอบของบาตร ทำด้วยโลหะ ทำด้วยเหล็ก
แต่ว่าห้ามทำด้วยเงิน ด้วยทอง ทำด้วยแก้วไพฑูรย์ก็มี
สมัยก่อนนี้ ท้าวจาตุมมหาราชิกา ก็เอาไพฑูรย์ ไพลิน นิลกาฬ
แล้วก็อะไร สีเหลือง เค้าเรียกอะไรวะ บุษราคัม องค์หนึ่งก็เอามาสีหนึ่ง เป็นบาตร
เป็นบาตรไพฑูรย์ บาตรนิลกาฬ บาตรบุษราคัม
พระศาสดาทรงเห็นความศรัทธาของท้าวจาตุมมหาราชิกา ทั้ง 4
ก็ทำพิธีประสานบาตร งั้น บาตรตามพระวินัย ก็ไม่ใช่บาตรสแตนเลส
เป็นบาตรที่หลวงปู่ใช้บิณฑบาตรเมื่อเช้านี้แหละ
มันจะมีขอบมีขัณฑ์ มีรอยต่อ รอยแยก
เป็นเครื่องบ่งบอกว่า บาตรนี้ได้จากพระพุทธเจ้าที่ประสานบาตร
ของท้าวจาตุมมหาราชิกา เป็นชิ้น เป็นส่วน แล้วประสานกันจากไพฑูรย์ นิลกาฬ  บุษราคัม
แล้วก็อะไรอีกวะ เออ รู้สึกจะเป็นแก้วมุกดา 4 ชนิดมารวมกัน
เลยกลายเป็นบาตรที่มีแฉก ลักษณะ 4 องค์ 4
เป็นตัวแทน เป็นที่ระลึกถึง ท้าวจาตุมมหาราชิกา
แต่เดี๋ยวนี้ เค้าเป็นบาตรปั๊ม เมื่อก่อนนี้ บ้านบาตร เค้ายังเป็นบาตรตีนะ
เดี๋ยวนี้ไม่รู้มันตีไม๊ ยังตีอยู่เหรอ ตีแล้วประสานนะ เออ ตี
เค้าไม่เชื่อม ลูก ใช้วิธีอย่างนี้ เค้าทำเป็นฟันเลื่อย ฟันๆๆๆ อีกอันก็ทำเป็นฟันเลื่อย
แล้วก็เอามาสอดใส่กัน แล้วก็พับเข้าหากัน แล้วก็ทุบๆๆ ให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน
ไม่ใช้เชื่อม อ้ายบาตรเชื่อมน่ะ บาตรเก๊ เค้าไม่ใช้เชื่อม เค้าเรียกประสานบาตร
ไม่ต้องใช้เชื่อม นั่นคือ บาตรโบราณ แต่สมัยนี้ เค้าใช้ปั๊มเป็นสแตนเลส
พระขี้เกียจล้างบาตรไง อ้ายคนขี้เกียจล้างบาตรก็จะใช้บาตรประสานไม่ได้
เหตุผลเพราะ มันต้องดูแลรักษา เค้ามีวินัยเฉพาะ 10 ข้อ สำหรับดูแลบาตร
เรื่องนิสตีปาจิตตี 1 ใน นิสตีปาจิตตี ก็ชื่อว่า ปัตวะ  ปัตวะ วัตรที่ว่าด้วยเรื่องของบาตรเฉพาะเลย
มี 10 สิกขาบท ว่า ล้างแล้ว วางอย่างไร คว่ำอย่างไร
ล้างเสร็จแล้ว ต้องไปตากแดด ต้องแห้ง ดูแลเอาใจใส่บาตรนี่
มันเหมือนกับหม้อทองคำ เหมือนกับหม้อทิพย์โอสถ ต้องดูแลรักษาอย่างดี
เพราะบาตรหาย พระตาย เดี๋ยวนี้พอบาตรหาย พระอาศัยมาม่า ไม่ตาย
มาม่า ไวไว อยู่ได้ ไม่ต้องบิณฑบาตร
งั้นก็เลยเป็นที่มาว่า ความสำคัญทางจารีตธรรมเนียมปฏิบัติและประเพณีนิยม เราจะหายไป
เหมือนๆ กับที่ เมื่อเช้าหลวงปู่บอกว่า ระหว่างเทียนพรรษากับผ้าวสิกสาดก
อันไหนสำคัญ เออ เพราะผ้านี่เป็นวินัยบัญญัติ แต่เทียนพรรษานี่ มันมาทีหลัง
เป็นจารีต เป็นขนบธรรมเนียมนิยมของชาวโลก
บาตรนี่ก็เหมือนกันแหละ ปัจจุบัน ถ้าใครไปใช้บาตรเหล็ก
เค้ามองว่า ไปใช้ทำไม มันเป็นสนิม ล้างรักษาลำบาก ดูแลยาก
สมัยก่อนเค้าให้ไป เป็นสนิม
พระป่าเค้าก็มีวิธี สมัยก่อนหลวงปู่ไประงับอธิกรณ์วัดหนองป่าพง
หลวงพ่อชาแกจะมีโรงบ่มบาตร แล้วพระก็แข่งกันบ่มบาตร เป็นที่สนุกสนาน
เพราะว่า สีบาตรของใครสวยที่สุด ก็จะเหมือนกับ เครื่องประดับประจำกาย
คล้ายๆ ถ้าชาวบ้านใส่ทอง พระก็แขวนบาตรล่ะ ประมาณนี้แหละ
แต่มันใหญ่กว่าทองหน่อยนึง บางคนเค้ารมมาได้จนกลายเป็นสีปีกแมลงทับ
เค้ามีสูตรของเค้า ใช้ใบขี้เหล็ก นี่แหละ หญ้าใบขี้เหล็ก ใบหูกวาง ใบขี้เหล็ก
แล้วก็ลูกตะโกสดๆ เอาใบสุมแล้วก็ใบมะขาม ใบที่เปรี้ยว ขม และขื่น
มันจะออกมาเป็นสีเหมือนปีกแมลงทับ
ก่อนนี้กูก็รม รมเสร็จแล้วก็หาย บาตรหาย สวยมากเกินไป
รมสีเป็นสีปีกแมลงทับ เวลารม ก็ใช้เวลารมทั้งวันทั้งคืน ค่อยๆ สุมไฟไปเรื่อย
จนกระทั่งใบไม้ ผลไม้ที่อยู่ในบาตรมันค่อยๆ สุกแล้วก็ไหม้ไปเรื่อยๆ
แล้วมันก็จะทำให้เนื้อเหล็กสุกในระดับหนึ่ง ทีนี้ก็จะไม่เป็นสนิม
จะอยู่ได้พรรษา 2 พรรษา เดี๋ยวก็มาขัด รมใหม่
เป็นกิจกรรม เป็นวินัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ต้องมีสถานรมบาตร
วัดเราไม่มีที่รมบาตร มีแต่คลังบาตร เพราะมันเยอะเหลือเกิน
แล้วบาตรเหล็กอย่างนั้นก็หายาก
แล้วเดี๋ยวนี้ ก็จะเป็นบาตรเหล็ก บ้านบาตรเค้าก็ไม่ให้รม
เค้าใช้วิธีทำไง เคลือบแบบเคลือบปิ่นโตโบราณ ปิ่นโตเถาสมัยก่อน
เดี๋ยวนี้มีปิ่นโตเถา ปิ่นโตสแตนเลสใช่ไม๊
เมื่อก่อนนี้ เค้ามีถาดเคลือบ จานเคลือบ ช้อนเคลือบ เคลือบเป็นสี
เดี๋ยวนี้เป็นของเก่าหายากแล้วนะ เออ ไม่มีแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หายากแล้ว
นี่เป็นเกล็ดความรู้ เรื่องชีวิตของพระ ไม่ใช่อยู่ง่าย ลูก ไม่ใช่อยู่ง่าย
เมื่อกี้ ก็ให้โอวาท ธรรมวินัยก็มีอยู่แล้ว ท่านก็ปฏิบัติให้อย่างรับผิดชอบ
ถูกต้อง และธรรมเนียมจารีต วินัย
แล้วก็หลักปฏิบัติของอาวาสนี้ ก็มีอยู่แล้ว ให้รับผิดชอบ ดูแลปฏิบัติตาม
อีกข้อหนึ่งก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติ มันจำเป็นจะต้องมีน้ำใจให้แก่กัน
เห็นอกเห็นใจ แล้วก็ให้อภัย อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความเห็นแก่ตัว
มันจะทำให้สังคมเสื่อมทราม พอสังคมอยู่รวมกันไม่ได้ มันก็แตกแยก
กรรมเล็ก กรรมใหญ่ งานน้อย งานมาก ก็กลายเป็นงานยาก
ก็สุดท้ายก็ สังคมก็แตกสลาย
ก็ให้โอวาทเค้า เสร็จแล้วก็มา เค้าก็ยังประชุมกันอยู่ไม่จบ


16 ก ค 2554  18.30 น.  ถอดเทป ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร แปล วันอาสาฬหบูชา
โดยองค์หลวงปู่พุทธะอิสระ (93 นาที)
การสวดมนต์ การเจริญพระพุทธมนต์ เรียกได้อีกอย่าง ก็คือ การภาวนา
อันนี้ถือว่า เป็นการภาวนาชั้นสูง สูงกว่าที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
นั่นเรียกว่า เป็นการภาวนาในชั้นต่ำ หรือว่า อีกระดับหนึ่ง
การเจริญมนต์ การสาธยายพระพุทธมนต์ หรือท่องบ่นทรงจำใดๆ
ถือว่า เป็นการภาวนาอย่างหนึ่งที่ละเอียดขึ้น สุขุมขึ้น
เพราะว่า ตาดูมนต์ ปากท่องมนต์ ใจรู้มนต์
แล้วมันก็ไม่ทำให้พลังกาย พลังใจ หลุดรอด
หรือว่าหลุดร่วงไปตามกระบวนการเคลื่อนไหวของกาย
งั้น ก็ขอให้รับรู้ถึงใจความสำคัญอันนี้ไว้ว่า
การสาธยายมนต์ การเจริญพระพุทธมนต์ ก็คือ การภาวนา
หลักของการภาวนา ก็คือ กาย วาจา ใจ ต้องรวมกันเป็นหนึ่ง
ไม่ว่าจะภาวนาบทไหน อะไรก็ตามที จะต้องทำให้ กาย วาจา ใจ รวมเป็นหนึ่งให้ได้
นั่นคือ ความหมายของคำว่า ภาวนา
เปิด ธัมมะจัก ฯ แปล หน้า 138 เบอร์ 44
วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่มีความหมายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
ณ. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
คือ พระวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ และอัญญาโกณฑัญญะ
ท่านทั้ง 5 นี่ได้เข้ามาบวช ปฏิบัติ อุปถัมภ์ บำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่พักหนึ่ง
แล้วตอนหลังก็หลีกลี้หนีหายไป
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เข้าถึงวิเวกทั้ง 3 คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวกแล้ว
พระองค์ก็ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
หลังจากเสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลาร่วม 45 วัน ก็ทรงคิดว่า
จะให้ผู้ใดรับพระธรรมที่ทำได้ยาก เรียนรู้ได้ยาก ศึกษาได้ยาก
ลองนึกถึงอุทกดาบสกับอาฬารดาบส ซึ่งเป็นฤษี ผู้วิเศษในยุคนั้น เพราะได้สมาบัติ 8
แต่ท่านทั้ง 2 ก็ได้ถึงความวายชนม์ เกิดเป็นพรหมเสียแล้ว
ก็เลยนึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่มีอัธยาศัยอันอ่อน
ควรต่อการรับฟังพระธรรมเทศนาครั้งแรกของพระองค์
จึงเสด็จมาสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นที่อาศัยของปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
แล้วก็ทรงแสดงธรรม เรียกว่า ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตรให้ปรากฏขึ้นใน 3 โลกเป็นครั้งแรก
ปัญจะวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ตั้งใจสดับฟังพระธรรมเทศนา โดยมีโอวาทดังกล่าวต่อไปนี้ว่า
เอวัมเม สุตัง......
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปกิณกะโอวาทแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
เพื่อให้สงบระงับทั้งกาย วาจา และจิตใจแล้ว พระองค์ก็ทรงเรียก ตรัสว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมส่วนที่สุด 2 อย่าง
เป็นธรรมอันเลว ที่ภิกษุทั้งหลายไม่พึงเข้าใกล้นั้น มีอยู่
พระองค์ทรงชี้ให้เห็นถึงธรรมอันเลว 2 ประการนั้น ก็คือ
1  การพัวพันด้วยกามสุข หรือ กามะสุขัลลิกานุโยค
นั้นคือ ปล่อยปละละเลยตนให้หลงใหลอยู่ในรูป ในรส ในเสียง ในสัมผัส
ในกามคุณ ทั้ง 5 นั่นเป็นหนทางอันเลว เป็นข้าศึก เป็นกิเลส เป็นเครื่องทำลายพรหมจรรย์
และไม่เข้าถึงที่สุดแห่งความทุกข์ได้
ส่วนที่สุดอย่างที่ 2  ก็คือ การประพฤติตน ทรมานตนให้ลำบาก
เราตถาคตได้ทดลอง ทดสอบ พิสูจน์ทราบมาแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมใดๆ ตามที่พวกชฎิล ฤษี ทั้งหลายได้เพียรพยายามกระทำอยู่
ส่วนกามสุขนั้นเล่า ก่อนที่เราตถาคตจะเข้ามาบวชในศาสนานี้ ในพระธรรมวินัยนี้
เราตถาคตได้สร้องเสพจนอิ่มเอมเปรมปรีด์ ก็ไม่สามารถทำให้ถึงที่สุดทุกข์ได้
เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ส่วนที่สุด 2 อย่าง ซึ่งเป็นหนทางอันเลว อันภิกษุไม่พึงเข้าใกล้นี้
ท่านทั้งหลายพึงระมัดระวัง
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าใกล้ในส่วนที่สุด 2 อย่างนั้น มีอยู่
เธอทั้งหลายจงฟัง
ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณัง.....
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้ส่วนที่สุด 2 อย่าง
อันภิกษุผู้ประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ไม่พึงเข้าใกล้
แล้วพระองค์ก็ทรงชี้หนทางอันพึงเข้าใกล้ 8 ประการที่พระองค์ทรงเรียกว่า
หนทาง หรือ มรรคาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง ทางสายเอก
ทางสายเดียวของบุคคลผู้โดดเดี่ยว หรือ ผู้คนผู้เดียวที่จะเดินได้
มีอยู่ 8 ประการ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิชชา 8
8 อย่างนั้นก็คือ เริ่มต้นจาก
สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป  ความดำริชอบ
สัมมาวาจา  เจรจาชอบ
สัมมากัมมันโต  การงานชอบ
สัมมาอาชีโว  ความเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายาโม   ความเพียรชอบ
สัมมาสติ  ความระลึกชอบ
และสัมมาสมาธิ  ความตั้งใจชอบ
ในใจความสำคัญของสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบนี่ ต้องเห็นต่างจากปุถุชนคนทั่วไป
คือ ปุถุชนคนทั่วไป เห็นว่า ทำดี อาจจะไม่ได้ผลดี ทำชั่ว อาจจได้ดีก็ได้
นี่ก็เป็นความเห็นของปุถุชนคนทั่วๆ ไป ที่ไม่มีปัญญา
ปุถุชนคนทั่วๆ ไป อาจจะเห็นต่างหรือเห็นอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการทั้งหลายที่เกิดขึ้น
เพราะมีเทพบันดาล ลางสังหรณ์ หรือใครช่วยดลบันดาล
ปลุกเสกให้เราเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของพระพรหมบันดาล หรือผู้ศักดิ์สิทธิ์เนรมิตให้
บุคคลคนทั่วไป ปุถุชนคนทั่วไป ก็อาจจะเห็นต่อไปอีกว่า
สรรพสิ่งในโลก มันไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ แต่มันเกิดขึ้นอย่างนี้ตลอดกาล ตลอดสมัยมาเนิ่นนานแล้ว
มันอยู่เช่นนี้อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง หรือไม่ถ้าเปลี่ยนแปลง ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
เช่น ทำชั่ว ก็ไม่มีผล ทำดี ก็ไม่มีผล เพราะว่า ตายไป ก็จบกัน
เพราะงั้น ชาตินี้ ทำอะไร ก็ให้ทำๆ ไป สนุกๆ ไป มันๆ ไป มีความบันเทิงเริงรมย์ไป
ตายแล้ว ก็จบกัน ไม่ต้องไปชดใช้หนี้กรรมใดๆ
อันนี้ คือ ความเห็นของปุถุชนคนทั่วไป
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเห็น 3 ประการ ให้ปรากฏชัดว่า
- เห็นว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดี ชั่ว เลว หยาบ
บุคคลผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์
มีกรรมเป็นเครื่องอยู่ มีกรรมเป็นเครื่องอาศัย หรือมีกรรมเป็นเครื่องนำพาไป
- เห็นอย่างที่ 2 คือเห็นว่า สรรพสิ่งในโลก มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น
ตั้งอยู่ และแปรปรวนในท่ามกลาง สุดท้าย แตกสลายในที่สุด
- และเห็นอย่างที่ 3 ก็คือ ทุกอย่างในโลกเป็นทุกข์ เป็นเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์
เกิดขึ้น เพราะความโง่เขลา มีอวิชชา ความไม่รู้ ตัณหา คือ ความทะยายอยาก
อุปาทาน คือ ความยึดถือ
เห็นทุกข์  ก็ต้องเห็นเหตุเกิดทุกข์
เมื่อเห็นเหตุเกิดทุกข์  ก็ต้องหาทางดับเหตุนั้น
ก็เรียกว่า ทางดับทุกข์มีอยู่
เดินไปตามทาง ก็จะเจอข้อปฏิบัติแห่งความดับทุกข์
แล้วก็ย้อนกลับมาถึงมรรคาปฏิปทาทั้ง 8 ประการที่เหมือนเดิม
แล้วเมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ต้องหาวิธี ดำริที่จะออกจากความทุกข์ทั้งปวง
เรียกว่า ดำริชอบ ดำริที่จะทำกุศลให้เกิดขึ้น ดำริที่จะละชั่ว ดำริที่จะทำดี
ดำริที่จะทำให้ใจนี้ผ่องแผ้วและผ่องใส
ดำริที่จะทำให้อกุศลยังไม่เกิด อย่าให้มันเกิด
แล้วระมัดระวังกุศลที่เกิดแล้ว อย่าให้มันเสื่อมคลาย
อย่างนี้ เรียกว่า ความดำริชอบ
การเจรจาชอบ  ก็คือ การเจรจาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้คุณ ปราศจากโทษ
ผู้ฟังก็รุ่งเรืองเจริญด้วยสติปัญญา
ผู้เจรจาก็เป็นที่ชอบปราศรัย ชอบพอของผู้ฟังทั้งหลาย
ทำการงานชอบ ก็ไม่ทำสิ่งใดที่เบียดเบียนตนและคนอื่นให้เดือดร้อน
เลี้ยงชีพชอบ  ก็รักษาตนให้อยู่ในศีล ในธรรม
อยู่รอดได้เพราะอาศัยรักษาธรรม รักษาศีล
ไม่ใช่อยู่รอดได้เพราะอาศัยเลือดเนื้อและชีวิตคนอื่น
ความเพียรชอบ  ก็เพียรพยายามจะละชั่ว ทำดี และทำใจนี้ให้ผ่องแผ้ว
เพียรที่จะทำให้อกุศลที่ไม่เกิด มันเสื่อมลงไป
และเพียรที่จะทำให้กุศลที่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นรุ่งเรือง เจริญ อยู่สืบเนื่อง อย่างนี้เป็นต้น
ตั้งสติชอบ  คือ ระลึกในส่วนที่เป็นความงดงาม ความดีงามที่เรียกว่า สัมมาสติ
โจรปล้นคนอื่นสำเร็จ ก็เป็นสติ แต่เป็นมิจฉาสติ
พระผู้ปฏิบัติธรรม ลุถึงองค์คุณแห่งธรรม และความวิเศษ ก็เป็นสติ แต่เป็นสัมมาสติ
งั้น จงตั้งสติไว้ในทางที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้ ไม่ใช่ประโยชน์เทียม
สัมมาสมาธิ  คือ ความตั้งใจชอบ ก็คือ ตั้งใจจะทำในสิ่งที่งดงามให้สืบเนื่องยาวนาน
จนลุผลและสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ทั้ง 8 ประการเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิชชา
เมื่อมีปัญญาลุถึงวิชชาสูงสุด พระองค์ก็ทรงเห็นต่อไปว่า
ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง.....
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงที่มาแห่งทางทั้ง 8 ประการให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
ได้รับรู้ แล้วหนทางนั้น สามารถนำพาให้พ้นทุกข์ได้
แล้วพระองค์ก็ทรงชี้เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์
เริ่มต้นจากความมี ตัณหา ทะยานอยาก ความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์
และกามคุณทั้ง 5 ความปรารถนาในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
ขวนขวายมา ได้ให้มาซึ่งให้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
ทั้งหมดทั้งหลายทั้งปวง ที่พระองค์ทรงยกมา ก็สรุปอยู่ในคำว่า ตัณหา
เป็นเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ แล้วพระองค์ก็ทรงชี้ว่า
วิธีจะพ้นตัณหา ก็ต้องสละตัณหา ต้องวางตัณหา
ต้องปล่อยตัณหา ต้องไม่พัวพันต่อตัณหา
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้แหละเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง
แล้วพระองค์ก็ทรงชี้ย้อนกลับมาถึง หนทางทั้ง 8 ประการเหมือนเดิมอีกว่า
นี่เป็นวิชชาที่สามารถกำหราบทุกข์ได้
แล้วพระองค์ก็ทรงยกเอาเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์สืบเนื่องต่อไปว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญานได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว
แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า
ก็ทุกข์อริยะสัจ .....ควรกำหนดรู้
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญย ยันติ เม ภิกขะเว......
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวซ้ำไปซ้ำมา เพื่อยืนยันในวิชชา
ในจักษุ ในญาน ปัญญา และในความสว่างไสว ความรู้แจ้งเห็นจริงของพระองค์
ให้แก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แล้วพระองค์ก็ทรงกำหนดให้รู้ชัดว่า
ทุกข์นั้น ควร รู้
เหตุแห่งทุกข์ ควร ละ
ทางดับทุกข์ ควร เดิน
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นั้น ควร ทำให้เจริญ
สรุปแล้ว ทุกข์ ควร รู้
เหตุเกิดทุกข์ ควร ละ
หนทางดับทุกข์ ควร เดิน
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ควร ทำให้เจริญ
ทั้ง 4 ประการนี้ เป็นเหตุปัจจัยที่จะนำพาผู้ที่เข้าถึงวิถีแห่งมรรคาปฏิปทา จะพ้นทุกข์ได้
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ.........
หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ทางดับทุกข์
และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ แล้วก็ทรงชี้ให้เห็นว่า
ทุกข์ ควร รู้
เหตุเกิดทุกข์ ควร ละ
ทางดับทุกข์ ควร เดิน
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ควร ทำให้เจริญ
ทรงย้อนกลับไปกลับมา ในอาการ 3 รอบ จนครบ 12
3 รอบ 12 ทาง   3 รอบ 12 บท  3 รอบ  12 มนต์
จนทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะ 1ในปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
เกิดความเข้าใจในพุทธธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มีดวงตาเห็นธรรม ปรากฏเด่นชัดว่า
สรรพสิ่งในโลก มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็แปรปรวน แตกสลายดับไป
ไม่มีอะไรคงที่ตลอดกาลตลอดสมัย
จักษุธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้มีอายุ
ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ.....
หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมะจักให้เป็นไป
เกิดเหตุปัจจัยวิเศษ เหตุพระอัญญาโกณฑัญญะได้มีดวงตาเห็นธรรม
ได้เป็นประจักษ์พยานคนแรกว่า
ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า สามารถยังสรรพสัตว์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
เป็นผลสำเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งพระธัมมะจักนั้น
เหล่า มาร มนุษย์ เทวดาทั้งหลาย ได้พากันหวั่นไหว สะท้าน หวั่นหวาด ผวา สะดุ้ง
สะดุ้งในความชื่นชมโสมนัส
บางพวกก็สะดุ้งด้วยความหวาดกลัว เพราะมีความขลาดเขลาในหัวใจว่า
ธัมมะจักของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีเดช มีศักดา
มีอำนาจเหนืออานุภาพแห่งมาร พรหม และเทวดาทั้งปวง
พวกมารทั้งหลาย พรหมผู้เป็นอกุศลจิต ก็มีความระลึกหวาดกลัวว่า
จักรอันนี้ ยิ่งใหญ่นัก สามารถบดขยี้เหล่ามาร และพรหมให้พินาศภายในพริบตา
แต่โชคดีว่า จักรอันนี้ เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ฆ่าฟัน และทำร้ายสรรพสัตว์
แถมยังปลดเปลื้องสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ภัย
พวกมาร พรหม และเทวดาทั้งหลาย ก็เปล่งอุทาน สาธุการ อนุโมทนา
ในธัมมะจักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงยังให้เป็นไป
ลำดับต่อมา องค์พระบรมศาสดา เมื่อทรงรู้ว่า
บัดนี้ พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง มีผู้สืบทอด
และยืนยันความสำเร็จ ได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ นั่นคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระองค์ก็ทรงเปล่งอุทานออกมาด้วยภาษาว่า
อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ
อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ
อัญญาโกณฑัญโยเตวะนามัง อะโฆสีติ
วันนี้ เมื่อ 2000 กว่าปีก่อน เกิดเหตุอัศจรรย์
เมื่อพระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมะจักกัปปะวัตนสูตร
ซึ่งเริ่มต้นด้วย ส่วนที่สุด 2 อย่าง
ส่วนที่สุด 2 อย่างก็คือ กามะสุขัลลิกานุโยค ซึ่งไม่ควรเข้าใกล้ ไม่ควรเสพ
เพราะไม่เป็นเหตุปัจจัยแห่งความพ้นทุกข์
ส่วนที่สุดอย่างที่ 2 ก็คือ อัตตกิละมะถานุโยค คือการทรมานตนให้ลำบาก
ก็ไม่ควรเข้าใกล้ ไม่ควรสร้องเสพ
เพราะเราตถาคต พิสูจน์ สำเหนียกมาแล้วว่า ไม่ใช่หนทางแห่งความพ้นทุกข์
แล้วพระองค์ก็ทรงชี้เหตุปัจจัย หนทางที่เป็นมรรคาปฏิปทา 8 ประการ ที่เริ่มต้นจาก
เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ เลี้ยงชีพชอบ การงานชอบ
ความเพียรชอบ สติชอบ และสมาธิชอบ
ทางทั้ง 8 ประการนี้ เป็นหนทางที่พระองค์ทรงเรียกว่า วิทยา หรือ วิชชา
ผู้ใดที่เดินรอยตามทางทั้ง 8 ประการนี้
ก็จะสามารถพ้นเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ และความทุกข์ทั้งปวงก็จะไม่ครอบงำ เข้าใกล้ได้
แล้วพระองค์ก็ทรงชี้เหตุปัจจัยต่อมาว่า
ทุกข์นั้น ควรรับรู้
เหตุเกิดทุกข์นั้น ควรละ
หนทางแห่งความดับทุกข์ ควรเจริญ ควรปฏิบัติ ควรดำเนิน
และธรรมะที่เป็นเครื่องดับทุกข์นั้น ควรทำให้เจริญขึ้น
นั่นคือ เหตุ 4 ประการที่จะนำพาเอาทุกข์ในสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นหมดไปได้
เหตุปัจจัยให้พระอัญญษโกณฑัญญะ ได้มีดวงตาเห็นธรรม ได้ใคร่ครวญ
พินิจวิเคราะห์ พิจารณาตาม
พระองค์ยังทรงมีพระเมตตาแสดงธรรม ย้อนไปย้อนมา
มี อาการ 3 รอบ และ 12 องค์ประกอบ
แล้วพระองค์ก็ทรงยืนยันว่า ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้แหละ
จึงทำให้พระองค์กล้าที่จะเอาธรรมะที่พระองค์ทรงพิสูจน์
สำรวจแล้วด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ด้วยความรอบคอบ ด้วยปัญญา
รู้ยิ่ง เห็นจริง นำเอาธรรมนั้นมาสั่งสอน พระอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จประโยชน์
ได้มีดวงตาเห็นธรรม ในวันนี้เมื่อ 2000 กว่าปีก่อน
สืบเนื่องเรื่องมาจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา
หลังจากที่พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาจบเป็นที่เรียบร้อย
มีผู้บรรลุธรรม คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ
รุ่งขึ้น พระองค์ก็ทรงนำพาพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เดินทางเข้าสู่ป่า อุรุเวลาเสนานิคม เพื่อจำพรรษากาล สืบเนื่องต่อไป ต่อไป ตั้งใจกรวดน้ำ