ถาม มันก็เหมือนกับนักบวชเมื่อบวชแล้วเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะปฏิบัติธรรมหรือไม่?
 
ตอบคุณผู้ถามว่า ทุกสาขาอาชีพค่างก็มีกฎเกณฑ์ กติกา ระเบียบปฏิบัติ อันเป็นเอกลักษณ์ของตนกันทั้งนั้น
แม้การขอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ต้องยอมรับกติกาที่ควรทำและไม่ควรทำ เช่น
สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เสพเมถุน และอวดอุตริมนุษยธรรมที่ไม่มีในตน
และสิ่งที่ควรทำคือ การเล่าเรียนที่เรียกว่า ปริยัติ และฝึกฝนพัฒนาตน ที่เรียกว่า ปฏิบัติหรือกรรมฐาน
 
คำขอบรรพชาอุปสมบท
 
เอสาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภันเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง (ละภัยยัง อุบปะสัมปะดัง)
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น)
ทุติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภัณเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง (ละภัยยัง อุบปะสัมปะดัง)
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ครั้งที่สอง)
ตะติยัมปาหัง ภันเต, สุจิระปะรินิพพุตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ, ละเภยยาหัง ภัณเต, ตัสสะ ภะคะวะโต, ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง, ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง (ละภัยยัง อุบปะสัมปะดัง)
(ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว พระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ครั้งที่สาม)
อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์)
ทุติยัมปิ อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์ แม้ครั้งที่สอง)
ตะติยัมปิ อะหัง ภัณเต, ปัพพัชชัง ยาจามิ, อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา, ปัพพาเชถะ มัง ภัณเต, อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(ท่านขอรับ กระผมขอบรรพชา ขอท่านโปรดอนุเคราะห์ ผ้ากาสาวะนี้ ให้กระผมบวชเพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เป็นเครื่องสลัดออกจากความทุกข์ แม้ครั้งที่สาม)
หลังจากคณะสงฆ์ยอมรับเข้าหมู่สงฆ์ แล้วนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เรียบร้อย จึงเข้ามาขอเรียนกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ ท่านจึงสอนเรื่องสัจจะ ปัญจกรรมฐานนี้ ความว่า
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
(ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง (ตามลำดับ))
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)
(หนัง, ฟัน, เล็บ, ขน, ผม (ทวนลำดับ))
อะหัง ภัณเต, สะระณะสีลัง ยาจามิ
(กระผมขอสรณคมน์ และศีล ขอรับ)
พุทธะอิสระ